ข้ามไปเนื้อหา

ฌูล บีย็องกี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฌูล บีย็องกี
ฟอร์มูลาวันชิงแชมป์โลก
สัญชาติฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
ช่วงปี2 ฤดูกาล (ค.ศ. 2007 อันดับ 1, ค.ศ. 2009 อันดับ 1
Teamsมารัสเซีย ค.ศ. 2013-2014
แข่ง34 ครั้ง
แข่งครั้งแรกออสเตรเลียนกรังด์ปรีซ์ ค.ศ. 2013
ชนะครั้งแรกเฟรนช์ฟอร์มิวลาเรโน 2.0 ค.ศ. 2007

ฌูล บีย็องกี (ฝรั่งเศส: Jules Bianchi; 3 สิงหาคม ค.ศ. 1989 – 17 กรกฎาคม ค.ศ. 2015) เป็นนักแข่งรถสูตรหนึ่งชาวฝรั่งเศส ที่ขับรถ Marussia F1 ใน FIA สูตรหนึ่งชิงแชมป์โลก บีย็องกีได้เข้าร่วมการแข่งขันรถสูตรหนึ่งครั้งแรกในรายการออสเตรเลียกรังด์ปรีซ์ในปีค.ศ. 2013 เขาจบฤดูกาลในอันดับที่ 19 ต่อมาเขาทำให้ทุกคนประหลาดใจในการแข่งขันมาเลย์เซียนกรังด์ปรีซ์ ในเดือนตุลาคมปี 2013 เขาได้อันดับที่ 13 ในฤดูกาลแรกของเขา ทีมงานออกมายืนยันว่าเขาจะขับรถให้กับทีมในฤดูกาลถัดไป ในฤดูกาล 2014 ที่โมนาโกกรังด์ปรี [1]

ในวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 2014 ในการแข่งขันศึกฟอร์มิวลาวัน รายการแจพะนีสกรังด์ปรีซ์ ประเทศญี่ปุ่น บีย็องกีได้สูญเสียการควบคุมจากอุบัติเหตุถนนลื่น ในระหว่างการแข่งขันนั้นจนทำให้ศีรษะกระแทกเข้ากับรั้วกันข้างสนาม ทำให้ทีมแพทย์ของสนามซูซูกะเซอร์กิต ต้องเร่งนำตัวส่งเข้าห้องผ่าตัดโดยด่วน และใช้เวลาผ่าตัดอยู่นานถึง 3 ชั่วโมง [2]

เช้าวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 2015 ตามเวลาท้องถิ่น ครอบครัวของบีย็องกีก็ได้รับข่าวร้ายเมื่อฌูล บีย็องกี ได้เสียชีวิตอย่างสงบที่โรงพยาบาลในเมืองนิสด้วยวัยเพียง 25 ปี ครอบครัวของบีย็องกี แถลงว่า "ถือเป็นความเสียใจอย่างยิ่งสำหรับครอบครัวของฌูล บีย็องกี ทั้งฟีลิป, คริสติน, ทอม และเมลานเราอยากบอกให้รู้ว่าสู้ ฌูลได้จากไปแล้วเมื่อคืนที่ศูนย์ดูแลพยาบาลที่ฝรั่งเศส จากอุบัติเหตุที่ซูซูกะเซอร์กิต ที่ญีปุ่น เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 2014 ฌูลได้พยายามต่อจวบจนถึงวินาทีสุดท้าย เขาทำแบบนั้นมาตลอด แต่วันนี้การต่อสู้ของเขาได้สิ้นสุดแล้ว มันเป็นความรู้สึกเจ็บปวดยิ่ง เราขอขอบคุณทีมแพทย์ทุกคนที่ทุ่มเทดูแลเขาอย่างเต็มที่ในหลายเดือนที่ผ่านมา จากนี้ไปพวกเราคงต้องขอให้เป็นเรื่องในครอบครัว และพยายามทำใจกับการสูญเสียครั้งนี้"

ส่วนทีมมารัสเซีย ต้นสังกัดของนักขับบีย็องกี ก็ได้ออกมาแสดงความเสียใจเช่นกัน "เราเสียใจมากกับการสูญเสีย ฌูล หลังจากพยายามต่อสู้มายาวนาน เขาเป็นนักขับที่วิเศษสำหรับเราและขอให้ครอบครัวของเขาผ่านช่วงเวลาอันยากลำบากนี้ไปให้ได้" เขากลายเป็นนักแข่งรถสูตรหนึ่งที่เสียชีวิตในระหว่างการขับรถกรังปรีซ์คนที่ 2 ตั้งแต่การตายของอาอีร์ตง เซนนา ประสบอุบัติเหตุในปี ค.ศ. 1994 ที่ซานมารีโนกรังด์ปรี

