ทฤษฎีดาว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ทฤษฎีดาว (อังกฤษ: Dow theory) ทางด้านการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น คือ การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคในแง่มุมของกลุ่มหุ้นตามวงจรเศรษฐกิจ (sector rotation) ทฤษฎีนี้มาจากบทความในหนังสือพิมพ์ The Wall Street Journal เขียนโดย ชาลส์ เอช. ดาว (ค.ศ. 1851–1902) นักเขียน ผู้ก่อตั้ง และบรรณาธิการคนแรกของหนังสือพิมพ์ และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งดาวโจนส์แอนด์คอมแพนี หลังการเสียชีวิตของดาว วิลเลียม ปีเตอร์ แฮมิลตัน, รอเบิร์ต เรอา และ อี. จอร์จ แชเฟอร์ ได้รวบรวมทฤษฎีดาวนี้ขึ้นมา โดยยึดจากบทความของดาว ตัวของดาวเองไม่เคยใช้คำว่า ทฤษฎีดาว เพื่อเสนอระบบการขาย

หลักการ 6 ข้อ ของทฤษฎีดาว[แก้]

  1. ตลาดมีการเคลื่อนไหว 3 รูปแบบ
    (1) "แนวโน้มโหญ่" เป็นแนวโน้มใหญ่ อาจมีระยะเวลาตั้งแต่ ไม่ถึงปีจนถึงหลายปี สามารถเป็นได้ทั้งตลาดกระทิงหรือตลาดหมี
    (2) "แนวโน้มกลาง" เป็นการตอบสนองทุติยภูมิหรือการตอบสนองระยะกลาง อาจมีระยะเวลาตั้งแต่ 10 วัน ถึง 3 เดือน อาจทำให้ราคาขึ้นหรือลงจากแนวโน้มหลัก 33% ถึง 66%
    (3) "แนวโน้มสั้น" อาจมีระยะเวลาตั้งแต่หลักชั่วโมงถึงหลายวัน
  2. แนวโน้มตลาดมีสามระยะ
    ทฤษฎีดาวกล่าวว่า แนวโน้มตลาดที่สำคัญประกอบด้วยสามระยะ คือ เริ่มจากการสะสมหุ้น (accumulation), การไล่เก็บหุ้นของนักลงทุนในตลาด (public participation) และการปล่อยของหรือกระจายตัว (distribution)[1]
  3. ราคาหุ้นเป็นผลลัพธ์ของทุกปัจจัยที่มีผลต่อตลาด
    ราคาหุ้นตอบสนองอย่างรวดเร็วกับข่าว เมื่อข่าวออก ราคาจะตอบสนองต่อข้อมูลใหม่ ๆ ทฤษฎีดาวเห็นว่า เกิดจากการคาดการณ์สมมติฐานประสิทธิภาพของตลาด
  4. แนวโน้มตลาดหุ้นจะถูกยืนยันด้วยตลาดอื่น
    ทฤษฎีดาวระบุ ตลาดหุ้นจะดีหรือไม่ ต้องอาศัยตัวเลขเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง ทั้งการผลิต การขนส่ง การค้า สิ่งเหล่านี้จะตัวยืนยันการขึ้นลงของตลาด
  5. แนวโน้มตลาดหุ้นจะถูกยืนยันด้วยปริมาณซื้อขาย
    ทฤษฎีดาวเชื่อว่า ปริมาณซื้อขายเป็นตัวยืนยันแนวโน้มราคา ถ้าราคาหุ้นขึ้นแรง แล้วมีปริมาณการซื้อขายมาก ย่อมจะดีกว่าราคาหุ้นขึ้นแต่ไม่มีปริมาณซื้อขายมากนัก เพราะราคาอาจจะกลับมาลดลง
  6. แนวโน้มนั้นจะไม่เปลี่ยนไปจนกว่าปัจจัยหนุนจะสิ้นสุด
    ถ้าหุ้นขึ้น ให้มั่นใจว่าหุ้นสามารถขึ้นได้ต่อไป และหุ้นจะเปลี่ยนเป็นขาลงเมื่อหมดปัจจัยบวกนั้น และจะลงต่อตามปัจจัยลบโดยจะเป็นย่อเพื่อไปต่อ (Retracement) หรือย่อเพื่อเปลี่ยนแนวโน้ม (Reversal) จะย่อเพื่ออย่างใดอย่างหนึ่ง

อ้างอิง[แก้]

  1. "Volume หรือ ปริมาณการซื้อขาย บอกอะไรเราได้บ้าง ?". หลักทรัพย์บัวหลวง. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)