ข้ามไปเนื้อหา

ดีคิวเอส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Deutsche Gesellschaft zur Zertifizierung von Managementsystemen (DQS)
ประเภทองค์กรกำหนดมาตรฐาน
อุตสาหกรรมการประเมิน, ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
ก่อตั้ง1985
สำนักงานใหญ่แฟรงก์เฟิร์ต เยอรมนี
พื้นที่ให้บริการ
ทั่วโลก
บุคลากรหลัก
Michael Drechsel (กรรมการผู้จัดการ)
Ingo Ruebenach (กรรมการผู้จัดการ)
ผลิตภัณฑ์การประเมินและการรับรองระบบและกระบวนการจัดการ
รายได้145 ล้านยูโร[1]
พนักงาน
2500
เว็บไซต์www.dqs-ul.de

บริษัท DQS Holding จำกัด ซึ่งมีฐานที่ตั้งอยู่ที่เมืองแฟรงก์เฟิร์ต เป็นบริษัทผู้ถือหุ้นของบริษัทในเครือของ DQS-Group ที่มีสาขาอยู่ทั่วโลก DQS-Group จัดทำการตรวจประเมินและให้การรับรองระบบและกระบวนการบริหาร

ประวัติ

[แก้]

บริษัท DQS[2][3] ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1985 ที่เมืองแฟรงก์เฟิร์ต อัม ไมน์ และเป็นองค์กรตรวจประเมินความสอดคล้องแห่งแรกของเยอรมัน วัตถุประสงค์ของหุ้นส่วนผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทซึ่งได้แก่ DGQ (German Society for Quality) และ DIN (German Institute for Standardization) คือ เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศเยอรมนีเป็นหลัก การก่อตั้งบริษัทเกิดขึ้นซ้อนกับการพิมพ์ออกเผยแพร่ของร่างเกี่ยวกับ ISO 9000 ฉบับแรก ซึ่งเป็นชุดเกณฑ์มาตรฐานต่างๆที่กำหนดไว้ ซึ่งรวมทั้งมาตรฐานคุณภาพที่สำคัญที่สุดของทั่วโลกในขณะนั้นด้วย นั่นคือ ISO 9001 หลังจากที่ DQS ได้ควบกิจการเข้ากับแผนก Management Systems Solutions (MSS) ของบริษัท American Underwriters Laboratories Inc. ในเดือนมีนาคม 2008 แล้ว DQS-UL group ได้กลายเป็นหนึ่งในบริษัทที่ใหญ่ที่สุดของโลกที่ให้บริการด้านการรับรองระบบบริหารสาขาต่างๆ

การจัดระบบองค์กร

[แก้]

บริษัท DQS Holding จำกัด มีสำนักงานตัวแทนกว่า 80 แห่ง ใน 60 กว่าประเทศ ซึ่งประกอบกันเป็นเครือข่ายสำหรับการดำเนินโครงการระหว่างประเทศให้สัมฤทธิ์ผล ปัจจุบันนี้ DQS group มีลูกค้าในวงการอุตสาหกรรมตลอดแทบทุกสาขาที่ได้รับการรับรองแล้วประมาณ 20,000 ราย ซึ่งมีจุดที่ตั้งที่ได้รับการรับรองประมาณ 58,000 แห่งใน 130 กว่าประเทศ บริษัทว่าจ้างพนักงานประมาณ 2,800 คน ซึ่ง 2,500 คนในจำนวนนี้เป็นผู้ตรวจประเมิน ในบรรดาบริษัทที่ใหญ่ที่สุดของกลุ่มบริษัท มีบริษัทต่อไปนี้รวมอยู่ด้วย คือ DQS Inc. (สหรัฐฯ), DQS do Brasil Ltd., DQS Japan, DQS Medical Devices GmbH และ DQS GmbH (ทั้งสองบริษัทนี้อยู่ในประเทศเยอรมนี) นับแต่ปลายปี 2010 เป็นต้นมา กลุ่มบริษัทมีสำนักงานที่ตั้งอยู่ในประเทศต่างๆ ถึง 60 ประเทศ