ช่วงต้นของชีวิต

[แก้]

บีย็องกีเกิดที่เมืองนิส ประเทศฝรั่งเศส บีย็องกีเป็นหลานชายของมอโร บีย็องกี ผู้เข้าแข่งขันในการแข่งรถ GT 1960 นอกจากนี้เขายังเป็นหลานชายของลูเชียน ผู้ได้รับรางวัลกรังปรีซ์ในสูตรหนึ่งชิงแชมป์โลกระหว่างปี 1959 และปี 1968 [3][4]

ในปี ค.ศ. 2007 บีย็องกีได้เริ่มต้นเป็นสิงห์นักบิดแข่งขันรายการเฟรนช์ฟอร์มิวลาเรโน 2.0 ให้กับทีมเอสจี ฟอร์มิวลา ซึ่งเขาได้ตำแหน่งแชมป์ถึง 5 สมัย เขายังเคยลงแข่งในรายการฟอร์มิวลาเรโนยูโรคัพอีกด้วย พร้อมจบตำแหน่งผู้ชนะอีกครั้ง หลังใช้เวลาจบรอบได้เร็วที่สุดจาก 3 สนาม[5]

ฟอร์มิวลาทรี

[แก้]
บีย็องกีในระหว่างการแข่งขันเอฟ 3 ยูโรซีรีส์ ที่ฮอคเคนไฮม์ริง

ในปลายปี 2007 บีย็องกีได้เซ็นสัญญากับอาร์ตกรังปรีซ์ เพื่อเข้าแข่งขันในรายการฟอร์มิวลาทรียูโรซีรีส์[6] ภายใต้การคุมทีมของนีกอลา ตอด ผู้จัดการของฟีลีปี มาซา

ในปี ค.ศ. 2008 เขาชนะเลิศรายการมาสเตอร์ฟอร์มิวลาทรีที่สนามโซลเดอร์ พร้อมทั้งจบที่ 3 ในรายการฟอร์มิวลาทรียูโรซีรีส์ 2008 ด้วย [7]

บีย็องกียังคงเล่นแข่งขันในรายการเอฟ 3 ยูโรซีรีส์ ในปี ค.ศ. 2009 เขาอยู่ในกลุ่มนำร่วมกับเพื่อนร่วมทีมอย่างวัลต์เตรี บอตตัส, เอสเตบัน กูเตียร์เรซ และอาเดรียง ต็องแบ สุดท้ายเขาคว้ารางวัลชนะเลิศได้อีก [8]

ฟอร์มิวลาเรโน 3.5

[แก้]
บีย็องกีขับรถ Lotus ART ในรอบซิลเวอร์สโตนของฤดูกาล 2011

บีย็องกีลองมาแข่งขันในรายการฟอร์มิวลาเรโน 3.5 ซีรีส์ ในปี ค.ศ. 2012 พร้อมย้ายมาอยู่ทีมเท็กวันเรซซิง[9] พร้อมเพื่อนร่วมทีมอย่างเกวิน กอร์ยุส และดาเนียล อัพท์[10] [11]

ฟอร์มิวลาวัน

[แก้]

แฟร์รารีและสะฮาราฟอร์ซอินเดีย

[แก้]

ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2009 บีย็องกีได้ลองมาเทสต์สนามกับทางแฟร์รารีที่ซีร์กุยโตเดเฆเรซ พร้อมกับนักบิดคนอื่น ๆ อย่างดานีเอล ซัมปีเอรี, มาร์โก ซีโปนี และปาโบล ซานเชซ โลเปซ พวกเขาสามารถติดหนึ่งในอันดับสามได้ในรายการอิแทเลียนฟอร์มิวลาทรีแชมเปียนชิป 2009 [12]

วันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2010 เขาได้รับการยืนยันจากทางแฟร์รารีให้เตรียมเป็นตัวสำรองในฤดูกาล 2011 แทนที่ลูกา บาดอร์, จันลูก้า ฟีซีเกลลา และมาร์ก เฌอเน[13] พร้อมทั้งยืนยันให้บีย็องกีได้ลองสนามที่อาบูดาบีในช่วง 16-17 พฤศจิกายน [14] ต่อมาเขามีโอกาสไปลองสนามที่ฟีโอราโนของศูนย์นักแข่งเยาวชนของแฟร์รารี พร้อมจับคู่กับเซร์ฆิโอ เปเรซ นักบิดเอฟวัน บีย็องกี แข่งในสนาม 70 รอบ พร้อมทำสถิติเวลาเร็วที่สุดที่ 1.00.213 นาที

มารัสเซีย

[แก้]
บีย็องกีขับรถ Marussia MR02 ที่ออสเตรเลียนกรังด์ปรีซ์ ในปี ค.ศ. 2013
บีย็องกีขับรถที่มาเลย์เซียนกรังปรีซ์ ในปี ค.ศ. 2013
บีย็องกีขับรถ Marussia MR03 ที่บาห์เรนกรังปรีซ์ ในปี ค.ศ. 2014

ค.ศ. 2013

[แก้]

วันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 2013 มารัสเซียได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่า บีย็องกีจะเข้ามาแทนที่ลูอิซ ราเซีย ที่หมดสัญญากับทีม ต่อมาบีย็องกีทำอันดับที่ 19 ในรายการออสเตรเลียนกรังด์ปรีซ์ บีย็องกีสามารถจบอันดับ 19 ได้อีกครั้งที่มาเลเซีย ส่วนรายการฮังแกเรียนกรังด์ปรีซ์ เขาเอาชนะเพื่อนร่วมทีมในการผ่านเข้ารอบได้ ที่รายการแจพะนีสกรังด์ปรีซ์ เขาและชาร์ล ปิก ของทีมเคเทอรัมคว้าอันดับ 10 ร่วมกันในสนามนี้[15]

ค.ศ. 2014

[แก้]

เดือนตุลาคม ค.ศ. 2014 มารัสเซียยืนยันว่า บีย็องกีจะอยู่ร่วมกับทีมต่อไปทั้งฤดูกาลนี้ หลังจากฟอร์มไม่ดีที่ออสเตรเลีย แม้ทีมจะคว้าแต้มแรกจากการคว้าที่ 9 ในรายการมอนาโกกรังด์ปรีซ์ ในปี 2014 เขายังคงเป็นนักบิดที่ทำเวลาเร็วเช่นเคย พร้อมได้สิทธ์เป็นมือ 1 ของทีม[16]

5 ตุลาคม ฌูล บีย็องกี วัย 25 ปี ประสบอุบัติเหตุในรายการแจพะนีสกรังด์ปรีซ์ รถเสียหลักพุ่งไปชนกับรถเครนที่เข้ามาเก็บกวาดซากพาหนะของอาเดรียน ซูทิล จากทีมเซาเบอร์ ก่อนเจ้าหน้าที่จะนำร่างอันไร้สติส่งศูนย์การแพทย์กลางจังหวัดมิเอะ เพื่อผ่าตัดสมอง หลังผ่านไป 44 รอบ ทำให้หมดสติทันที และต้องถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลเป็นการด่วน ขณะที่สหพันธ์ยานยนต์นานาชาติ (เอฟไอเอ) เปิดเผยว่า บีย็องกีจะเข้ารับการผ่าตัดทันที ก่อนที่จะถูกส่งตัวเข้ารับการดูแลในแผนกผู้ป่วยหนักต่อไปในรอบสนามที่ 43 ของรายการแจพะนีสกรังด์ปรีซ์[1][17]

บีย็องกีเข้ารับการรักษาตัวอยู่ที่ศูนย์การแพทย์กลางจังหวัดมิเอะที่เมืองยกกาอิชิ โดยแพทย์ระบุว่า อาการยังอยู่ในขั้นวิกฤติ แต่ยังทรงตัว และยังไม่ได้สติในขณะนี้ ซึ่งมีเพื่อนร่วมอาชีพอย่าง มัลโดนาโด นักขับทีมโลตัส, จอห์น บูธ ประธานทีมมารัสเซีย และมัสซิโม ริโวลา ผู้อำนวยการฝ่ายกีฬาของเอ็ฟวันเข้าเยี่ยม ทั้งนี้ หลายฝ่ายเชื่อว่าสาเหตุที่ทำให้บีย็องกีประสบอุบัติเหตุนั้นเป็นเพราะสภาพอากาศที่แปรปรวนและฝนตกหนัก ทำให้ถนนลื่นและเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน[18][19]

