ธงชาติจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีไม่มีธงชาติประจำรัฐอย่างเป็นทางการ (โดยจักรวรรดิไม่มีธงชาติอย่างเป็นทางการหลังจากการสถาปนาระบอบทวิราชาธิปไตยระหว่างสองรัฐอธิปไตย) อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งยังมีการใช้ธงดำทองของดินแดนภายใต้การปกครองของราชวงศ์ฮาพส์บวร์คเป็นธงชาติโดยพฤตินัย และใน ค.ศ. 1869 มีการประกาศใช้ธงเรือราษฎร์สำหรับเรือของพลเรือน สำหรับทัพเรือสงครามยังคงใช้ธงชาติออสเตรียที่ใช้มาตั้งแต่ ค.ศ. 1786 และกองพันทหารของกองทัพใช้ธงอินทรีสองหัวที่มีการใช้ตั้งแต่ก่อน ค.ศ. 1867 เนื่องจากกองทัพมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เมื่อ ค.ศ. 1915 ธงชาติใหม่ได้รับการออกแบบแต่ไม่ได้นำมาใช้เนื่องจากสงครามยังคงดำเนินอยู่ ส่วนทางรัฐบาลมีการใช้ธงดำเหลืองของออสเตรียและธงไตรรงค์แดงขาวเขียวของฮังการี
ธงดำเหลืองถือเป็นตัวแทนของรัฐออสเตรีย ส่วนรัฐฮังการีไม่มีธงชาติเป็นของตนเองตามกฎหมาย[1] ตามที่ข้อตกลงโครเอเชีย–ฮังการี (มาตรา 62 และ 63) ซึ่งเป็นการควบรวมกิจการภายในระหว่างโครเอเชียและฮังการี ได้ระบุไว้ว่าการใช้สัญลักษณ์ของทั้งโครเอเชียและฮังการีจะต้องเป็นไปตามลำดับนี้ ตัวอย่างเช่น เมื่อใดก็ตามที่รัฐสภาฮังการี-โครเอเชียจัดการประชุมที่บูดาเปสต์ ธงของทั้งโครเอเชียกับฮังการีจะถูกชักขึ้นบนอาคารรัฐสภาบูดาเปสต์[1][2][3] ณ กรุงเวียนนา บริเวณด้านหน้าพระราชวังเชินบรุนมีการชูธงดำเหลืองเพื่อเป็นตัวแทนของซิสไลทาเนีย (รัฐออสเตรีย) ในขณะที่อีกฝั่งจะมีการชูธงของทั้งโครเอเชียและฮังการีเพื่อเป็นตัวแทนของทรานส์ไลทาเนีย (รัฐฮังการี)[3] ฮังการีใช้ธงไตรรงค์แดงขาวเขียวที่ประดับด้วยตราแผ่นดินของฮังการีเป็นธงประจำรัฐ ซึ่งธงรูปแบบนี้มักได้รับการเปรียบเปรยว่าเป็นตัวแทนของดินแดนแห่งมงกุฎฮังการีทั้งมวล สำหรับธงเรือราษฎร์คู่ถูกใช้เป็นธงประจำกงสุลตามพระราชกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1869 ใช้งานจริงเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1869 อย่างไรก็ตาม สถานอัครราชทูตยังคงชูธงดำเหลืองของออสเตรียควบคู่ไปกับธงแดงขาวเขียวของฮังการี ส่วนสถานเอกอัครราชทูตชูธงชาติทั้งสองควบคู่ไปกับธงพระอิสริยยศ[4]
ธงประจำชาติหรือรัฐ
[แก้]-
ธงประจำราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค (รวมถึงจักรวรรดิออสเตรียและออสเตรีย-ฮังการี) และเป็นธงสัญลักษณ์แทนของซิสไลทาเนีย
-
ธงชาติราชอาณาจักรฮังการีและเป็นธงสัญลักษณ์แทนของทรานส์ไลทาเนีย
-
ธงชาติราชอาณาจักรฮังการี (ประดับด้วยตราแผ่นดินรูปแบบอย่างย่อ)
-
ธงชาติราชอาณาจักรฮังการี (ธงพลเรือน)
-
ธงแบบไม่เป็นทางการ[a] แต่เป็นธงสามัญของราชอาณาจักรโครเอเชีย-สลาโวเนีย
-
ธงชาติราชอาณาจักรโครเอเชีย-สลาโวเนีย (ธงพลเรือน)
ธงพระอิสริยยศ
[แก้]-
ธงพระอิสริยยศประจำจักรพรรดิ (จนถึง ค.ศ. 1915)[5]
-
ธงพระอิสริยยศประจำจักรพรรดินี (จนถึง ค.ศ. 1915)[6]
-
ธงพระอิสริยยศประจำจักรพรรดิและจักรพรรดินี
(ค.ศ. 1915–1918)[7] -
ธงพระอิสริยยศประจำอาร์ชดยุกและอาร์ชดัชเชส (ค.ศ. 1915-1918)
ธงเรือ
[แก้]ธงเรือราษฎร์
[แก้]-
