ดอนฆวน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดอนฆวนใน ดอนโจวันนี ซึ่งเป็นละครอุปรากรของโมทซาร์ท ภาพวาดโดยมัคส์ สเลโฟคท์

ดอนฆวน (สเปน: Don Juan) หรือ ดอนโจวันนี (อิตาลี: Don Giovanni) เป็นตำนานหรือเรื่องแต่งไร้ศีลธรรมที่ได้รับการบอกเล่าโดยผู้ประพันธ์หลายราย เอลบูร์ลาดอร์เดเซบิยาอีกอนบิดาโดเดปิเอดรา (เดอะทริกสเตอร์ออฟเซวิลล์แอนด์เดอะสโตนเกสต์) โดยตีร์โซ เด โมลินา เป็นละครเวทีที่มีฉากอยู่ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 และได้รับการเผยแพร่ในประเทศสเปนช่วง ค.ศ. 1630 ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่ามันเป็นผลงานเขียนรุ่นแรกของตำนาน ดอนฆวน ในบรรดาผลงานที่รู้จักกันดีเกี่ยวกับตัวละครตัวนี้คือบทละคร ดงฌุอ็องอูเลอแฟ็สแต็งเดอปีแยร์ (ค.ศ. 1665) ของมอลีแยร์, บทกวีมหากาพย์ ดอนฮวน (ค.ศ. 1821) ของไบรอน, บทกวี เอลเอสตูเดียนเตเดซาลามังกา (ค.ศ. 1840) ของโฆเซ เด เอสปรอนเซดา และบทละคร ดอนฆวน เตโนริโอ (ค.ศ. 1844) ของโฆเซ ซอร์ริยา ซึ่ง ดอนฆวน เตโนริโอ (ที่ยังคงได้รับการจัดแสดงทุกวันที่ 2 พฤศจิกายนในทุกประเทศที่พูดภาษาสเปน), ดอนโจวันนี ซึ่งเป็นอุปรากรที่แต่งโดยว็อล์ฟกัง อมาเดอุส โมทซาร์ท กับหนังสือเล่มเล็กโดยโลเรนโซ ดา ปอนเต เป็นฉบับเนื้อหาที่รู้จักกันเป็นอย่างดี โดยได้มีการเผยแพร่ครั้งแรกที่กรุงปรากในปี ค.ศ. 1787 ผลงานเหล่านี้ได้สร้างแรงบันดาลใจต่องานเขียนของเอ. เท. อา. ฮ็อฟมัน, อเล็กซานเดอร์ พุชกิน, เซอเรน เคียร์เคอกอร์, จอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์ และอาลแบร์ กามูว์ โดยคำว่า "ดอนฆวน" ได้รับการนำมาใช้ในความหมายของ "เจ้าชู้" โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคำสแลงภาษาสเปน และมักจะมีการอ้างอิงถึงอาการใคร่ไม่รู้อิ่ม

การออกเสียง[แก้]

ในภาษาสเปนออกเสียงเป็น [doŋˈxwan] ส่วนในภาษาอังกฤษจะออกเสียงเป็น /ˌdɒnˈwɑːn/ โดยมีสองพยางค์และไม่ออกเสียง "J" อย่างไรก็ตาม ในบทกวีมหากาพย์ของไบรอน คำนี้คล้องจองกับคำว่า ruin และ true one แสดงให้เห็นว่ามันตั้งใจที่จะมีการออกเสียงการสะกดคำเป็น /ˌdɒnˈən/ คำนี้จะมีลักษณะเฉพาะที่มีอยู่ตามวรรณกรรมภาษาอังกฤษ ที่มักจะกำหนดการออกเสียงภาษาอังกฤษในชื่อภาษาสเปน ดังเช่น ดอนกิโฆเต้ จากสัทอักษร /ˌdɒnˈkwɪksət/

ตำนาน[แก้]

