ข้ามไปเนื้อหา

ซูเปอร์มาริโอ 64

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซูเปอร์มาริโอ 64
ภาพปกเกมของสหรัฐ
ผู้พัฒนาNintendo EAD
ผู้จัดจำหน่ายนินเทนโด
กำกับ
อำนวยการผลิตชิเงรุ มิยาโมโตะ
แต่งเพลงโคจิ คอนโดะ
ชุดซูเปอร์มาริโอบราเธอส์
เครื่องเล่นนินเทนโด 64, iQue Player
วางจำหน่ายนินเทนโด 64[1][2]
  • JP: June 23, 1996
  • NA: September 29, 1996
  • EU: March 1, 1997
iQue Player
  • CHN: November 21, 2003
แนวแพลตฟอร์ม
รูปแบบคนเดียว

ซูเปอร์มาริโอ 64 (ญี่ปุ่น: スーパーマリオ64โรมาจิ: ''Super Mario 64''ทับศัพท์: Sūpā Mario Rokujūyon) เป็นวิดีโอเกมแพลตฟอร์ม จำหน่ายโดยนินเท็นโดและพัฒนาโดยแผนกอีเอดีของนินเท็นโด สำหรับเครื่องเล่นนินเท็นโด 64 โดยออกพร้อมกับเครื่องเล่น[3] เช่นเดียวกับเกมไพลอตวิงส์ 64 เกมออกจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นในวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 1996 และหลังจากนั้นในอเมริกาเหนือ ยุโรป และออสเตรเลีย เกมซูเปอร์มาริโอ 64 ขายได้มากกว่า 11 ล้านหน่วย[4][5] เกมภาคทำใหม่ในชื่อซูเปอร์มาริโอ 64 ดีเอส ออกจำหน่ายสำหรับนินเท็นโด ดีเอส ใน ค.ศ. 2004

ในเกม มาริโอสำรวจปราสาทของเจ้าหญิงพีชและต้องช่วยชีวิตเธอจากบาวเซอร์ เนื่องจากเป็นหนึ่งในเกมแพลตฟอร์มแบบสามมิติยุคแรก ซูเปอร์มาริโอ 64 เป็นเกมโอเพนเวิลด์ ระดับของอิสรภาพบนระนาบสามแกนในปริภูมิ และมีพื้นที่ค่อนข้างใหญ่ประกอบด้วยรูปหลายเหลี่ยมสามมิติ แทนที่จะเป็นสไปรต์ สองมิติ เกมทำให้เกิดต้นแบบของเกมสามมิติ ดังที่เกมซูเปอร์มาริโอบราเธอส์เคยเป็นต้นแบบเกมแพลตฟอร์มแบบจอเลื่อนด้านข้าง ในการวิวัฒนาการจากสองมิติสู่สามมิติ ซูเปอร์มาริโอ 64 เน้นการสำรวจโลกขนาดใหญ่ที่ผู้เล่นจำเป็นต้องทำภารกิจต่าง ๆ ให้สมบูรณ์ และอุปสรรคแนวเส้นตรงในบางโอกาสเช่นเดียวกับเกมแพลตฟอร์มดั้งเดิม แม้เป็นเช่นนั้น เกมยังคงสงวนรูปแบบการเล่นและตัวละครของเกมมาริโอยุคแรกไว้

เกมได้สร้างความประทับใจในเรื่องการออกแบบเกมสามมิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ การใช้ระบบกล้องพลวัตและการใช้การควบคุมแบบอนาล็อก 360 องศา[6][7][8] เกมได้รับคำยกย่องจากนักวิจารณ์และแฟนเกมมากมาย นับเป็นหนึ่งในวิดีโอเกมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและเป็นการปฏิวัติวิดีโอเกมมากที่สุดตลอดกาล[9][10][11][12][13][14]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Super Mario 64". GameSpot. CBS Interactive. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กุมภาพันธ์ 14, 2018. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 13, 2018.
  2. "Super Mario 64". IGN. Ziff Davis. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กุมภาพันธ์ 5, 2018. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 13, 2018.
  3. Berghammer, Billy (September 15, 2006). "Will Wii Be Disappointed Again?". Game Informer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-11-08. สืบค้นเมื่อ October 22, 2006.
  4. Craig Glenday, บ.ก. (March 11, 2008). "Hardware: Best-Sellers by Platform". Guinness World Records Gamer's Edition 2008. Guinness World Records. Guinness. p. 50. ISBN 978-1-904994-21-3.
  5. Sidener, Jonathan (September 25, 2007). "Microsoft pins Xbox 360 hopes on 'Halo 3' sales". The San Diego Union-Tribune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-22. สืบค้นเมื่อ October 29, 2007.
  6. "The Essential 50 Part 36: Super Mario 64". 1UP.com. สืบค้นเมื่อ October 21, 2006.
  7. "15 Most Influential Games of All Time". GameSpot. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-07. สืบค้นเมื่อ July 3, 2006.
  8. "N64 Reader Tributes: Super Mario 64". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-10-19. สืบค้นเมื่อ October 21, 2006.
  9. "IGN's Top 100 Games". IGN. 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-17. สืบค้นเมื่อ February 2, 2008.
  10. "IGN's Top 100 Games". IGN. 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-17. สืบค้นเมื่อ February 11, 2006.
  11. "IGN's Top 100 Games of All Time". IGN. 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-20. สืบค้นเมื่อ February 2, 2008.
  12. "Top 100 Games of All Time". Game Informer: 36. August 2001.
  13. "The 100 Greatest Computer Games of All Time". Yahoo! Games. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-20. สืบค้นเมื่อ February 2, 2008.
  14. "Fall 2005: 10-Year Anniversary Contest — The 10 Best Games Ever". GameFAQs. สืบค้นเมื่อ January 26, 2007.