ตีโมคาริส
ตีโมคาริสแห่งอเล็กซานเดรีย (กรีก: Τιμόχαρις หรือ Τιμοχάρης, ประมาณ 320-260 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นนักดาราศาสตร์และนักปรัชญาชาวกรีก มีหลักฐานว่าเกิดในอเล็กซานเดรีย เขาเป็นบุคคลในยุคเดียวกับยูคลิด
ประวัติเท่าที่ทราบเกี่ยวกับงานของตีโมคาริสนั้นมาจากการอ้างถึงโดยปโตเลมีในอัลมาเกสต์ ซึ่งระบุเอาไว้ว่า ตีโมคาริสทำงานในอเล็กซานเดรียระหว่าง 290-280 ปีก่อนคริสตกาล ปโตเลมีได้บันทึกเดคลิเนชันของดาวฤกษ์ 18 ดวงซึ่งได้รับการบันทึกโดยตีโมคาริสและอาริสตุลโลสเมื่อราว 290 ปีก่อนคริสตกาล[1] ระหว่าง 295-272 ปีก่อนคริสตกาล ตีโมคาริสได้บันทึกการบังของดวงจันทร์ 4 ครั้ง และเส้นทางโคจรของดาวศุกร์ผ่านดาวฤกษ์[2] สิ่งเหล่านี้ได้รับการบึนทึกโดยใช้ทั้งปฏิทินอียิปต์และเอเธนส์[3] เส้นทางโคจรของดาวซึ่งได้รับการบันทึกของดาวศุกร์เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 272 ปีก่อนคริสตกาล เมื่อดาวศุกร์เข้ามาใกล้ 15 ลิปดา ของดาวฤกษ์ เอตาหญิงสาว[4]
การสังเกตโดยตีโมคาริสถือว่าเป็นการบันทึกของกรีกที่เก่าแก่ที่สุดซึ่งสามารถระบุเวลาที่เจาะจงได้ ผลงานของเขาเกิดขึ้นเพียงหลังจากการบึนทึกครีษมายันเมื่อ 432 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งได้รับการบันทึกโดยอุกเตมอนและเมตอน[5] ตีโมคาริสทำงานร่วมกับอริสติลลอสในการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ซึ่งมีหลักฐานว่าเกิดขึ้นที่หอสมุดอเล็กซานเดรีย ทั้งสองเป็นบุคคลในยุคเดียวกับอาริสตาร์โคสแห่งซาโมส แต่ไม่มีหลักฐานปรากฏชัดเจนถึงความเกี่ยวข้องกันระหว่างตีโมคาริสและอริสตาร์ตคัส[6]
แอ่งบนดวงจันทร์ ตีโมคาริส ตั้งชื่อตามเขา[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Newton, R. R. (1974). "The obliquity of the ecliptic two millenia ago". Monthly Notices of the Royal Astronomical Society. 169: 331–342. Bibcode:1974MNRAS.169..331N.
- ↑ Jones, Alexander (1999). Astronomical papyri from Oxyrhynchus. Vol. 1–2. DIANE Publishing. p. 84. ISBN 0871692333.
- ↑ Jones, A. (1997), On the reconstructed Macedonian and Egyptian lunar calendars (PDF), vol. 119, pp. 157–166, สืบค้นเมื่อ 2009-09-10
- ↑ Fomenko, A. T.; Vi︠a︡cheslavovich, Vladimir Kalashnikov; Nosovskiĭ, Gleb Vladimirovich (1993). Geometrical and statistical methods of analysis of star configurations: dating Ptolemy's Almagest. CRC Press. p. 215. ISBN 0849344832.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Evans, James (1998). The History & Practice of Ancient Astronomy. Oxford University Press US. p. 259. ISBN 0195095391.
- ↑ Sarton, George (1993). Hellenistic science and culture in the last three centuries B.C. Courier Dover Publications. p. 53. ISBN 0486277402.
- ↑ Blue, Jennifer. "Gazetteer of Planetary Nomenclature". United States Geological Survey. สืบค้นเมื่อ 2009-09-10.