ซินท์ป็อป
ซินท์ป็อป | |
---|---|
แหล่งกำเนิดทางรูปแบบ | ดิสโก้ อิเล็กทรอนิกส์ นิวเวฟ เคราต์ร็อก โพสต์-พังก์ ป็อป แกลมร็อก |
แหล่งกำเนิดทางวัฒนธรรม | ศ.ค. 1977-80 ในสหราชอาณาจักรและญี่ปุ่น |
เครื่องบรรเลงสามัญ | เครื่องสังเคราะห์เสียง - ดรัมแมชชีน - ซีเควนเซอร์ |
รูปแบบอนุพันธุ์ | อีเลกโทรแคลช, บับเบิลกัมป็อป, แอมเบียนต์ป็อป |
แนวย่อย | |
อีเลกโทรป็อป - อีเลกโทรแคลช | |
แนวประสาน | |
ฟิวเจอร์ป็อป - ซินธ์พังก์ |
ซินท์ป็อป (อังกฤษ: synth-pop; ย่อมาจาก synthesizer pop) หรือบางครั้งเรียกว่า เทคโนป็อป (techno-pop)[1] เป็นแนวเพลงย่อยของนิวเวฟ ที่เน้นเสียงเครื่องสังเคราะห์ เป็นที่รู้จักในยุคระหว่างปลายทศวรรษ 1970 ที่เครื่องสังเคราะห์แต่เดิมใช้ในโพรเกรสซิฟร็อก อิเล็กทรอนิกส์ อาร์ตร็อก ดิสโก้ ช่วงทศวรรษที่ 1960 และ ทศวรรษที่ 1970 และรวมถึงดนตรีแบบวงเคราต์ร็อก เช่น ครัฟท์แวร์ค ซินท์ป็อปเกิดขึ้นในญี่ปุ่นและสหราชอาณาจักรในช่วงยุคโพสต์พังก์ ที่เป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวนิวเวฟในช่วงปลายทศวรรษที่ 1970 ถึงกลางทศวรรษ 1980
วงซินท์ป็อปยุคแรกได้แก่ เยลโลแมจิกออร์เคสตรา (Yellow Magic Orchestra) และวงจากสหราชอาณาจักร เช่น อัลตราวอกซ์ (Ultravox) เดอะฮิวแมนลีก (The Human League) และ เบอร์ลินบลอนส์ (Berlin Blondes) หลังจากแกรี นูแมนประสบความสำเร็จในชาร์ตซิงเกิลแห่งสหราชอาณาจักร ปี ค.ศ. 1979 มีศิลปินจำนวนมากเริ่มประสบความสำเร็จกับเสียงสังเคราะห์ในช่วงต้นทศวรรษ 1980 เช่นวงเจแปน (Japan) ออร์เคสตรลแมนูเวอส์อินเดอะดาร์ก (Orchestral Manoeuvres in the Dark) ในทศวรรษที่ 1970 และศิลปินหน้าใหม่เช่น ดีเพชโมด (Depeche Mode) และ ยูรีธมิกส์ (Eurythmics) ในญี่ปุ่น เยลโลแมจิกออร์เคสตรา ประสบความสำเร็จในการเปิดทางวงซินท์ป็อปใหม่เช่น พีโมเดล (P-Model) พลาสติกส์ (Plastics) และ ฮิกะชู (Hikashu) มีการพัฒนาต่อเนื่องด้วยการใช้ โพลีโพนิกซินธิไซเซอร์ราคาถูก การใช้มิดิ (MIDI) ในจังหวะแดนซ์ที่นำซินท์ป็อปไปสู่ตลาดเพลงมากขึ้นด้วยเสียงที่สามารถเข้าถึงได้ การเคลื่อนไหวเกี่ยวข้องกับซินท์ป็อป เช่น นิวโรแมนติก (New Romantic) ที่ได้เติบโตมาจาก MTV และนำวงซินท์ป็อปจากเกาะอังกฤษไปสู่ความสำเร็จในอเมริกา (รวมทั้งวง ดูแรนดูแรน และ สปานเดาบัลเลต์)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ T. Cateforis (2011), Are We Not New Wave?: Modern Pop at the Turn of the 1980s, Ann Arbor MI: University of Michigan Press, p. 51, ISBN 0472034707.