ธงเรือราษฎร์ ค.ศ. 1786–1869[8]
-
ธงเรือราษฎร์ ค.ศ. 1869–1918[9]
-
ธงเรือราษฎร์ฮังการีที่ใช้กับพื้นที่น้ำภายในทรานส์ไลทาเนีย (ไม่เป็นทางการ)[8]
ธงนาวี
[แก้]-
ธงนาวี ค.ศ. 1915–1918
(ไม่ใช้งาน)[10]
ธงประจำดินแดน
[แก้]นอกจากนั้น ยังมีการใช้ธงประจำดินแดนต่าง ๆ ภายในจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีดังนี้
ซิสไลทาเนีย | |||||
---|---|---|---|---|---|
ที่ตั้ง | ชื่อดินแดน | ธง | |||
อาร์ชดัชชีออสเตรีย (นีเดอร์เอิสเตอร์ไรช์) |
|||||
อาร์ชดัชชีออสเตรีย (โอแบร์เอิสเตอร์ไรช์) |
|||||
ราชอาณาจักรโบฮีเมีย | |||||
ราชอาณาจักรแดลเมเชีย | |||||
ราชอาณาจักรกาลิเชียและโลโดเมเรีย | (ค.ศ. 1849–1890) (ค.ศ. 1890–1918) | ||||
เคาน์ตีทีโรล | |||||
ดัชชีบูโควีนา | |||||
ดัชชีโอแบร์และนีเดอร์ไซลีเชีย | |||||
ดัชชีคารินเทีย | |||||
ดัชชีคาร์นีโอลา | |||||
ดัชชีซัลทซ์บวร์ค | |||||
ดัชชีสติเรีย | |||||
แคว้นชายแดนมอเรเวีย | |||||
ชายฝั่งออสเตรีย ประกอบด้วย:
|
(ชายฝั่งออสเตรีย) | ||||
ฟอร์อาร์ลแบร์ค | |||||
ทรานส์ไลทาเนีย | |||||
ที่ตั้ง | ชื่อดินแดน | ธง | |||
ราชอาณาจักรฮังการี | |||||
ราชรัฐทรานซิลเวเนีย | |||||
มณฑลเซอร์เบียและบานัตแห่งเทเมชวาร์ | |||||
ราชอาณาจักรโครเอเชีย-สลาโวเนีย | |||||
ราชอาณาจักรโครเอเชีย | |||||
ราชอาณาจักรสลาโวเนีย | |||||
นครฟีอูเมและปริมณฑล | |||||
ดินแดนใต้การปกครองร่วม | |||||
ที่ตั้ง | ชื่อดินแดน | ธง | |||
ดินแดนใต้การปกครองร่วมบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา |
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ รูปแบบอย่างเป็นทางการจะมีการประดับด้วยมงกุฎนักบุญอิชต์วานเช่นเดียวกับที่ใช้ในธงชาติฮังการี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Habsburg | H-Net". www.h-net.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 February 2012.
- ↑ Austria. Reichsrat. Abgeordnetenhaus (1903). Stenographische protokolle über die sitzungen ...: 1. (eröffnungs-) bis [485.] sitzung ... Aus der K.-k. Hof -und staatsdruckerei. p. 20714.:
Der § 63 spricht auch von einer kroatisch-slavonisch-dalmatinischen vereinigten Fahne auf Reichstagsgebäude. Diese Fahne war bis anno domini 1902 allen Dimensionen nach gleich ungarische Fahne.
- ↑ 3.0 3.1 Pliverić, Josip (1907). Spomenica o državnopravnih pitanjih hrvatsko-ugarskih. Zagreb: Hartman (Stjepan Kugli)., p. 50
- ↑ Rudolf Agstner, Austria(-Hungary) and Its Consulates in the United States of America since 1820 (LIT Verlag, 2012), p. 45.
- ↑ "Imperial Standard of Austria, Flags of the World".
- ↑ "Imperial Standard of Austria, Flags of the World".
- ↑ "Imperial Standard of Austria, Flags of the World".
- ↑ 8.0 8.1 8.2 The Flags & Arms of the Modern Era
- ↑ Album of standards, flags and pennants of the Russian Empire and foreign states. 1890. p. 39.
- ↑ The Flags & Arms of the Modern Era