ดัสบุดดิสทิเชอเฮาส์
ดัสบุดดิสทิเชอเฮาส์ (เยอรมัน: Das Buddhistische Haus; บ้านพุทธ) หรือ พุทธวิหารเบอร์ลิน (อังกฤษ: Berlin Buddhist Vihara) เป็นวิหารพุทธเถรวาทในเขตโฟรห์เนา เบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ถือเป็นพุทธศาสนสถานเถรวาทที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในยุโรป รวมถึงได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกแห่งชาติ[1]
ประวัติศาสตร์
[แก้]อาคารหลักเป็นผลงานออกแบบโดยมักซ์ เมเยอร์ (Max Meyer) ให้กับเพาล์ ดาลเคอ แพทย์ชาวพุทธชาวเยอรมันที่เดินทางไปซีลอนหลายครั้ง อาคารใช้องค์ประกอบจากสถาปัตยกรรมพุทธแบบสิงหล ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 1924[2] และกลายมาเป็นศูนย์กลางของศาสนาพุทธแห่งหนึ่งในประเทศเยอรมนี ในปี 1941 ศาสนกิจถูกสั่งห้ามทั้งหมดภายใต้รัฐบาลของนาซี หลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง อาคารภายในวิหารถูกทิ้งร้างและกลายเป็นที่อยู่อาศัยของคนไร้บ้านในสภาพทรุดโทรม กระทั่ง อโศก วีรรัตนะ ผู้สถาปนาธรรมทูตสภาเยอรมัน (German Dharmaduta Society; GDS) ชาวศรีลังกาซื้ออาคารนี้จากลูกหลานของดาลเคอในปี 1957 ในนามของคณะกรรมการธรรมทูตสภาเยอรมัน (GDS)[3]
พระสงฆ์จำนวนมากเดินทางมาจำพรรษาที่นี่ขณะธุดงค์เทศนาคำสอนของศาสนาพุทธในยุโรป โดยเฉพาะพระสงฆ์จากศรีลังกา[4] วัดเปิดให้แก่สาธารณชนสามารถเข้าชมและใช้บริการได้เป็นครั้งแรกในปี 2006[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "80th anniversary of Das Buddhistische Haus in Berlin – Frohnau, Germany". Daily News (Sri Lanka). April 24, 2004. สืบค้นเมื่อ November 9, 2014.
- ↑ buddha-heute.de: Das "Buddhistische Haus" in Berlin, Frohnau (German) เก็บถาวร 2016-06-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Retrieved 29 January 2012
- ↑ Senaka Weeraratna (October 10, 2008). "Asoka Weeraratne pioneer in developing post-war Sri Lanka-German ties". Asian Tribune. สืบค้นเมื่อ November 9, 2014.
- ↑ 4.0 4.1 Stefan Strauss (February 21, 2006). "Buddha bekommt nasse Fuesse" (ภาษาเยอรมัน). Berliner Zeitung. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 23, 2015. สืบค้นเมื่อ November 9, 2014.