ข้ามไปเนื้อหา

ที-สแควร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ที-สแควร์
ที่เกิดโตเกียว ญี่ปุ่น
แนวเพลงแจ๊ส, แจ๊สฟิวชัน, สมูธแจ๊ส, ป็อปร็อก
ช่วงปีค.ศ. 1978 – ปัจจุบัน
สมาชิกมาซาฮิโระ อันโดะ
ทาเคชิ อิโต้
เคโซ คาวาโน
ซาโตชิ บันโดะ
ชินโง ทานากะ
อดีตสมาชิกชิโร่ ซางิสึ
มิยางิ จุนโกะ
ยูจิ นากามูระ
ยูจิ มิคุริยะ
ไมเคิ่ล เซนจิ คาวาอิ
คิโยฮิโกะ เซมบ้า
ยุน อาโอยาม่า
คุเมะ ไดซากุ
เอจิ ชิมิซึ
โทโยยูกิ ทานากะ
โทรุ ฮาเซเบ้
ฮิโรยูกิ โนริทาเกะ
มิตซึรุ ซูโต้
ฮิโรทากะ อิซึมิ
มาซาโตะ ฮอนดะ
ทากาฮิโร่ มิยาซากิ
เคอิจิ มัตสึโมโตะ
ทาดาชิ นัมบะ
เว็บไซต์http://www.tsquare.jp/

ที-สแควร์ (อังกฤษ: T-Square) คือวงดนตรีแนวแจ๊สฟิวชันจากประเทศญี่ปุ่น ที่ประสบความสำเร็จที่สุดในประเทศญี่ปุ่น เดิมชื่อวงว่า เดอะสแควร์ (The Square) ก่อตั้งวงโดย มาซาฮิโระ อันโดะ ในปี 1976 ขณะที่เขาศึกษาอยู่ในวิทยาลัย โดยออกผลงานอัลบั้มชุดแรกชุด Lucky Summer Lady ในปี 1978 โดยมีสมาชิกแรกเริ่มคือ ทาเคชิ อิโต้ (แซกโซโฟน), คิโยฮิโกะ เซมบ้า (เพอร์คัสชั่น), ยูจิ มิคุริยะ (กีต้าร์), ยูจิ นากามูระ (เบส), ไมเคิ่ล เซนจิ คาวาอิ (กลอง), มิยางิ จุนโกะ (เปียโน) และชิโร่ ซางิสึ (คียบอร์ด) หลังจากออกอัลบั้ม Midnight Lover มาในปีเดียวกัน มิคุริยะก็ออกจากวงไป สมาชิกของวงจึงเหลือหกคน (ซางิสึเป็นเพียง Support Member จนถึงชุด Make Me A Star) หลังจากทำชุด Make Me A Star ในปี 1979 อัลบั้มชุด Rockoon ก็ได้ ยุน อาโอยาม่า ก็เข้ามาเป็นมือกลองแทนคาวาอิ และได้คุเมะ ไดซากุ อดีตมือคียบอร์ดวง Prism เข้ามาแทนจุนโกะ

Rockoon เป็นอัลบั้มแรกที่ T-Square มีเพลงฮิตคือ "Tomorrow Affair" ซึ่งถูกนำไปเป็นเพลงประกอบละครแนวดรามาเรื่องหนึ่งในญี่ปุ่น หลังจากนั้นในปี 1981 ก็ออกอัลบั้มชุด Magic โดยมีโทโยยูกิ ทานากะ เข้ามาเป็นมือเบสแทนนากามูระ ส่วนอาโอยาม่า ได้เอจิ ซิมิสึมาแทน ส่วนเซมบ้าก็ออกจากวงไป อัลบั้มชุดนี้เริ่มเข้าสู่ยุคที่ T-Square กลายเป็นแจ๊สฟิวชั่นแบบที่เราคุ้นเคยกันดี (ซึ่งเพลง "It's Magic" ในชุดนี้ต่อมาถูก มาร์ลีน นักร้องชาวฟิลิปปินส์ ที่ไปดังในญี่ปุ่นเอามาร้องใหม่จนดังระเบิด)

