ทีมสำรอง สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล
ชื่อเต็ม | ทีมสำรอง สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล | ||
---|---|---|---|
ฉายา | ปืนใหญ่ | ||
ก่อตั้ง | ค.ศ. 1886 | ||
สนาม | อันเดอร์ฮิลล์สเตเดียม บาร์เนต ลอนดอน | ||
ความจุ | 5,500 | ||
ประธาน | ปีเตอร์ ฮิล-วูด | ||
Head Coach | นีล แบนฟิลด์ | ||
ลีก | เอฟเอพรีเมียร์ลีกทีมสำรอง | ||
2006-07 | FAPRL Southern Division, อันดับ 9 | ||
|
ทีมสำรอง สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล เป็นทีมสำรองที่อยู่ในลีกทีมสำรองทางภาคใต้ของประเทศอังกฤษตั้งแต่เริ่มก่อตั้งมาในปี ค.ศ. 1999 สนามเหย้าคือ อันเดอร์ฮิลล์สเตเดียม ซึ่งเป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลบาร์เนตอีกด้วย ผู้เล่นส่วนใหญ่เป็นเยาวชนของสโมสรที่อายุไม่เกิน 21 ปี ส่วนผู้เล่นที่อายุต่ำกว่า 18 ปีจะได้ไปอยู่ในทีมเยาวชนแทน ในบางครั้ง นักเตะรุ่นพี่ในทีมชุดใหญ่ก็จะมาเล่นในทีมสำรองเป็นบางครั้งบางครั้ง อย่างเช่นกรณีที่เพิ่งหายจากอาการบาดเจ็บมาใหม่ๆ
หัวหน้าโค้ชของทีมสำรองคือ นีล แบนฟิลด์ ซึ่งรับหน้าที่เป็นผู้จัดการทีมด้วย โดยมี ไมก์ ซาลมอน เป็นผู้ช่วย ส่วนหัวหน้าศูนย์พัฒนาเยาวชนของอาร์เซนอลคือ ไลอัม แบรดี มีเดวิด คอร์ท คอยดูแลพัฒนาการโดยทั่วๆไปของผู้เล่นเยาวชนในทีม
ประวัติ
[แก้]1887-1991
[แก้]อาร์เซนอลมีทีมสำรองตั้งแต่ช่วงแรกๆของการก่อตั้งเป็นรอยัลอาร์เซนอล โดยทีมสำรองเริ่มมีขึ้นตั้งแต่ปี 1887 ในช่วงแรกจะเล่นเฉพาะแมตช์กระชับมิตรและรายการชิงถ้วยเท่านั้น โดยในฤดูกาล 1889-90 นั้น ก็สามารถคว้าแชมป์เคนท์จูเนียร์คัพได้ ต่อมาในฤดูกาล 1895-96 วูลิชอาร์เซนอล (เปลี่ยนเป็นชื่อนี้ในปี 1891) ชุดสำรองก็ได้เข้าร่วมการแข่งขันเคนท์ลีก โดยสามารถคว้าแชมป์ได้ในฤดูกาลต่อมา แต่ได้ออกจากการแข่งขันในปี 1900 หรืออาจจะหลังจากนั้นเล็กน้อย [1]
ต่อมา พวกเขาก็ได้เข้าร่วมรายการ ลอนดอนลีก และสามารถคว้าแชมป์ได้สามสมัยในช่วงทศวรรษที่ 1900
จากฤดูกาล 1900-01 และ 1902-03 ทีมสำรองก็ได้เข้ามาเล่นในเคนท์ลีกตะวันตก สามารถคว้าแชมป์ได้ทุกฤดูกาลที่ลงทำการแข่งขัน[2] ต่อมาในปี 1903 ทีมสำรองของอาร์เซนอลต้องย้ายมาเล่นในลีกตะวันออกเฉียงใต้ เพราะว่าแข็งแกร่งเกินกว่าที่ทีมคู่แข่งในลีกตะวันตกจะสามารถสู้ได้ พวกเขาเล่นในลีกนี้มาจนถึงฤดูกาล 1914-15 จึงต้องหยุดไปเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้มีการออกกฎห้ามเล่นฟุตบอล ก่อนหน้าที่จะห้ามเล่นนี้ พวกเขาได้เข้าไปเล่นในลีกดิวิชันหนึ่งของลอนดอนในฤดูกาล 1906-07, 1907-08, 1908-09, 1913-14 และ 1914-15 โดยในปี 1913 นั้นสโมสรได้ตัดคำว่า"วูลิช"ออก เหลือแต่เพียงคำว่า "อาร์เซนอล" เท่านั้น
