ทะเลสาบโบเดิน
ทะเลสาบโบเดิน (ทะเลสาบคอนสตันซ์) | |
---|---|
![]() ภาพถ่ายทางอากาศ | |
ที่ตั้ง | เยอรมนี, สวิตเซอร์แลนด์, ออสเตรีย |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 47°35′N 9°28′E / 47.583°N 9.467°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 47°35′N 9°28′E / 47.583°N 9.467°E |
แหล่งน้ำไหลเข้า | แม่น้ำไรน์ |
แหล่งน้ำไหลออก | แม่น้ำไรน์ |
พื้นที่รับน้ำ | 11,500 km2 (4,400 sq mi) |
ประเทศในลุ่มน้ำ | เยอรมนี, สวิตเซอร์แลนด์, ออสเตรีย |
ช่วงยาวที่สุด | 63 km (39 mi) |
ช่วงกว้างที่สุด | 14 km (8.7 mi) |
พื้นน้ำ | 571 km2 (220 sq mi) |
ความลึกโดยเฉลี่ย | 90 m (300 ft) |
ความลึกสูงสุด | 251 m (823 ft) |
ปริมาณน้ำ | 51,400 ล้าน ลบ.ม. |
เวลาพำนักของน้ำ | 4.3 ปี |
ความสูงจากระดับน้ำทะเล | 395 m (1,296 ft) |
แข็งตัว | ค.ศ. 1795, ค.ศ. 1830, ค.ศ. 1880 (บางส่วน), ค.ศ. 1963 |
ทะเลสาบโบเดิน (เยอรมัน: Bodensee) หรือ ทะเลสาบคอนสตันซ์ (อังกฤษ: Lake Constance) เป็นทะเลสาบขนาดใหญ่บนแม่น้ำไรน์ บริเวณเชิงเขาทางตอนเหนือของเทือกเขาแอลป์ และยังเป็นพรมแดนทางธรรมชาติระหว่างสามประเทศ คือ เยอรมนี, สวิตเซอร์แลนด์ และออสเตรีย ทะเลสาบโบเดินเป็นทะเลสาบเพียงแห่งเดียวของยุโรปที่ไม่มีปักปันเขตแดนบนผืนน้ำอย่างเป็นกฎหมายหรือลายลักษณ์อักษร[1] สวิตเซอร์แลนด์มองว่า พรมแดนควรบรรจบบริเวณกึ่งกลางของทะเลสาบ แต่ออสเตรียและเยอรมนีมองว่าเป็นอำนาจปกครองดินแดนร่วมกัน (condominium)[2] เหนือทะเลสาบ ประเด็นเรื่องพรมแดนนี้ยังเป็นข้อพิพาทจนถึงปัจจุบัน ทำให้ในทางกฎหมายแล้วทะเลสาบโบเดินจึงมีสถานะเปรียบเสมือนน่านน้ำสากลที่ไม่ขึ้นกับชาติใด
ทะเลสาบแห่งนี้มีเขตติดต่อกับรัฐบาวาเรียและรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์คของเยอรมนี รัฐโฟราร์ลแบร์กของออสเตรีย รัฐทัวร์เกา, รัฐซังคท์กัลเลิน และรัฐชัฟเฮาเซินของสวิตเซอร์แลนด์ แม่น้ำไรน์ไหลเข้าสู่ทะเลสาบจากชายแดนสวิต-ออสเตรียทางทิศใต้ และไหลออกสู่ประเทศเยอรมนีทางทิศเหนือ ทะเลสาบโบเดินเป็นทะเลสาบที่ใหญ่เป็นอันดับสามในทวีปยุโรปรองจากทะเลสาบทะเลสาบบอลอโตนและทะเลสาบเจนีวา มีความยาว 63 กิโลเมตร จุดที่กว้างที่สุดกว้าง 14 กิโลเมตร ผิวน้ำมีความสูงอยู่ที่ 395 เมตรจากระดับน้ำทะเล จุดที่ลึกที่สุดมีความลึก 252 เมตร
ทะเลสาบแห่งนี้ถือเป็นแหล่งน้ำอุปโภคบริโภคที่สำคัญที่สุดของภาคตะวันตกเฉียงใต้ของเยอรมนี และยังมีบริการเรือข้ามฟากในทะเลสาบอีกด้วย
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Kahn, Daniel-Erasmus (2004). Die deutschen Staatsgrenzen: rechtshistorische Grundlagen und offene Rechtsfragen ("The German national borders: legal-historical foundations and open legal questions"). Oxford University Press. ISBN 9783161484032.
- ↑ Jennings, Ken (June 16, 2014) "The Borderless Black Hole in the Middle of Europe" Conde Nast Traveler