ปี 1982 อัลบั้มชุด 脚線美の誘惑 (Kyakusenbi No Yuhwaku) ออกมาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงสมาชิกอีกครั้ง โดยได้ฮิโรทากะ อิซึม เข้ามาเป็นมือคียบอร์ด/เปียโนแทนที่ไดซากุ และโทรุ ฮาเซเบ้ เข้ามาเป็นมือกลอง T-Square กับไลน์อัพยุคนี้เก็บเกี่ยวชื่อเสียงได้มากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งในปี 1984 ที่ออกอัลบั้มชุด Adventures T-Square ก็มีคอนเสิร์ตใหญ่เป็นครั้งแรกที่มีชื่อว่า Live Adventures จนกระทั่งปี 1985 กับอัลบั้มชุด R.E.S.O.R.T ที่เพลง "Omens Of Love" และ "Forgotten Saga" กลายเป็นเพลงในตำนานของวงไป หลังจากนั้นฮิโรยูกิ โนริทากะ ก็เข้ามาแทนฮาเซเบ้ ในปีต่อมา กับชุด S.P.O.R.T.S และ มิตซึรุ ซูโต้เข้ามาเป็นมือเบสแทนทานากะ ในชุด Truth ในปี 1987 เพลง "Truth" ของ The Square ถูกนำไปประกอบการแข่งรถ F1 Grand Prix ทำให้ชื่อเสียงของวงโด่งดังถึงขีดสุด และอันโดะถูกว่าจ้างให้ทำเพลงให้กับ Gran Turismo Series ซึ่งอัลบั้มนี้ถูกขายไปกว่า 36 ล้านแผ่นทั่วโลก

ต่อมาในปี 1989 วงเปลี่ยนชื่อมาเป็น ที-สแควร์ ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้ในการทัวร์คอนเสิร์ตในสหรัฐอเมริกา หลังจากชุด Natural ในปี 1990 มาซาโตะ ฮอนดะ เข้ามาเป็นมือแซ็ก/EWI แทนอิโต้ พร้อมกับแนวเพลงที่หนักขึ้นมา ยุค 90 ยังคงเป็นยุคที่ T-Square รักษาชื่อเสียงและความสำเร็จไว้ได้อย่างดี จนกระทั่งปี 1998 ทาดาชิ นัมบะเข้ามาแทนอิซึมิ และทากาฮิโร่ มิยาซากิ เข้ามาแทนฮอนดะ ในชุด Gravity พร้อมกับมีคอนเสิร์ตใหญ่ฉลองครบ 20 ปีของวง โดยมีสมาชิกทั้งหมดจากยุคแรกจนปัจจุบันเข้ามาร่วมเล่นกัน แต่ไลน์อัพนี้อยู่ถึงปี 1999 ในชุด T-Square เท่านั้น

อัลบั้ม Friendship ในปี 2000 ที-สแควร์เหลือสมาชิกเพียงอันโดะ เท่านั้น แต่ก็ได้อิโต้กลับมาอีกครั้ง ส่วนสมาชิกนอกนั้นให้นักดนตรีสตูดิโอแทน จากนั้นกลับมาใช้ชื่อ The Square อีกครั้งในปี 2003 ในการออกอัลบั้มฉลองครบรอบ 25 ปี คืออัลบั้ม Spirits โดย อิซึมิ, โนริทาเกะ และซูโต้กลับเข้าร่วมวงอีกครั้ง รวมทั้งมีสมาชิกใหม่ด้วยคือ เคย์โซ คาวาโน่ (คียบอร์ด) ในปีนี้ยังมีการจัดคอนเสิร์ตครบรอบ 25 ปีเช่นกัน

หลังจากชุด Spirits จบไป ในปี 2004 อัลบั้มชุด Groove Globe ก็ได้มือกลองคนใหม่คือซาโตชิ บันโดะ และออกอัลบั้ม Passion Flower ในปี 2005 และออกทัวร์คอนเสิร์ตกว่า 19 เมืองทั่วญี่ปุ่น และ ออกอัลบั้มที่ 33 ในชื่อ 33 ในปี 2007

