ดาราศาสตร์ดาราจักร
ดาราศาสตร์ดาราจักร (อังกฤษ: Galactic astronomy) เป็นแขนงหนึ่งของการศึกษาทางดาราศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับดาราจักรทางช้างเผือกของเรา รวมถึงส่วนประกอบภายในต่างๆ ซึ่งแตกต่างกับการศึกษาดาราศาสตร์ดาราจักรนอกระบบที่ศึกษาทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ภายนอกดาราจักรของเรา
ทั้งนี้จะต้องไม่สับสนกับการศึกษากำเนิดและวิวัฒนาการของดาราจักร อันเป็นการศึกษาเกี่ยวกับดาราจักรโดยทั่วๆ ไป ว่าด้วยการก่อตัว การเกิดโครงสร้าง องค์ประกอบ พลวัตและปฏิกิริยา รวมถึงลักษณะของดาราจักรประเภทต่างๆ
สำหรับดาราจักรทางช้างเผือกซึ่งเป็นที่อยู่ของระบบสุริยะ เป็นตัวอย่างการศึกษาดาราจักรที่ดีแห่งหนึ่ง แม้ว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ของดาราจักรจะถูกบดบังเอาไว้ ทว่าด้วยวิทยาการของดาราศาสตร์วิทยุ ดาราศาสตร์อินฟราเรด และสาขาอื่นๆ ที่พัฒนาขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ช่วยให้เราสามารถสำรวจผ่านฝุ่นและแก๊สมากมายที่มีอยู่ในดาราจักรของเราเองได้เป็นครั้งแรก
หัวข้อในการศึกษา[แก้]
ตามมาตรฐานทั่วไปของแวดวงดาราศาสตร์ จะแบ่งการศึกษาองค์ประกอบต่างๆ ของดาราศาสตร์ดาราจักรดังนี้
- abundances - ศึกษาเกี่ยวกับตำแหน่งของธาตุที่หนักกว่าฮีเลียม
- ดุมดาราจักร - ศึกษาเกี่ยวกับพื้นที่ดุมดาราจักรที่อยู่รอบบริเวณศูนย์กลางทางช้างเผือก
- ศูนย์กลาง - ศึกษาเกี่ยวกับบริเวณศูนย์กลางของทางช้างเผือก
- แผ่นจาน - การศึกษาแผ่นจานของทางช้างเผือก (คือระนาบอันเป็นที่ตั้งของวัตถุในดาราจักรโดยส่วนใหญ่)
- วิวัฒนาการ - ศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการของทางช้างเผือก
- การก่อตัว - ศึกษาเกี่ยวกับการก่อตัวของทางช้างเผือก
- องค์ประกอบพื้นฐาน - องค์ประกอบพื้นฐานของทางช้างเผือก (เช่น มวล ขนาด หรืออื่นๆ)
- กระจุกดาวทรงกลม - ศึกษาเกี่ยวกับกระจุกดาวทรงกลมที่อยู่ในทางช้างเผือก
- ฮาโล - ฮาโลขนาดใหญ่ที่อยู่รอบทางช้างเผือก
- จลนศาสตร์และพลศาสตร์ - การเคลื่อนที่ของดาวฤกษ์และกระจุกดาว
- นิวเคลียส - พื้นที่โดยรอบหลุมดำที่อยู่ในใจกลางของทางช้างเผือก (บริเวณดาราจักร Sagittarius A*)
- กระจุกดาวเปิดและกลุ่มของดาวฤกษ์
- ระบบสุริยะข้างเคียง
- ชนิดของดาวฤกษ์ - จำนวน และประเภทของดาวฤกษ์ที่อยู่ในทางช้างเผือก
- โครงสร้าง - ว่าด้วยโครงสร้างของดาราจักร (เช่นแขนกังหัน หรืออื่นๆ)
ประชากรดาวฤกษ์ในดาราจักร[แก้]
ดูเพิ่ม[แก้]
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
บทความเกี่ยวกับดาราศาสตร์หรือจักรวาลวิทยานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ดาราศาสตร์ |