ฌโรขาทรรศนะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาราชา บาฆต์ สิงห์ แห่งมารวาร เสด็จออกสีหบัญชร ฌโรขา จากบฆัตสิงห์มหัลในนาคาวร์

ฌโรขาทรรศนะ (เปอร์เซีย: جهروکه درشن, เทวนาครี: झरोखा दर्शन, Jharokha Darshan) เป็นการพบปะสาธารณชน (ทรรศนะ) ประจำวันจากบานหน้าต่าง (ฌโรขา) จากป้อมหรือวังของกษัตริย์ในยุคกลางของอินเดีย ฌโรขาทรรศนะมีส่วนสำคัญในการสื่อสารกับสาธารณชนซึ่งหน้า และถูกนำมาใช้โดยจักรพรรดิของจักรวรรดิโมกุล[1] รวมถึงจักรพรรดิหุมายูง[2] และจักรพรรดิอักบัร[2][3][4] แม้ว่าจะขัดกันกับคำสั่งของศาสนาอิสลาม[5]

ทรรศนะ เป็นคำภาษาสันสกฤต แปลว่าการมองเห็น และสามารถหมายถึงการมองเทวรูป[6]) ต่อมาจักรพรรดิของโมกุลได้นำเอามาใช้เพื่อเรียกการปรากฏตัวรายวันเพื่อพบปะกับประชาชน ถือว่าเป็นอิทธิพลจากศาสนาฮินดู[7][8] จักรพรรดิหุมายูงเป็นผู้แรกที่นำมาปฏิบัติ ตามด้วยบุตรของเขาคือจักรพรรดิอักบัรซึ่งทำในช่วงพระอาทิตย์ขึ้น[9][2]

ในจักรวรรดิโมกุล จักรพรรดิที่ปฏิบัติฌโรขาทรรศนะได้แก่ หุมายูง, อักบัร, จะฮังกีร์ และชะห์จาฮัน ก่อนที่จะเลิกปฏิบัติไปโดยจักรพรรดิเอารังเซบในรัชสมัยปีที่ 11 เนื่องจากมองว่าการกระทำเช่นนี้ขัดกันกับคำสอนของศาสนาอิสลามที่ห้ามไม่ให้มีการบูชารูปเคารพ[9] ทั้งในป้อมอัครา และ ป้อมแดง มีฌโรขาที่หันหน้าออกสู่แม่น้ำยมุนาที่จักรพรรดิจะมายืนพบปะสาธารณชนจากตรงนี้[10] เมื่อครั้นเดินทางไปยังนอกราชธานี จักรพรรดิของโมกุลจะออกฌโรขาทรรศนะผ่านทางบ้านไม้พกพาที่เรียกว่า Do-Ashiayana Manzil

ในระหว่างเดลีดูร์บาร์ในเดลีเมื่อ 12 ธันวาคม 1911 กษัตริย์จอร์จที่ห้าและราชินีแมรีเสด็จออกสีหบัญชรที่ฌโรขาในป้อมแดงเพื่อออกฌโรขาทรรศนะต่อหน้าสาธารณชนกว่า 500,000 คน[11]

อ้างอิง[แก้]

  1. Reddi 2001, p. 81.
  2. 2.0 2.1 2.2 Wade 1998, p. 12.
  3. Together with History. p. 97. ISBN 8181370740.
  4. "Frames with a rich history". The Tribune. 21 March 2015.
  5. & Goswami, p. 72.
  6. Hansen 1986, p. 102.
  7. Gopal 1994, p. 35.
  8. Kaur, Manpreet (February 2015). "Romancing The Jharokha: From Being A Source Of Ventilation And Light To The Divine Conception" (PDF). International Journal of Informative & Futuristic Research.
  9. 9.0 9.1 Eraly 2007, p. 44.
  10. Fanshawe 1998, p. 33.
  11. "Delhi, what a capital idea!". Hindustan Times. 19 November 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 October 2013. สืบค้นเมื่อ 8 October 2013.

บรรณานุกรม[แก้]