พวกเขาออกอัลบั้มที่ 34 ชุด Wonderful Days เพื่อฉลองครบรอบ 30 ปี โดยเป็นการรวมสมาชิก ของวง The Square และ T-Square ซึ่งมีสมาชิกรวมกันมากถึง 9 ชีวิตในนาม T-Square Super Band โดยมี อันโดะ (กีต้าร์), อิโต้ และ มิยาซากิ (แซ็ก, EWI & ฟลุต), อิซึมิ (เปียโน), คาวาโน่ (คียบอร์ด), ทานากะ และ ซูโต้ (เบส) และ โนริทาเกะกับบันโดะ (กลอง) และก็จัดคอนเสิร์ตใหญ่ที่โปรโมตอัลบั้มนี้โดยเฉพาะคือ T-SQUARE SUPER BAND Concert Tour 2008 Final “Wonderful Days” และคอนเสิร์ตใหญ่อีกงานที่ฉลองครบรอบ 30 ปีของวง

สไตล์การเล่นของวงตั้งแต่อดีตและปัจจุบัน

[แก้]

ที-สแควร์ ในยุคแรกนั้นก่อน Rockoon จะมีแนวการเล่นที่เป็นแจ๊สอยู่มาก ซึ่งมีทั้งฟังยากและง่ายคละเคล้ากันไป จนกระทั่งชุด Rockoon ที-สแควร์ถึงเริ่มเข้าสู่ยุคฟิวชั่นเต็มตัว และทำเพลงเอาใจตลาดมากขึ้น โดยชุดนี้จะเน้นเพลงร้องเป็นหลัก การเข้ามาของ คุเมะ ไดซากุ มีส่วนอยู่มากที่ทำให้ที-สแควร์กลายเป็นวงฟิวชั่นที่เราคุ้นเคยกันในปัจจุบัน (ยกตัวอย่างในเพลง "Chase") จนกระทั่งการมาของ มาซาโตะ ฮอนดะ ในยุค 90 ที่ลดความอ่อนโยนของเพลงลงไป แต่ไปเพิ่มความหนักแน่นทางดนตรีแทน ซึ่งอาจจะไม่เหมาะกับคนที่ชอบฟังงานในยุคที่มีทาเคชิ อิโต้ อยู่ และในยุคนี้ซินธิไซเซอร์ได้ถูกลดความสำคัญลงเป็นเพียงภาครึทึ่มเท่านั้น เพราะฮิโรทากะ อิซึมิจะให้ความสำคัญกับการเล่นเปียโนเสียมากกว่า

ที-สแควร์ในยุคปัจจุบันหลังจากชุด T-Square ในปี 1999 จะเริ่มฟังสบายขึ้น และมีความเป็น Adult Contemporary มากขึ้น แต่การได้สมาชิกอย่างเคย์โซ คาวาโน่ ที่นำซินธิไซเซอร์กลับมาเป็นตัวนำอีกครั้ง และซาโตชิ บันโดะเข้ามา ก็ทำให้เพลงของ T-Square ไม่สูญเสียเอกลักษณ์ และไม่น่าเบื่อเหมือนวงฟิวชั่นในอดีต ที่ปัจจุบันเปลี่ยนไปเป็นแนว Smooth Jazz

ผลงานทั้งหมดของวง

[แก้]
  • Lucky Summer Lady (1978)
  • Midnight Lover (1978)
  • Make Me A Star (1979)
  • Rockoon (1980)
  • Magic (1981)
  • 脚線美の誘惑 (Kyakusenbi no yūwaku) (1982)
  • うち水に (Uchi mizu ni) Rainbow (1983)
  • Adventures (1984)
  • Stars and the Moon (1984)
  • RESORT (1985)
  • SPORTS (1986)
  • Truth (1987)
  • Yes, No (1988)
  • Wave (1988)
  • Natural (1990)
  • NEW-S (1991)
  • Impressive (1992)
  • Human (1993)
  • 夏の惑星 (1994)
  • Welcome to the Rose Garden (1995)
  • B.C. A.D. (1996)
  • Blue in Red (1997)
  • Gravity (1998)
  • Sweet & Gentle (1999)
  • T-Square (2000)
  • Friendship (2000)
  • Brasil (2001)
  • New Road, Old Way (2002)
  • SPIRITS - 25th Anniversary Album (2003)
  • Groove Globe (2004)
  • Passion flower (2005)
  • Blood music (2006)
  • 33 (2007)
  • Wonderful days (2008)
  • Discoveries (2009)
  • Time Travel (Original Title, 時間旅行/Jikan Ryoko (2010)
  • Treasured Songs – T-Square plays The Square (2010)
  • Nine Stories (2011)
  • Wings (2012)
  • Next (2014)
  • Paradise (2015)
  • Treasure Hunter (2016)
  • Rebirth (2017)
  • City Coaster (2018)
  • Horizon (2019)
  • AI Factory (2020)
  • FLY! FLY! FLY! (2021)
  • WISH (2022)
  • VENTO DE FELICIDADE 〜しあわせの風〜 (2023)

