ข้ามไปเนื้อหา

ถ้ำเอราวัณ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ถ้ำเอราวัณ

ถ้ำเอราวัณ เป็นถ้ำในตำบลวังทอง อำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู[1]

หลักฐานทางโบราณคดีจากการสำรวจเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2541 พบโบราณวัตถุดังนี้ ชิ้นส่วนภาชนะดินเผา (Pottery sherds) ชนิดเนื้อเครื่องดิน (Earthenware) เนื้อหยาบ เมื่อสังเกตจากด้านตัดขวาง (Cross section) จะพบส่วนผสมของเม็ดทรายขนาดเล็กอย่างชัดเจน โดยชิ้นส่วนภาชนะดินเผาที่พบมีทั้งส่วนปาก (Rim) และส่วนลำตัว (Body) ของภาชนะ การตกแต่งผิวของชิ้นส่วนภาชนะที่พบมีทั้งที่ตกแต่ด้วยการใช้เชือกทาบ (Cord-marked) อย่างหยาบ ๆ และการขัดมัน (Burnished) ยังพบชิ้นส่วนกระดองเต่า อายุสมัยของถ้ำเอราวัณนั้นจัดอยู่ในช่วงยุคหิน (Stone age) (ตามแนวทางการจัดลำดับยุคสมัยทางโบราณคดีแบบจารีตนิยม (Traditional Archaeology)) ซึ่งยังไม่อาจระบุได้ชัดเจนว่าเป็นยุคหินกลาง (Mesolithic) หรือหินใหม่ (Neolithic) เพราะนอกจากชิ้นส่วนภาชนะดินเผาแล้ว ไม่พบหลักฐานแวดล้อมอื่น ๆ[2]

บริเวณเชิงเขาขึ้นถ้ำเป็นที่ตั้งของวัดถ้ำเอราวัณ โดยตั้งชื่อวัดเพราะมีผู้มีจิตศรัทธาบริจาค ทรัพย์สร้าง รูปปั้นช้างเอราวัณ แล้วจึงเรียกชื่อถ้ำตามชื่อวัด[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย เล่ม ๔ (อักษร ย-ฮ) ฉบับราชบัณฑิตยสภา. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพมหานคร : สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง, ๒๕๖๑. (แก้ไขปรับปรุงข้อมูลเมื่อ พ.ศ. ๒๕๖๓)
  2. กรมศิลปากร. "ถ้ำเอราวัณ" ระบบภูมิสารสนเทศ แหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 6 มิถุนายน 2567. เข้าถึงจาก http://gis.finearts.go.th/fineart/
  3. "วัดถ้ำเอราวัณ".