แม้ว่าวรรณกรรมต่าง ๆ ของตำนานดอนฆวนได้แสดงความเปลี่ยนแปลงบางอย่าง แต่เค้าโครงพื้นฐานก็ยังคงไว้เหมือนเดิม เริ่มต้นด้วยฉบับของตีร์โซ ดอนฆวนจะมีภาพลักษณ์ที่ร่ำรวย หลงระเริงและปากหวาน ใช้ชีวิตของตนสำหรับผู้หญิงที่ติดใจ มีความภาคภูมิใจในความสามารถที่จะโอ้โลมผู้หญิงทุกวัยและทุกที่ที่ไปเยือน ชีวิตของเขายังถูกคั่นด้วยความรุนแรงและการพนัน รวมถึงในหลายการตีความ (ทั้งของตีร์โซ, เอสปรอนเซดา และซอร์ริยา) เขาได้สังหารดอนกอนซาโล ผู้เป็นพ่อของดอญญาอานาซึ่งเป็นหญิงสาวที่เขาได้ล่อลวง สิ่งนี้นำไปสู่ฉากอาหารเย็นมื้อสุดท้ายที่มีชื่อเสียง โดยดอนฆวนได้เชิญพ่อของเธอไปกินอาหารเย็น ซึ่งตอนจบจะขึ้นอยู่กับหนังสือของแต่ละฉบับ ในบทละครต้นฉบับของตีร์โซนั้นหมายถึงนิยายเปรียบเทียบทางศาสนากับเส้นทางที่บาปหนาของดอนฆวน และจบลงด้วยการตายของเขาเอง โดยได้ปฏิเสธการช่วยชีวิตจากพระเจ้า ส่วนนักประพันธ์และนักเขียนบทละครรายอื่นจะตีความหมายในตอนจบในแบบฉบับของตัวเอง โดยดอนเฟลิกซ์ของเอสปรอนเซดาได้เดินเข้าไปในนรกและอำลาโลกจากความตั้งใจของเขาเอง แต่ทว่าดอนฆวนของซอร์ริยาได้เป็นฝ่ายขอ และได้รับการให้อภัยจากพระเจ้า ทั้งนี้ ภาพลักษณ์ของดอนฆวนยังได้สร้างการตีความในสมัยใหม่ไว้เป็นจำนวนมาก

ผลกระทบทางวัฒนธรรม[แก้]

มีนักประพันธ์อย่างอาลแบร์ กามูว์ ที่ได้เขียนเรื่องราวในลักษณะของดอนฆวน[1] และเจน ออสเตน ยังได้แสดงความประทับใจต่อตัวละครนี้ว่า "ฉันไม่เห็นตัวละครใดบนเวทีที่น่าสนใจมากไปกว่าการรวมกันระหว่างความโหดร้ายและความต้องการทางเพศได้เช่นนี้"[2] สำหรับตอนที่มีชื่อเสียง เซอเรน เคียร์เคอกอร์ ได้กล่าวถึงเรื่องดอนฆวนในฉบับของโมทซาร์ท[3] ส่วนชาลส์ โรเซน ได้เห็นสิ่งที่เขาเรียกว่า "อำนาจทางกายภาพที่มีเสน่ห์" ของเพลงโมทซาร์ทซึ่งเชื่อมโยงกับความมักมาก, ความร้อนแรงทางการเมือง และศิลปะจินตนิยมช่วงแรกเริ่มในศตวรรษที่ 18 [4] นอกจากนี้ ในนวนิยาย คาซาโนวาส์ไชนีสเรสเตอรอนต์ ของแอนโธนี พาวเวล ได้แสดงให้เห็นดอนฆวนในแบบที่แตกต่างของลักษณะ "แค่เพียงชอบอำนาจ" และ "ไม่รู้เรื่องโลกีย์อย่างชัดเจน" กับคาซาโนวา "ผู้ซึ่งมีช่วงเวลาหมกมุ่นในเรื่องโลกีย์อย่างไม่ต้องสงสัย"[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. Albert Camus, The Myth of Sisyphus, "The Absurd Man: Don Juanism"
  2. D. Le Faye ed., Jane Austen's Letters (1996) p. 221
  3. Søren Kierkegaard, Either/Or, "The Immediate Stages of the Erotic, or Musical Erotic."
  4. Charles Rosen, The Classical Style (1977) p. 323-4
  5. Anthony Powell, Casanova's Chinese Restaurant (1980) p. 38

หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]

  • Macchia, Giovanni (1995) [1991]. Vita avventure e morte di Don Giovanni (ภาษาอิตาลี). Milano: Adelphi. ISBN 88-459-0826-7.
  • Said Armesto, Víctor (1968) [1946]. La leyenda de Don Juan (ภาษาสเปน). Madrid: Espasa-Calpe.
  • Guillaume Apollinaire: Don Juan (1914).
  • Michel de Ghelderode: Don Juan (1928).

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]