เพลงที่สร้างชื่อให้กับวง (พอสังเขป)

[แก้]
  • Truth
  • Tomorrow Affair
  • It's Magic
  • Kaplolani
  • Overnight Sensation
  • Omens Of Love
  • Forgotten Saga
  • Japanese Soul Brothers
  • Control
  • Megalith
  • Nab That Chap !!
  • Faces
  • Rise
  • Triumph
  • Sailing The Ocean
  • Bad Moon
  • Explorer
  • Eurostar
  • Rainy day, rainy heart
  • Hawaii e Ikitai
  • Itoshi No Unaji
  • El Mirage
  • Sunnyside Cruise
  • Hank & Cliff
  • Prime
  • Victory
  • Takarajima
  • Passage of Clouds
  • Arcadia
  • Crisis
  • Knight's Song
  • CHASE
  • A DREAM IN A DAYDREAM
  • All about you

สมาชิกทั้งหมดของวง (ในอดีตและปัจจุบัน) และช่วงเวลาที่อยู่กับวง ที-สแควร์

[แก้]

แซกโซโฟน และ ขลุ่ยสังเคราะห์เสียง

[แก้]
  • ทาเคชิ อิโต้ (b.15/3/1954) (1978-1990) (2000-ปัจจุบัน)
  • มาซาโตะ ฮอนดะ (b.13/11/1962) (1991-1998)
  • ทากาฮิโร่ มิยาซากิ (b.23/5/1969) (1998-2000)

กีต้าร์

[แก้]
  • มาซาฮิโระ อันโดะ (b.16/9/1954) (1978-ปัจจุบัน)
  • ยูจิ มิคุริยะ (b.5/11/1954) (1978)

เบส

[แก้]
  • ยูจิ นากามูระ (1978-1980)
  • โทโกยูคิ ทานากะ (b.29/4/1962) (1981-1986)
  • มิตซึรุ ซูโต้ (b.14/12/1964) (1987-2000) (2003)
  • ชินโง ทานากะ (2005-ปัจจุบัน)

กลอง

[แก้]
  • ไมเคิ่ล เซนจิ คาวาอิ (b.1957) (1978-1979)
  • ยุน อาโอยาม่า (b.10/3/1957) (1980)
  • เอจิ ชิมิซึ (1981)
  • โทรุ ฮาเซเบ้ (b.21/6/1963) (1982-1985)
  • ฮิโรยูคิ โนริทาเกะ (b.27/8/1964) (1986-2000) (2003)
  • ซาโตชิ บันโดะ (b.1983) (2004-ปัจจุบัน)

คีย์บอร์ด

[แก้]
  • มิยางิ จุนโกะ (1978-1979)
  • ชิโร่ ซางิสึ (b.29/8/1957) (1978)
  • คุเมะ ไดซากุ (b. 23/7/1957) (1980-1981)
  • ฮิโรทากะ อิซึมิ (ถึงแก่กรรมแล้ว) (b.28/9/1958) (1982-1997) (2003)
  • ทาดาชิ นัมบะ (b.1956) (1998)
  • เคอิจิ มัตสึโมโตะ (b.1971) (1998-2000)
  • เคโซ คาวาโน่ (b.1971) (2004-ปัจจุบัน)

เพอร์คัสชั่น

[แก้]
  • คิโยฮิโกะ เซมบ้า (b.1954) (1978-1980)