ข้ามไปเนื้อหา

ตัวยึดกระดูกเชิงกราน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตัวยึดกระดูกเชิงกราน
การแทรกแซง
วิดีโอแสดงตัวอย่างการใช้ผ้าและเชือกในการมัดยึดกระดูกเชิงกราน

ตัวยึดกระดูกเชิงกราน, ตัวตรึงกระดูกเชิงกราน หรือ ตัวรัดกระดูกเชิงกราน (อังกฤษ: pelvic binder) เป็นอุปกรณ์สำหรับการบีบรัดกระดูกเชิงกรานในผู้ที่มีการหักของกระดูกเชิงกรานโดยมีเป้าหมายเพื่อการหยุดเลือด[1]

การใช้งาน

[แก้]

ตัวยึดกระดูกเชิงกรานใช้งานเพื่อลดการไหลของเลือดจากการแตกของกระดูกเชิงกราน[2] และนำมาใช้ในกรณีผู้ป่วยที่แพทย์หรือหน่วยแพทย์ฉุกเฉินสงสัยว่ามีการหักของวงเชิงกราน (pelvic ring) เป็นส่วนใหญ่[2] ตัวยึดกระดูกเชิงกรานนั้นแนะนำให้ใช้ในกระดูกเชิงกรานหักแบบแยกกางออกเป็นสองส่วน (open book)[3] และอาจไม่มีประโยชน์นักในรายที่เป็นการแตกของกระดูกเชิงกรานชนิดบีบอัดจากด้านข้าง (lateral compression)[3]

หน่วยแพทย์ฉุกเฉินสามารถใส่ตัวยึดกระดูกเชิงกรานก่ินการขนย้ายผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาล หรือโดยแพทย์กับพยาบาลเมื่อมาถึงแผนกฉุกเฉินแล้ว[2] ตัวยึดกระดูกเชิงกรานมีไว้ใช้ในระยะสั้น ไม่ควรค้างไว้ในระยะยาว[1]

อาการแทรกซ้อน

[แก้]

อาการแทรกซ้อนหรือผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์จากการใส่ตัวยึดกระดูกเชิงกราน อาจรวมถึงแผลเปื่อยบนผิวหนังหากคาไว้นาน[1] จากวรรณกรรมที่ตีพิมพ์ในปี 2016 พบว่าราว 50% ของผู้ป่วยถูกใส่ตัวรัดกระดูกเชิงกรานอย่างไม่ถูกต้อง[2][4]

เทคนิกวิธี

[แก้]

ตัวยึดกระดูกเชิงกรานควรจะใส่เหนือต่อกระดูกฟีเมอร์ตอนบน กล่าวคือแนะนำให้ใส่ที่ระดับเกรเทอร์โทรคันเทอร์[1][2] โดยการใส่จะทำให้ได้ท่าทางที่ดีที่สุดในการลดการแยกออกของพิวบิกซิมฟัยสิส[5] ซีทีสแกนสามารถนำมาใช้เพื่อตรวจสอบว่าใส่ตัวยึดกระดูกเชิงกรานถูกต้องหรือไม่[2] นอกจากนี้ ผ้าปูที่นอน ยังอาจนำมาใช้ประกอบเป็นตัวยึดกระดูกเชิงกรานได้เช่นกัน[1]

ตัวยึดกระดูกเชิงกรานจะช่วยกดโครงสร้างของกระดูกเชิงกราน[2] ซึ่งกระตุ้นให้เลือดที่ค้างอยู่ภายในโพรงช่องเชิงกราน (pelvic cavity) เกิดการแข็งตัว จึงช่วยลดเลือดไหลออกเพิ่มได้[6] นอกจากนี้ยังช่วยเสริมความมั่นคงให้กับกระดูกเชิงกรานเช่นกัน[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 ATLS - Advanced Trauma Life Support - Student Course Manual (10 ed.). American College of Surgeons. 2018. p. 96–97. ISBN 9780996826235.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 Naseem H, Nesbitt PD, Sprott DC, Clayson A (February 2018). "An assessment of pelvic binder placement at a UK major trauma centre". Annals of the Royal College of Surgeons of England. 100 (2): 101–105. doi:10.1308/rcsann.2017.0159. PMC 5838689. PMID 29022794.
  3. 3.0 3.1 Walls R, Hockberger R, Gausche-Hill M (2017). Rosen's Emergency Medicine - Concepts and Clinical Practice E-Book (ภาษาอังกฤษ). Elsevier Health Sciences. p. 577, 588. ISBN 978-0-323-39016-3.
  4. Vaidya R, Roth M, Zarling B, Zhang S, Walsh C, Macsuga J, Swartz J (November 2016). "Application of Circumferential Compression Device (Binder) in Pelvic Injuries: Room for Improvement". The Western Journal of Emergency Medicine. 17 (6): 766–774. doi:10.5811/westjem.2016.7.30057. PMC 5102606. PMID 27833687.
  5. Bonner TJ, Eardley WG, Newell N, Masouros S, Matthews JJ, Gibb I, Clasper JC (November 2011). "Accurate placement of a pelvic binder improves reduction of unstable fractures of the pelvic ring". The Journal of Bone and Joint Surgery. British Volume. 93 (11): 1524–8. doi:10.1302/0301-620X.93B11.27023. PMID 22058306.
  6. White CE, Hsu JR, Holcomb JB (October 2009). "Haemodynamically unstable pelvic fractures". Injury. 40 (10): 1023–30. doi:10.1016/j.injury.2008.11.023. PMID 19371871.