ดราก้อน เอจ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ดราก้อน เอจ (Dragon Age) เป็นชุดวิดีโอเกมสมมติบทบาท สร้างโดย ไบโอแวร์ เกมแรก คือ ดราก้อน เอจ: ออริจินส์ จัดจำหน่ายในปี 2552 และ ดราก้อน เอจ II เป็นภาคต่อของ ออริจินส์ จัดจำหน่ายในเดือนมีนาคม 2554 ดราก้อน เอจ เป็นเกมแนวแฟนตาซีที่ถูกใช้ในสื่ออื่น ๆ อย่างกว้างขวาง รวมถึงหนังสือและเกมกระดาน เกมหลักสองเกมแรกมีทั้งภาคเสริมและเนื้อหาเสริมที่สามารถดาวน์โหลดได้

เกมและภาคเสริม[แก้]

ปี ชื่อเรื่อง ประเภท
2552 ดราก้อน เอจ: ออริจินส์ เกมหลัก
ดราก้อน เอจ: ออริจินส์ - เดอะ โสตน พริซึ่นเนอร์ เนื้อหาเสริมที่สามารถดาวน์โหลดได้
ดราก้อน เอจ: ออริจินส์ - วอร์เดนส์ คีพ เนื้อหาเสริมที่สามารถดาวน์โหลดได้
2553 ดราก้อน เอจ: ออริจินส์ - รีเทิร์น ทู ออสตาก้า เนื้อหาเสริมที่สามารถดาวน์โหลดได้
ดราก้อน เอจ: ออริจินส์ - อเวคเคนนิ่ง ภาคเสริม
ดราก้อน เอจ: ออริจินส์ - ฟีสเดย์ กิฟต์แอนด์แพรงค์ เนื้อหาเสริมที่สามารถดาวน์โหลดได้
ดราก้อน เอจ: ออริจินส์ - ดาร์กสพอว์น ครอนิเคิล เนื้อหาเสริมที่สามารถดาวน์โหลดได้
ดราก้อน เอจ: ออริจินส์ - เลเลียนาส์ ซอง เนื้อหาเสริมที่สามารถดาวน์โหลดได้
ดราก้อน เอจ: ออริจินส์ - เดอะ โกเล็มส์ ออฟ อัมการาค เนื้อหาเสริมที่สามารถดาวน์โหลดได้
ดราก้อน เอจ: ออริจินส์ - วิทช์ ฮันท์ เนื้อหาเสริมที่สามารถดาวน์โหลดได้
ดราก้อน เอจ: ออริจินส์ - อัลติเมท เอดิชั่น ชุดรวม
2554 ดราก้อน เอจ II เกมหลัก
ดราก้อน เอจ II: ดิ เอ็กไซลด์ พรินซ์ เนื้อหาเสริมที่สามารถดาวน์โหลดได้
ดราก้อน เอจ II: เดอะ แบล็ก เอ็มโพเรียม เนื้อหาเสริมที่สามารถดาวน์โหลดได้
ดราก้อน เอจ II: ลีกาซี่ เนื้อหาเสริมที่สามารถดาวน์โหลดได้
ดราก้อน เอจ II: มาร์ก ออฟ ดิ แอสซาซิน เนื้อหาเสริมที่สามารถดาวน์โหลดได้

สื่อประเภทอื่น ๆ[แก้]

เนื้อหาของดราก้อน เอจ ยังถูกใช้ในสื่ออื่น ๆ อีกมากมาย

นวนิยาย[แก้]

ขณะนี้มี้หนังสือสองเล่มที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับโลกของดราก้อน เอจ เล่มแรกคือดราก้อน เอจ: เดอะ สโตเล่น โทรนจัดจำหน่ายเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2552[1][2] หนังสือเล่มที่สองคือดารก้อน เอจ: เดอะ คอลลิ่งจัดจำหน่ายเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2552[3][4][5] หนังสือเล่มที่สามคือดราก้อน เอจ: อซันเดอร์วางแผนที่จะจัดจำหน่ายในวันที่ 3 ธันวาคม 2554 หนังสือทั้งหมดเขียนโดย เดวิด ไกด์เดอร์ และตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ทอร์

เกมเฟซบุ๊ค[แก้]

ดราก้อน เอจ เลเจนส์ เป็นเกมสมมติบทบาทแนววางแผนยุทธศาสตร์ สร้างโดยอิเล็คโทรนิค อาร์ตส เกมนี้เปิดโอกาสให้ผู้เล่นผจญภัยไปใน ฟรี มาร์ชเชส อันเป็นสถานที่หลักของเกม ดราก้อน เอจ II เกมนี้มีเนื้อหาและการปรับปรุงลักษณะตัวละครคลายคลึงกับเกมหลัก[6]

เกมแฟลช[แก้]

ดราก้อน เอจ เจอร์นี่ส์ เป็นเกมส์สามมติบทโดยใช้แฟลช พัฒนาโดย อีเอ ทูดี ขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนา บทแรกของเกมคือเดอะ ดีพ โรดส์ เปิดให้เล่นได้ฟรี ผู้เล่นสามารถปลดล็อกตราความสำเร็จได้ในเกม ซึ่งจะปลดล็อกไอเทมพิเศษใน ดราก้อน เอจ: ออริจินส์ เนื้อหาบทที่สองและสามจะต้องซื้อเท่านั้น[7]