กิจกรรมด้านธุรกิจ

[แก้]

กลุ่มบริษัทเสนอการตรวจประเมินข้ามอุตสาหกรรมสำหรับข้อกำหนดขององค์กรหรือของอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ และให้การรับรองมาตรฐาน (Standards) ที่เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศมากกว่า 100 มาตรฐาน ได้แก่ ISO 9001 (ระบบจัดการคุณภาพ) ISO 14001 (ระบบจัดการสิ่งแวดล้อม) BS OHSAS 18001 /ISO45001 (ระบบจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย) IATF 16949 (ระบบจัดการคุณภาพยานยนต์) ISO 27001 (ระบบจัดการความปลอดภัยของข้อมูล) ISO 13485 (ระบบจัดการเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์) IRIS (ระบบจัดการอุตสาหกรรมรถไฟ) EN 9100ff (ระบบจัดการเทคโนโลยีทางอวกาศ) อย่างไรก็ดี ในงานบริการด้านการรับรองระบบบริหารนั้น ประเด็นปัญหาต่างๆ อย่างเช่น ระบบบริหารความเสี่ยง ความยั่งยืน การบริหารพลังงานที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานกฎหมายว่าด้วยพลังงานหมุนเวียนของเยอรมนี การศึกษา ระบบรักษาข้อมูลส่วนตัว และความเป็นเลิศทางธุรกิจ กำลังทวีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้แล้ว สาขางานอื่นๆ ที่ยังมีความสำคัญอีก คือ การบริการด้านสุขภาพและทางสังคม

วิธีปฏิบัติ

[แก้]

กลุ่มบริษัทมีวิธีปฏิบัติงานพิเศษ คือ การให้บริการด้านการตรวจประเมินนั้น ส่วนใหญ่จะดำเนินการโดยผู้ตรวจประเมินจากภายนอกบริษัทบนพื้นฐานของค่าธรรมเนียม ผู้ตรวจประเมินนั้น โดยทั่วไปแล้วจะทำงานในภาคอุตสาหกรรมที่ตนตรวจประเมิน การผสมผสานระหว่างการรับรองและความรู้ด้านการอุตสาหกรรม ระหว่างประสบการณ์ภาคปฏิบัติและในเชิงวิชาการนี้มุ่งที่จะให้บริการด้วยเทคนิควิธีการตรวจประเมินที่ก้าวหน้าทันสมัย

ระบบเครือข่าย

[แก้]

DQS เป็นสมาชิกก่อตั้งและสมาชิกผู้มีอำนาจเต็มของเครือข่ายการให้การรับรองระหว่างประเทศ IQNet Association ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1990 วัตถุประสงค์หลักของระบบเครือข่ายระดับโลกที่ปัจจุบันมีสมาชิก 36 องค์กรของผู้ตรวจประเมินให้การรับรอง (CB) นั้น คือ การยอมรับร่วมในการรับรองที่ออกโดยบริษัทสมาชิก ผู้อำนวยการคนปัจจุบันของ DQS GmbH คือ คุณ Michael Drechsel ซื่งในขณะนี้ได้ปฏิ

อ้างอิง

[แก้]
  1. DQS Holding GmbH: Konzernabschluss zum 31. Dezember 2017. Bundesanzeiger, May 12, 2015. (german)
  2. Wolfgang Hansen: Zertifizierung und Akkreditierung von Produkten und Leistungen der Wirtschaft, Carl Hanser Verlag München Wien, 1993, p. 155, ISBN 3-446-17108-8.
  3. Walter Masing: Handbuch der Qualitätssicherung, Carl Hanser Verlag, 2nd ed., 1988, p. 972, ISBN 3-446-15172-9.