ทรานส์เอเชียแอร์เวย์ เที่ยวบินที่ 235

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทรานส์เอเชียแอร์เวย์ เที่ยวบินที่ 235
สรุปอุบัติการณ์
วันที่4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558[1]
สรุปเครื่องยนต์ล้มเหลว, ความผิดพลาดของนักบิน
จุดเกิดเหตุแม่น้ำคีลุง
ประเภทอากาศยานเอทีอาร์ 72-600
ดําเนินการโดยทรานส์เอเชียแอร์เวย์
ทะเบียนB-22816
ต้นทางท่าอากาศยานซงซัน ประเทศไต้หวัน
ปลายทางท่าอากาศยานจินเหมิน ประเทศไต้หวัน
ผู้โดยสาร58 คน
ลูกเรือ5 คน
เสียชีวิต43 คน
รอดชีวิต15 คน

ทรานส์เอเชียแอร์เวย์ เที่ยวบินที่ 235 (GE235/TNA235) เป็นเที่ยวบินในประเทศระหว่างไทเป-จินเหมินที่ตกลงในแม่น้ำคีลุง ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 หลังจากออกบินจากท่าอากาศยานซงซัน 5.4 km (3.4 mi) ไปทางตะวันตก โดยเป็นเที่ยวบินของทรานส์เอเชียแอร์เวย์ ใช้เครื่องบินเอทีอาร์ 72-600ที่ใช้งานได้เพียง 10 เดือน จากผู้โดยสารและลูกเรือทั้งหมด 58 คน มีผู้รอดชีวิตเพียง 15 คนเท่านั้น

2 นาทีหลังจากออกบิน นักบินรายงานว่าเครื่องยนต์ฝั่งปีกขวาของเครื่องบินเกิดไฟลุกไหม้ เที่ยวบินที่ 235 ไต่ระดับสูงสุดที่ 1,050 ฟุต (320 เมตร) แล้วจึงลดระดับลง ก่อนตกเครื่อนบินร่อนเอียงหลบหมู่อาคารสูง แฉลบชนสะพานทางหลวง และรถแท็กซี่ แล้วจึงดิ่งลงสู่แม่น้ำคีลุงในท้ายที่สุด

เที่ยวบินที่ 235 เป็นอุบัติเหตุทางการบินครั้งที่ 2 ในรอบ 7 เดือนที่เกิดขึ้นกับเครื่องบินแบบเอทีอาร์ของทรานส์เอเชียแอร์เวย์ โดยก่อนหน้านี้เที่ยวบินที่ 222 ตกในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 มีผู้เสียชีวิต 48 คน จากทั้งหมด 58 คนบนเที่ยวบิน

เที่ยวบิน[แก้]

เที่ยวบินที่ 235 ออกจากท่าอากาศยานซงซัน เวลา 10:52 น. ตามเวลาในประเทศไต้หวัน เพื่อไปยังท่าอากาศยานจินเหมิน โดยมีผู้โดยสาร 53 คน และลูกเรือ 5 คน หลังจากไต่ระดับไปถึงระดับความสูง 1,050 ฟุต (320 เมตร) แล้วจึงลดระดับลง ก่อนตกลงพื้น [2] ข้อความสุดท้ายที่นักบินได้ติดต่อกับศูนย์ควบคุมการบินคือ "Mayday, mayday, engine flameout."[3] ณ เวลา 10:54 น. ก่อนตกลงสู่แม่น้ำคีลุงในท้ายที่สุด

วิดีโอจากแหล่งข้อมูลภายนอก
กล้องวีดีโอติดรถยนต์ 1
กล้องวีดีโอติดรถยนต์ 2
กล้องรักษาความปลอดภัย

ภาพจากกล้องวีดีโอติดรถยนต์ของประชาชนผู้เห็นเหตุการณ์ ขณะขับรถบนสะพานทางหลวงใกล้แม่น้ำ แสดงภาพเครื่องบินร่อนเอียงหลบหมู่อาคารสูง หนุนตัวทำมุม 90 องศา โดยใช้ปีกด้านซ้ายลง ขณะผ่านสะพานทางหลวง ปีกด้านซ้ายได้ชนกับรถแท็กซี่ที่กำลังขับอยู่บนสะพาน นอกจากนี้ยังเกี่ยวบริเวณขอบเหล็กกั้นทาง และพื้นคอนครีตของสะพานด้วย จากนั้นเครื่องหมุนและตกลงบนพื้นแม่น้ำในสภาพกลับหัวลง [4] และแตกออกเป็น 2 ส่วน [5]ผู้ที่อยู่ในแท็กซี่ 2 คน ได้รับบาดเจ็บ[3]

การกู้ภัย และ ช่วยเหลือผู้ประสบภัย[แก้]

การกู้ภัยเครื่องบินในแม่น้ำคีลุง

ตำรวจไทเปและหน่วยดับเพลิง ได้รับแจ้งจากผู้เห็นเหตุการณ์หลายรายแทบจะทันทีทันใดหลังจากเครื่องบินตก หน่วยดับเพลิงไทเป ทหาร และอาสาสมัคร มาถึงจุดเกิดเหตุในไม่กี่นาทีต่อมา และเริ่มพาผู้รอดชีวิตออกจากบริเวณนั้น จากนั้นจึงเริ่มตัดสายเข็มขัดจากผู้เสียชีวิตเพื่อนำศพออกมา ซึ่งส่วนใหญ่อยู่บริเวณด้านหน้าของเครื่อง การกู้ภัยค่อนข้างทำได้ลำบากเนื่องจากทัศนวิสัยที่ค่อนข้างต่ำใต้ผิวน้ำ

