ข้ามไปเนื้อหา

ด้วงงวงมะพร้าว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ด้วงงวงมะพร้าว
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Arthropoda
ชั้น: Insecta
อันดับ: Coleoptera
วงศ์: Curculionidae
สกุล: Rhynchophorus
สปีชีส์: R.  ferrugineus
ชื่อทวินาม
Rhynchophorus ferrugineus
(Olivier, 1790)[1]
ชื่อพ้อง
  • Curculio ferrugineus Olivier, 1790
  • Curculio schach Olivier, 1790
  • Curculio vulneratus Panzerer, 1798
  • Calandra ferruginea Fabricius, 1801
  • Rhynchophorus pascha Boheman in Schönherr, 1845
  • Rhynchophorus ferrugineus v. tenuirostris Chevrolat, 1882
  • Rhynchophorus indostanus Chevrolat, 1882
  • Rhynchophorus signaticollis Chevrolat, 1882
  • Rhynchophorus pascha v. cinctus Faust, 1892
  • Rhynchophorus ferrugineus v. seminiger Faust, 1894
  • Rhynchophorus signaticollis v. dimidiatus Faust, 1894

ด้วงงวงมะพร้าว หรือ ด้วงสาคู หรือ ด้วงลาน หรือ แมงหวัง[2] ในภาษาใต้ (อังกฤษ: Red palm weevil, Red-stripes palm weevil, Asian palm weevil, Sago palm weevil) เป็นด้วงงวงชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhynchophorus ferrugineus

จัดว่าเป็นด้วงงวงขนาดกลาง ตัวเต็มวัย ปีกมีสีน้ำตาลดำ อกมีสีน้ำตาลและมีจุดสีดำ มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 25-28 มิลลิเมตร ทั้งตัวผู้และตัวเมียมีขนาดและลักษณะภายนอกคล้ายคลึงกัน ต่างกันที่ตัวผู้มีขนที่ด้านบนของงวงใกล้ส่วนปลาย ตัวหนอนมีสีเหลืองปนน้ำตาล ดักแด้เป็นปลอกทำด้วยเศษชิ้นส่วนจากพืชที่กินเป็นอาหาร

โดยด้วงงวงชนิดนี้นับเป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะพืชจำพวกปาล์ม เช่น มะพร้าวหรือสาคู หรือลาน ในประเทศไทยพบมากที่ภาคใต้ ตัวหนอนจะอาศัยและกัดกินบริเวณยอดอ่อน ตัวเต็มวัยจะเกาะกินเนื้อเยื่อด้านในของลำต้นลึกจนเป็นโพรง ซึ่งอาจทำให้ต้นตายได้ โดยจะบินออกหากินในเวลากลางวัน สามารถบินได้ไกลถึง 900 เมตร และอาจซ้ำกินซ้ำเติมจากที่ด้วงแรดมะพร้าว (Oryctes rhinoceros) ซึ่งเป็นด้วงกว่างกินแล้วด้วย ตัวเมียใช้เวลาวางไข่นาน 5-8 สัปดาห์ ในปริมาณเฉลี่ย 400 ฟอง

กระจายพันธุ์อยู่ตั้งแต่อินเดียจนถึงซามัว แต่ปัจจุบันได้แพร่กระจายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นไปในทวีปต่าง ๆ ของโลก[3]

ตัวหนอนในชามที่รอการบริโภค

แต่ในปัจจุบัน ตัวหนอนของด้วงงวงชนิดนี้กำลังเป็นที่นิยมของการเพาะเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจ โดยนิยมบริโภคกัน มีราคาซื้อขายที่สูงถึงกิโลกรัมละ 200-300 บาท โดยระยะจากไข่-หนอน-ดักแด้ใช้เวลา 60 วัน ตัวเต็มวัยมีอายุ 2-3 เดือน[4] บางเจ้าจะนำ หนอนด้วงแรดมาแทน เพราะราคาถูกกว่า แต่อร่อยไม่เท่า

อ้างอิง

[แก้]
  1. Rhynchophorus ferrugineus เก็บถาวร 2010-07-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at European and Mediterranean Plant Protection Organization (EPPO)
  2. "อนุวัต จัดให้ "ด้วงสาคู ของดี จ.นครศรีธรรมราช"". ช่อง 7. 23 June 2014. สืบค้นเมื่อ 24 June 2014.
  3. BioRisk เอกสารดาวน์โหลด (อังกฤษ)
  4. พิสุทธิ์ เอกอำนวย, คู่มือคนรักแมลง 1 ด้วงปีกแข็ง แมลงลึกลับ กับเทคนิคการเพาะเลี้ยง (สิงหาคม พ.ศ. 2551) หน้า 50 ISBN 978-974-8132-25-9

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]