1919-1939
[แก้]หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลง ทีมสำรองอาร์เซนอลก็ได้เข้ามาเล่นในลีกรวมลอนดอนอีก (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น the Football Combination ในฤดูร้อนของปี 1939) ในฤดูกาล 1926-27 นั้น ลีกนี้ได้เติบโตขึ้นโดยมีทีมสำรองจากสโมสรที่อยู่ไกลออกไปเข้ามาร่วมทำการแข่งขันกัน เช่น พอร์ธสมัธ, สวานซี, เซาท์เอนด์ และเลสเตอร์ซิตี
ในช่วงรอยต่อระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 นี้ ทีมสำรองอาร์เซนอลเริ่มประสบความสำเร็จเท่าๆกับทีมชุดใหญ่ โดยสามารถคว้าแชมป์ลีก Combination ได้ 11 ครั้ง นอกจากนั้นในปี 1931 พวกเขาก็ยังได้รับเชิญให้เข้าไปเล่นในลอนดอนเอฟเอชาเลนจ์คัพ และคว้าแชมป์ได้สองครั้งในฤดูกาล 1933-34 และ 1935-36
อาร์เซนอลต้องการให้โอกาสกับนักเตะเยาวชน จึงได้สร้างทีม A ขึ้นมาในปี 1929 โดยตอนแรกนั้นทีม A ได้เล่นในลีกกลางสัปดาห์รายการลอนดอนโปรเฟสชันแนล และได้แชมป์ในฤดูกาล 1931-32[2] ทีมชุดนี้ได้ทำการแข่งขันเรื่อยมาจนถึงปี 1933-34 จนกระทั่งฤดูร้อนของปี 1934 อาร์เซนอลได้จับมือกับ Margate ให้เป็นสโมสรลูก อาร์เซนอลทำข้อตกลงส่งนักเตะดาวรุ่งเข้าไปเล่นในสโมสร Margate เพื่อหาประสบการณ์ในลีกทางใต้และยังให้โอกาสผู้เล่นของ Margate มาเล่นในกับอาร์เซนอลเป็นบางครั้งอีกด้วย ทั้งสองสโมรมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันเป็นเวลานาน 4 ปีก่อนที่อาร์เซนอลจะยุติความสัมพันธ์ในปี 1938 หลังจากนั้น อาร์เซนอลก็ได้ส่งทีมสำรองของสโมสรเองเข้าไปเล่นในลีกทางใต้ด้วยสิทธิของสโมสรเอง โดยเกมในบ้านจะเล่นที่สนามที่ตั้งอยู่บนถนน Southbury Road ซึ่งเป็นสนามเหย้าของสโมสร Enfield โดยสโมสรสามารถคว้าอันดับที่ 6 มาครองได้ในฤดูกาล 1938-39
ในฤดูกาล 1939-40 หลังจากลีก Football Combination ได้ทำการแข่งขันเพียง 2 นัดและลีกทางใต้ได้ทำการแข่งชันไปเพียงนัดเดียวนั้น ฟุตบอลก็โดนสั่งห้ามเล่นอีกครั้งเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ 2ได้เปิดฉากขึ้น อาร์เซนอลจึงไม่มีทีมสำรองหรือทีม A ในช่วงสงครามเลย เหลือแต่เพียงอาร์เซนอลชุดใหญ่เท่านั้น
1945-1999
