ซันนักจี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ซันนักจิ)
ซันนักจี
ประเภทฮเว
แหล่งกำเนิดประเทศเกาหลี
ชาติที่มีอาหารประจำชาติที่เกี่ยวข้องอาหารเกาหลี
ส่วนผสมหลักหนวดปลาหมึก
Korean name
ฮันกึล
산낙지
อาร์อาร์san-nakji
เอ็มอาร์san-nakchi
IPA/san.nak̚.t͈ɕi/

ซันนักจี (산낙지) เป็นอาหารกินดิบ ซึ่งทำมาจากหนวดปลาหมึก[1] วิธีทำคือฆ่าหมึกและสับหนวดของมันเป็นท่อน ๆ ชิ้นเล็กแล้วนำไปเสิร์ฟโดนขณะไปเสิร์ฟนั้นหนวดของหมึกจะยังคงขยับไปมาอยู่เนื่องจากเส้นประสาทในหนวดของหมึกยังทำงานอยู่[2][3][4] รวมทั้งระบบประสาทของหมึกนั้นมีความซับซ้อนสูงมาก ประกอบกับเซลล์ประสาทจำนวนมากในหนวดทำให้หนวดของหมึกมีการเคลื่อนไหวตามรีเฟล็กซ์ถึงแม้ว่าหนวดเหล่านั้นไม่ได้รับคำสั่งจากสมองแล้วก็ตาม[5][6]

ซันนักจีจะเสิร์ฟพร้อมกับน้ำมันงาและงาคั่ว[7]

การรับประทาน[แก้]

เนื่องจากปุ่มดูดบนหนวดของหมึกนั้นยังคงทำงานอยู่ทำให้เวลารับประทานนั้นต้องมีการระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากปุ่มดูดพวกนี้อาจทำให้หนวดติดที่ปากและลำคอได้[8]

ความแตกต่างของภาษา[แก้]

คำศัพท์ในเกาหลีเหนือและใต้นั้นมีความแตกต่างกัน ซึ่ง นักจี ในเกาหลีใต้แปลว่าชนิดของปลาหมึกขนาดเล็ก (มักแปลผิดเป็น "ลูกหมึกยักษ์") ส่วน นักจี ในเกาหลีเหนือมีความหมายว่า หมึกกล้วย (nakjiในการแปลงเป็นตัวโรมันตามระบบแมกคูน-ไรซ์ชาวเออร์จะได้เป็น nakchi)

ความแพร่หลาย[แก้]

ซันนักจีมีทั่วไปตามร้านอาหารเกาหลีที่เสิร์ฟเนื้อปลาดิบ แต่อาจพบในบาร์หรือร้านข้างทางต่าง ๆ ซึ่งมักเสิร์ฟเป็นของว่างรับประทานกับโซจู

อันตราย[แก้]

มีหลายอุบัติเหตุที่เกี่ยวกับ ซันนักจี ซึ่งส่วนมากจะเกี่ยวกับการสำลัก เช่นในปี พ.ศ. 2551 ที่ควังจู[9]

อ้างอิง[แก้]

  1. "san-nakji" 산낙지. Standard Korean Language Dictionary (ภาษาเกาหลี). National Institute of Korean Language. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-03. สืบค้นเมื่อ 22 February 2017.
  2. Rosen, Daniel Edward (4 May 2010). "Korean restaurant's live Octopus dish has animal rights activists squirming". New York Daily News. สืบค้นเมื่อ 3 June 2017.
  3. Han, Jane (14 May 2010). "Clash of culture? Sannakji angers US animal activists". The Korea Times. สืบค้นเมื่อ 4 June 2017.
  4. Compton, Natalie B. (17 June 2016). "Eating a Live Octopus Wasn't Nearly as Difficult As It Sounds". Munchies. VICE. สืบค้นเมื่อ 4 June 2017.
  5. Hochner, B. (2012). "An Embodied View of Octopus Neurobiology". Current Biology. 22 (20): R887–R892. doi:10.1016/j.cub.2012.09.001. PMID 23098601.
  6. Yekutieli, Y.; Sagiv-Zohar, R.; Aharonov, R.; Engel, Y.; Hochner, B.; Flash, T. (2005). "Dynamic model of the octopus arm. I. Biomechanics of the octopus reaching movement". J. Neurophysiol. 94 (2): 1443–58. doi:10.1152/jn.00684.2004. PMID 15829594.
  7. Warwick, Joe (30 January 2015). "The truth about Noma's live prawn dish". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 3 June 2017.
  8. "Eight controversial foods from around the world". The Times of India.
  9. Yonhap News 2008-01-21 광주서 산낙지 먹다 기도막힌 사고 잇따라

ดูเพิ่ม[แก้]