กล่องดำของเครื่องบิน ถูกกู้ขึ้นมาในเวลา 16:00 น. ในวันเดียวกัน จากนั้นเวลา 20:00 น. เครนเข้ามายกชิ้นส่วนใหญ่ที่เป็นถังน้ำมันของเครื่องบิน[3]

จากผู้โดยสารทั้งหมด 58 คนบนเที่ยวบิน มีเพียง 15 คนที่รอดชีวิต[6] ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พบศพของนักบิน นักบินผู้ช่วย และผู้สังเกตการบิน ลูกเรือ 1 ใน 2 คน รอดชีวิต[7]

เครื่องบิน[แก้]

B-22816 ขณะปฏิบัติการบินเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2558

เครื่องบินที่ประสบอุบัติเหตุคือเครื่องยนต์ใบพัดคู่รุ่น ATR 72-600 ทะเบียน B-22816 หมายเลขผลิต 1141 เริ่มปฏิบัติการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2557 และรับมอบสู่สายการบินทรานส์เอเชียแอร์เวย์ เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2557[8] เครื่องยนต์แพรตต์ แอนด์ วิทนี แคนาดา PW127M ถูกเปลี่ยนด้วยสาเหตุทางเทคนิค เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2557 [9]

ผู้โดยสารและลูกเรือ[แก้]

มีผู้โดยสารเป็นผู้ใหญ่ทั้งหมด 49 คน และ เด็กอีก 4 คน แบ่งตามสัญชาติ 31 คน เป็นคนจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวจากเซี่ยเหมิน [10][11] ที่เหลืออีก 22 คนเป็นชาวไต้หวัน

ชาวไต้หวันทั้งหมดนั้น รวมถึงนักบิน 2 คน พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน 2 คน และ ผู้สังเกตการบินอีก 1 คน ชื่อนาย หง ปิ่งจง (จีน: 洪炳衷; พินอิน: Hóng Bǐngzhōng), กับตันผู้บังคับการบินมีประสบการณ์บินกว่า 16,121 ชม.[12] ซึ่งนั่งอยู่บนที่นั่งในห้องนักบิน ส่วนรายนามนักบินมีดังนี้

  • นักบิน นายเลี่ยว เจี้ยนจง (จีน: 廖建宗; พินอิน: Liào Jiànzōng), อายุ 42, ประสบการณ์บิน 14,914 ชม.;
  • นักบินผู้ช่วย นายหลิว จื้อจง (จีน: 劉自忠; พินอิน: Liú Zìzhōng), อายุ 45 ปี และถือสองสัญชาติ นิวซีแลนด์–ไต้หวัน[13]มีประสบการณ์บิน 4000 ชม.

อ้างอิง[แก้]

  1. "ไต้หวันกู้ศพสุดท้าย 'ทรานส์เอเชีย GE235' ดิ่งนที พบร่างยังนั่งติดเก้าอี้โดยสารที่ลอยไกลกว่า 3 กม". manager.co.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "Crash: Transasia AT72 at Taipei on Feb 4th 2015, engine flame out, rolled sharply and lost height shortly after takeoff". The Aviation Herald. 7 February 2015. สืบค้นเมื่อ 7 February 2015.
  3. 3.0 3.1 3.2 Ramzy, Austin (4 February 2015). "At Least 19 Killed After Plane Crashes Into River in Taiwan". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 4 February 2015.
  4. Hung, Faith. "Corrected - Pilot's body found still clutching controls of crashed Taiwan plane-media". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-26. สืบค้นเมื่อ 7 February 2015.
  5. Hsu, Jenny W.; Liu, Fanny; Poon, Aries (4 February 2015). "Taiwan Plane Crash: TransAsia Flight Loses Control, Plunges Into River". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 13 February 2015.
  6. 復興空難搜救 尋獲最後一具遺體CNA (Chinese)
  7. MacLeod, Calum. "TransAsia pilot: 'Mayday, mayday, engine flameout". USA Today. สืบค้นเมื่อ 8 February 2015.
  8. "ATR 42/72 - 1141 - MSN B-22816". Airfleets.net. สืบค้นเมื่อ 4 February 2015.
  9. "Taiwan pilot hailed a hero for pulling plane clear of buildings". The Star Online. สืบค้นเมื่อ 8 February 2015.
  10. Chung, Lawrence (4 February 2015). "Search for survivors after Taiwan plane crashes into river; 24 confirmed dead". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 4 February 2015.
  11. Huang, Keira Lu; Chen, Andrea (5 February 2015). "Taiwan official confirms pilot's 'mayday' call authentic as air crash death toll rises". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 5 February 2015.
  12. Shan, Shelley; Hsiao, Alison. "CAA to block new TransAsia air routes". The Taipei Times. สืบค้นเมื่อ 8 February 2015.
  13. Tait, Morgan (7 February 2015). "Hero pilot killed in Taiwan tragedy was Kiwi citizen". The New Zealand Herald. สืบค้นเมื่อ 7 February 2015.