ข้ามไปเนื้อหา

ดาวเคราะห์พเนจร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพจินตนาการของดาวเคราห์พเนจรขนาดใกล้เคียงกับดาวพฤหัส

ดาวเคราะห์พเนจร (อังกฤษ: rogue planet; หรือเรียกกันว่า ดาวเคราะห์ระหว่างดวงดาว, ดาวเคราะห์อิสระ) คือวัตถุที่มีมวลขนาดดาวเคราะห์และมิได้มีแรงโน้มถ่วงดึงดูดอยู่กับดาวฤกษ์ดวงใด จึงเคลื่อนที่ล่องลอยอยู่ในห้วงอวกาศระหว่างดาวเป็นวัตถุอิสระ มีนักดาราศาสตร์หลายคนอ้างว่าตรวจพบวัตถุดังกล่าวนี้ (เช่น Cha 110913-773444) แต่ยังไม่มีการยืนยันผลการค้นพบเหล่านั้น[1]

นักดาราศาสตร์จำนวนหนึ่งเรียกวัตถุเหล่านี้ว่า "ดาวเคราะห์" เพราะพวกเขาเชื่อว่าวัตถุเหล่านี้เป็นดาวเคราะห์ที่ถูกดีดตัวออกมาจากวงโคจรรอบดาวฤกษ์[2] อย่างไรก็ดียังมีนักดาราศาสตร์อีกมากที่เห็นว่า คำนิยามของ "ดาวเคราะห์" ควรใช้กับสถานะการเฝ้าสังเกตในปัจจุบันขณะ ไม่เกี่ยวกับอดีตหรือต้นกำเนิดของมัน ยิ่งไปกว่านั้น วัตถุเหล่านี้อาจจะก่อตัวขึ้นมาเองจากการแตกสลายของกลุ่มเมฆแก๊สที่คล้ายคลึงกับการก่อตัวของดาวฤกษ์ก็ได้ ซึ่งหากเป็นกรณีเช่นนี้ มันย่อมไม่เคยเป็น "ดาวเคราะห์" มาก่อน[3][4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Rogue planet find makes astronomers ponder theory". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-11-05. สืบค้นเมื่อ 2009-10-04.
  2. Orphan Planets: It's a Hard Knock Life, Space.com, 24 feb 2005, retrieved 5 Feb 2009.
  3. Free-Floating Planets -- British Team Restakes Dubious Claim, Space.com, 18 Apr 2001, retrieved 5 Feb 2009.
  4. Orphan 'planet' findings challenged by new model เก็บถาวร 2009-03-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, NASA Astrobiology, 18 Apr 2001, retrieved 5 Feb 2009.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]