ถ้ำนัตตีพัตตี

พิกัด: 40°05′51″N 112°02′13″W / 40.09750°N 112.03694°W / 40.09750; -112.03694
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ถ้ำนัตตีพัตตี
Nutty Putty Cave
Map showing the location of ถ้ำนัตตีพัตตี
Map showing the location of ถ้ำนัตตีพัตตี
ที่ตั้งรัฐยูทาห์, สหรัฐอเมริกา
พิกัด40°05′51″N 112°02′13″W / 40.09750°N 112.03694°W / 40.09750; -112.03694
ค้นพบเมื่อพ.ศ. 2503 โดย เดล กรีน
ธรณีวิทยาหินเชิร์ต
ทางเข้า1
อันตรายลื่นและแคบ
การเข้าถึงปิดถาวร (ตั้งแต่ปี 2552)

ถ้ำนัตตีพัตตี (อังกฤษ: Nutty Putty Cave) เป็นถ้ำน้ำพุร้อนที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของทะเลสาบยูทาห์ ในรัฐยูทาห์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ถ้ำแห่งนี้เคยเป็นที่นิยมในหมู่นักถ้ำ และขึ้นชื่อเรื่องทางเดินที่มีขนาดแคบ ถ้ำแห่งนี้ปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2552 หลังจากเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงในปีนั้น[1]

การค้นพบและการสำรวจ[แก้]

อุบัติเหตุร้ายแรงและการปิดตัว[แก้]

เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 จอห์น เอ็ดเวิร์ด โจนส์ (อังกฤษ: John Edward Jones) นักศึกษาแพทย์วัย 26 ปี และจอช น้องชายของเขา รวมไปถึงเพื่อน ๆ อีก 11 คน ได้เดินทางไปยังถ้ำนัตตีพัตตี

จอห์นได้คลานเข้าไปในช่องแคบของถ้ำ และเริ่มติดอยู่ในช่องแคบที้มีขนาดเท่ากับฝาปิด–เปิดเครื่องซักผ้าในลักษณะหัวดิ่งลงไปยังช่องแคบที่โค้งและมีพื้นที่จำกัดทำให้ไม่สามารถขยับตัวขึ้นหรือลงต่อไปอีกได้อย่างถาวร ทีมกู้ภัยก็ไม่สามารถเห็นส่วนใดส่วนหนึ่งของลำตัวเขาได้เลย นอกจากเท้าที่โผล่ออกมาเล็กน้อยเกือบชิดเพดานถ้ำเท่านั้น ด้วยท่าติดช่องแคบที่มีลักษณะคล้ายกับเบ็ดจึงทำให้ทีมกู้ภัยไม่สามารถดึงร่างของเขาออกมาได้โดยตรง เพราะหากดึงขึ้นมาอวัยวะแรกคือขาของจอห์นต้องหักหรือขาดอย่างไม่ต้องสงสัย และในที่สุดเขาก็เสียชีวิตหลังจากติดอยู่อย่างนั้นนานถึง 27 ชั่วโมง

การเสียชีวิตของจอห์นเป็นที่กล่าวขวัญกันมากเพราะเขาไม่ได้เสียชีวิตในแบบมนุษย์ทั่วไป แต่เขาเสียชีวิตโดยห้อยหัวปักลงไปด้านล่างและภารกิจการช่วยเหลือครั้งนั้นก็ล้มเหลว เนื่องจากสุดวิสัยที่จะดึงจอห์นออกมาจากช่องแคบในถ้ำได้[2]

ถ้ำนัตตีพัตตีจึงกลายเป็นที่ฝังร่างไร้วิญญาณของจอห์นนับตั้งแต่นั้นมา ต่อมาถ้ำแห่งนี้ได้ถูกทางรัฐตัดสินใจปิดทางเข้าถ้ำด้วยคอนกรีตในขณะที่ร่างจอห์นยังคงถูกทิ้งไว้ในถ้ำอย่างถาวร[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Why Utah's Nutty Putty Cave Is Sealed Up With One Spelunker Inside. John James became stuck upside down in this cave and waited 27 hours until his death which he knew was coming". June 19, 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 18, 2021. สืบค้นเมื่อ May 18, 2021.
  2. อาภาขจร, พันธ์ศักดิ์ (2018-07-03). "ย้อนรอย 11 ถ้ำสะเทือนขวัญ". สำนักข่าวอิศรา.
  3. เกษจำรัส, สุชยา (2023-06-06). "การตายที่ทรมานที่สุด นักสำรวจติดอุโมงค์แคบในถ้ำในท่าห้อยหัวลง 28 ชั่วโมงก่อนหมดลมหายใจ #beartai". #beartai (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]