เกมกระดานเล่นตามบทบาท[แก้]

ดราก้อน เอจ เป็นเกมกระดานเล่นตามบทบาท จัดจำหน่ายเมื่อ 25 มกราคม 2553 โดยกรีน โรนิน.[8]

อนิเมะ[แก้]

ดราก้อน เอจ ภาคอนิเมะ ประกาศขึ้นในวันที่ 7 มิถุนายน 2552 จากการร่วมมือระหว่าง ไบโอแวร์, อิเล็คโทรนิค อาร์ตส และฟันนิเมชั่น เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ตามแผนการจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี 2555[9] ภาพยนตร์เรื่องนี้จะใช้ชื่อว่า 'ดราก้อน เอจ: ดอวน์ ออฟ เดอะ ซีคเกอร์'[10]

หนังสือการ์ตูน[แก้]

ดราก้อน เอจ: ออริจินส์ ฉบับเว็บคอมิคโดย เพ็นนี อาร์เคด ในปี 2552 มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับเทมพล่าร์ที่ถูกส่งออกไปเพื่อจัดการ ฟลีเมธ หรือ แม่มดแห่งอรัญ เนื้อเรื่องเกิดขึ้นก่อน ดราก้อน เอจ: ออริจินส์ โดยมอริแกนยังไม่ได้พบเจอกับวอร์เดน

เว็บคอมิคอีกเรื่องคือ ดราก้อน เอจ: ออริจินส์ - อเวคเค่นนิ่ง จัดจำหน่ายในปี 2552 โดย เพ็นนี อาร์เคด เรื่องสั้นเรื่องนี้เกี่ยวกับ นาตาเนล ฮาว บุกรุกเข้าไปในไวจิล คีพ และถูกจับก่อนที่จะพบกับวอร์เดน

ดราก้อน เอจ: เดอะ รีเวอเลชั่น เขียนโดย เดวิด ไกเดอร์ จัดจำหน่ายในปี 2553 ทางเว็บไซต์ของไบโอแวร์ ซึ่งมีเรื่องอยู่บนฐานของ ดราก้อน เอจ: ออริจินส์ ที่ไม่ได้รวมไว้ในตอนสุดท้าน เนื้อหาเกี่ยวกับการพบกันระหว่างอลิสแตร์กับมอริแกน หลังจากที่เกรย์ วอร์เดน รับรู้จาก ริออร์เดน ว่าผู้ที่สังหาร อาร์ช ดีมอน จะต้องตาย มอริแกนถามอลิสแตร์เกี่ยวกับวิธีช่วย เกรย์ วอร์เดน ให้รอดพ้นจากคำสาป

แอคชั่น ฟิกเกอร์ส์[แก้]

ฟิกเกอร์ตัวละครจัดจำหน่ายโดย ดีซี ไดเรคท์ ประกอบด้วยตัวละครจากเนื้อเรื่อง คือ มอริแกน, ดันแคน, โลเกน และเจนล็อก

ภาพยนตร์ชุดทางอินเทอร์เน็ต[แก้]

นักแสดงหญิง เฟลิเซีย เดย์ ได้ประกาศการเผยแพร์ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2554 ด้วยความร่วมมือจากไบโอแวร์ ชื่อเรื่องคือดราก้อน เอจ: รีเดมพ์ชั่น มีทั้งหมดหกตอน

ภาพยนตร์ชุดนี้วางแผนออกอากาศทางอินเทอร์เน็ต ในช่วงเวลาเดียวกันกับที่ ดราก้อน เอจ II มาร์ก ออฟ ดิ แอสซาซิน วางจำหน่าย[11]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Macmillan: Dragon Age: The Stolen Throne: David Gaider: Books". Us.macmillan.com. สืบค้นเมื่อ 2009-11-08.
  2. "Dragon Age: The Stolen Throne". isbndb.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-26. สืบค้นเมื่อ 25 January 2010.
  3. "BioWare : Dragon Age : *Spoilers* Dragon Age: The Stolen Throne discussion thread". Daforums.bioware.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-14. สืบค้นเมื่อ 2009-11-08.
  4. "The Calling (Dragon Age) (9780765324092) : David Gaider: Books". Amazon.com. สืบค้นเมื่อ 2009-11-08.
  5. "The Calling (Dragon Age)". isbndb.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-26. สืบค้นเมื่อ 25 January 2010.
  6. "Dragon Age Fans Wiki". DragonAgeFans.com. 2011-02-02. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-22. สืบค้นเมื่อ 2011-10-12.
  7. John Davison. "Browser Based Dragon Age Journeys". Gamepro. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-31. สืบค้นเมื่อ 2009-10-23.
  8. "Dragon Age RPG: Dark Fantasy Roleplaying". Greenronin.com. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "Funimation Entertainment Sign Anime Movie Deal For Award Winning Dragon Age Franchise". Anime News Network. 2010-06-07.
  10. Dragon Age: Dawn Of The Seeker teaser trailer
  11. "GT TV Episode - September 16, 2011". Gametrailers.com. สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2554. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)