ล่าสุด เขาได้ออกมาจากห้องผ่าตัดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยมีรายงานว่า สมองเข้าได้รับกระทบกระเทือนอย่างหนัก และต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ จนอาจจะทำให้กลายเป็นเจ้าชายนิทรา อย่างไรก็ตามทางเอฟไอเอกำลังระดมความช่วยเหลืออย่างเต็มที่

ทีมมารัสเซียได้ออกแถลงการณ์ขอบคุณกำลังใจที่มีเข้ามาอย่างล้นหลามที่มีให้กับบีย็องกีและทีม โดยทางมารัสเซียจะพยายามทำให้ดีที่สุดเพื่อรักษาเขากลับมาเป็นคนเดิม และจะอัปเดตอาการตลอดเวลา

จนกระทั่งเช้าวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 2015 ตามเวลาท้องถิ่น ทางครอบครัวได้ออกมาแถลงว่าบีย็องกีได้จากไปอย่างสงบหลังจากเป็นเจ้าชายนิทรามานาน

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Straw, Edd; Noble, Jonathan (25 May 2014). "Jules Bianchi says Marussia's first F1 points not luck". Autosport. Haymarket Publications. สืบค้นเมื่อ 26 May 2014.
  2. "F1 driver Bianchi dies 9 months after Suzuka crash". Reuters. CNN Phillipines. 18 July 2015. สืบค้นเมื่อ 18 July 2015.[ลิงก์เสีย]
  3. "A word with Jules". Marussia F1. 1 March 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-30. สืบค้นเมื่อ 9 October 2013.
  4. Cooper, Adam. "Marussia F1 team drops driver Luiz Razia, hires Jules Bianchi". Autoweek. สืบค้นเมื่อ 9 October 2013.
  5. Beer, Matt (1 May 2013). "Calado to be managed by Nicolas Todt". Asia Eurosport. สืบค้นเมื่อ 9 October 2013.
  6. "Jules Bianchi". F1 Fanatic. สืบค้นเมื่อ 9 October 2013.
  7. "Jules Bianchi statistics". Driverdb. สืบค้นเมื่อ 2 March 2014.
  8. "Results:Formula 3 euro series season". Speedsport. สืบค้นเมื่อ 9 October 2013.
  9. Elizalde, Pablo (9 February 2012). "Jules Bianchi joins Tech 1 for FR3.5 season". autosport.com. Haymarket Publications. สืบค้นเมื่อ 31 July 2012.
  10. English, Steven (6 January 2009). "ART complete Euro Series line-up". autosport.com. สืบค้นเมื่อ 6 January 2009.
  11. Mills, Peter (14 May 2009). "SG Formula enters World Series". autosport.com. Haymarket Publications. สืบค้นเมื่อ 14 May 2009.
  12. Cheese, Caroline (28 August 2009). "Belgian GP practice as it happened". BBC Sport. BBC. สืบค้นเมื่อ 5 September 2009. Entertaining kerfuffle in the Ferrari garage as Jules Bianchi, who is the latest driver to be linked with Luca Badoer's seat, stands behind Badoer's car like some kind of Grim Reaper.
  13. Noble, Jonathan (20 November 2009). "Ferrari to test Bianchi at Jerez". autosport.com. Haymarket Publications. สืบค้นเมื่อ 20 November 2009.
  14. Beer, Matt (March 6, 2010). "Ferrari expands young driver academy". Autosport. Haymarket Publications. สืบค้นเมื่อ March 7, 2013.
  15. Biggs, XiBit. "Jules Bianchi to race". Marussia F1 Team. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-04. สืบค้นเมื่อ 1 March 2013.
  16. Anderson, Ben (25 May 2014). "Nico Rosberg beats Lewis Hamilton and gets points lead". Autosport. Haymarket Publications. สืบค้นเมื่อ 26 May 2014.
  17. Anderson, Ben (25 May 2014). "Nico Rosberg beats Lewis Hamilton and gets points lead". Autosport. Haymarket Publications. สืบค้นเมื่อ 26 May 2014.
  18. "Jules Bianchi Race Results 2014". Results.co.uk. Results UK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-06. สืบค้นเมื่อ 6 December 2014.
  19. "Max Chilton Race Results 2014". Results.co.uk. Results UK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-06. สืบค้นเมื่อ 6 December 2014.