ดาวเคราะห์ฮีเลียม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพวาดดาวเคราะห์ฮีเลียมในจินตนาการ

ดาวเคราะห์ฮีเลียม (helium planet) เป็น ดาวเคราะห์ในสมมุติฐานที่สามารถเกิดขึ้นได้โดยการที่ดาวแคระขาวมวลน้อยสูญเสียมวลไป

ปกติแล้วดาวเคราะห์ยักษ์โดยทั่วไป เช่น ดาวพฤหัสบดี และ ดาวเสาร์ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยไฮโดรเจนเป็นหลัก และมีฮีเลียมมากเป็นอันดับ 2 แต่ในดาวเคราะห์ฮีเลียมนั้นไฮโดรเจนทั้งหมดได้ถูกเผาไหม้และเปลี่ยนเป็นฮีเลียมหรือธาตุที่หนักกว่านั้นไปจนหมดสิ้นแล้ว

ต้นกำเนิด[แก้]

ดาว AM CVn เป็นดาวแคระขาวที่มี จานพอกพูนมวลฮีเลียมเข้าสู่แกนฮีเลียม และเชื่อกันว่าเป็นระบบดาวคู่ที่อยู่ร่วมกันโดยมีการขนถ่ายมวลจากดาวฤกษ์มวลเบากว่าไปหาดาวฤกษ์มวลหนักกว่า หลังจากสูญเสียมวลส่วนใหญ่ไปแล้ว ดาวแคระขาวดวงที่เบากว่าก็จะมีมวลเข้าใกล้มวลดาวเคราะห์[1]

ลักษณะของดาว[แก้]

ดาวเคราะห์ฮีเลียมมีรัศมีใกล้เคียงกับดาวเคราะห์ก๊าซทั่วไปที่มีมวลใกล้เคียงกัน ปกติแล้ววัตถุที่หนักกว่า 13 เท่าของมวลดาวพฤหัสบดีจะเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันของดิวเทอเรียมขึ้นมาได้จึงจัดว่าเป็นดาวแคระน้ำตาล แต่ดาวเคราะห์ฮีเลียมไม่หลงเหลือดิวเทอเรียมอยู่แล้ว ต่อให้มวลมากกว่า 13 เท่าของดาวพฤหัสบดีก็ไม่อาจเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันขึ้นมาได้ จึงถือว่าเป็นดาวเคราะห์แทนที่จะจัดเป็นดาวแคระน้ำตาล

อ้างอิง[แก้]

  1. Seager, S. (2007). "Mass-Radius Relationships for Solid Exoplanets". ApJ. 669: 1279. doi:10.1086/521346. arXiv:0707.2895.