[แก้]ในฤดูกาล 1946-47 ลีก Football Combination ได้มีการจัดการแข่งขันขึ้นอีกครั้งโดยแบ่งออกเป็นสองดิวิชัน และจะนำผู้ชนะของแต่ละดิวิชันมาทำการแข่งขันกันในรอบชิงชนะเลิศเพื่อตัดสินตำแหน่งแชมป์ การแข่งขันครั้งใหม่ยังมีการจัดแข่งขันบอลชิงถ้วยขึ้นเรียกว่า Football Combination Cup ด้วย ซึ่งทีมที่ได้เข้าแข่งขันก็จะเป็นชุดเดิมกับที่เล่นในลีกแต่จะแบ่งออกเป็น 4 สายโดยผู้ชนะของแต่ละสายจะได้สิทธิเข้าไปเล่นในรอบรองชนะเลิศและชิงชนะเลิศต่อไป การจัดการแข่งขันรูปแบบนี้ได้ดำเนินการไปจนกระทั่งสิ้นสุดฤดูกาล 1954-55 และจากฤดูกาล 1955-56 ลีก Football Combination ได้ปรับเปลี่ยนเป็นรูปแบบปกติ โดยจะแบ่งออกเป็นสองดิวิชันที่มีการตกชั้นและเลื่อนชั้น ส่วน Football Combination Cup ได้ถูกยกเลิกไป แต่ก็ได้มีการจัดการแข่งขันเป็นบางครั้งบางคราวเช่นในฤดูกาล 1965-66 ถึงฤดูกาล 1969-70 รวมไปถึงฤดูกาล 1996-97 ด้วย ทีมสำรองได้เข้าไปเล่นในรายการลอนดอนเอฟเอชาเลนจ์คัพอีกครั้งจนกระทั่งถึงฤดูกาล 1973-74 (ยกเว้นฤดูกาล 1961-62 ที่ทีมชุดใหญ่เข้าไปเล่นแทน)
ทีม A ได้จัดตั้งขึ้นอีกครั้งในตอนต้นฤดูกาล 1948-49 ซึ่งทีมชุดนี้ได้เข้าไปเล่นในรายการ Eastern Counties League, Eastern Counties League Cup และ East Anglian Cup นอกจากนั้น ทีม A ยังได้เข้าไปเล่นในลีกกลางสัปดาห์รายการลอนดอนโปรเฟสชันแนลในฤดูกาล 1949-50 ถึงฤดูกาล 1957-58 อีกด้วย สามารถคว้าแชมป์สมัยที่สองไดเในฤดูกาล 1952-53 ต่อมา ในช่วงหน้าร้อนของปี 1958 ทีม A ได้เขาไปเล่นใน Metropolitan League, Metropolitan League Cup และ Metropolitan League Professional Cup เป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่าทีมๆนี้ประสบความสำเร็จมาจนถึงกลางทศวรรษที่ 1960 ปลายทศวรรษนี้ ทีม A ต้องแข่งกับทีมสมัครเล่นที่แข็งแกร่งกว่ามากจนกระทั่งสโมสรเลิกส่งทีม A เข้าไปเล่นในรายการนี้จนกระทั่งฟุตบอลรายการนี้ได้ปิดฉากในในฤดูกาล 1968-69
1999-ปัจจุบัน
[แก้]ในฤดูกาล 1999 ลีก Combination ถูกยกเลิก และได้มีการก่อตั้ง เอฟเอพรีเมียร์ลีกทีมสำรอง อาร์เซนอลไม่เคยเป็นแชมป์ลีกนี้เลยสักครั้ง เคยได้รองแชมป์ในฤดูกาล 2001-02 โดยตั้งแต่ฤดูกาล 1999-2000 นั้น ทีมสำรองก็ได้เล่นในเอฟเอพรีเมียร์ลีกทีมสำรอง (ภาคใต้) มาตลอด
ผู้เล่นในทีมสำรองสามารถขึ้นไปเล่นในลีกคัพได้นับตั้งแต่ฤดูกาล 1997-98 เป็นต้นมา
ผู้เล่น
[แก้]ผู้เล่นทีมสำรองของอาร์เซนอลจากการประกาศของสโมสร มีดังนี้[3] หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Woolwich Arsenal Reserves". Football Club History Database. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-16. สืบค้นเมื่อ 2008-08-25.
- ↑ 2.0 2.1 Kelly, Andy. "Complete Honours List". Arsenal Pics. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-04-08. สืบค้นเมื่อ 2006-12-03.
- ↑ "Reserve Players". Arsenal.com. สืบค้นเมื่อ 2008-08-11.