พระเจ้าชาริแบร์ที่ 1
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
ชาริแบต์ที่ 1 (อังกฤษ: Charibert I) เป็นกษัตริย์เมโรวินเจียนแห่งปารีส พระโอรสคนที่สองของโคลธาร์ที่ 1 กับพระมเหสีคนแรก อินกุนด์ พระเชษฐาของพระองค์ กุนธาร์ สิ้นพระชนม์ก่อนพระบิดา พระองค์ได้รับส่วนแบ่งในการแบ่งราชอาณาจักรของชาวแฟรงก์ที่เกิดขึ้นหลังการสิ้นพระชนม์ของพระบิดาในปี ค.ศ. 561 ทรงได้รับราชอาณาจักรเดิมของชิลเดอแบต์ที่ 1 ที่มีเมือหลวงอยู่ที่ปารีส
ชีวินส่วนตัว
[แก้]ชาริแบต์แต่งงานกับอินโกเบอร์กาและมีพระโอรสธิดาด้วยกันสี่คน คือ
- บลิไธด์แห่งโคโลญ
- โคลโดแบร์ทุส
- แบร์ธา แต่งงานกับพระเจ้าเอเธลเบิร์ตแห่งเคนต์
ชาริแบต์มีอนุภรรยาหลายคน พระองค์มีบุตรสาวสองคนกับเมโรเฟลดา บุตรสาวของช่างทอขนสัตว์ และพี่น้องหญิงของเธอ มาร์โคเวฟา คือ แบร์เทเฟลด (แม่ชีในทัวส์) กับโคลไธด์ (แม่ชีในแซ็งต์ครัวส์, ปัวติเยส์) ชาริแบต์มีบุตรชายหนึ่งคนที่ตายในวัยทารกกับเธอโอโดกิลดา (หรือธูเดอชิลด์) บุตรสาวของคนเลี้ยงวัว
ชาริแบต์จับพระธิดา แบร์ธา แต่งงานกับพระเจ้าเอเธลเบิร์ต กษัตริย์เพแกนแห่งเคนต์ แบร์ธาพาบิชอปลิวดาด์ติดตัวไปเป็นผู้สารภาพบาปประจำตัว อิทธิพลของแบร์ธาในราชสำนักเคนต์เป็นตัวแปรที่นำไปสู่ความสำเร็จในการปฏิบัติภารกิจของนักบุญออกัสตินแห่งแคนเทอร์บรีในปี ค.ศ. 597 ซึ่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนศาสนามานับถือศาสนาคริสต์ของผู้ปกครองแองโกลแซ็กซันคนแรก
การสู้รบทางทหารและการขึ้นครองบัลลังก์
[แก้]ในปี ค.ศ. 556 โคลธาร์ส่งพระโอรสชาริแบต์กับกุนแธรม (พระโอรสคนสุดท้อง) ไปต่อสู้กับพระมารดาเลี้ยง ชุนนา และพระอนุชาเลี้ยง ชราม ที่กำลังก่อการปฏิวัติ ระหว่างดำเนินการเจรจา ชรามซ่อนตัวอยู่ในเทือกเขาดำในลิมูแซ็ง เมื่อการเจรจาล้มเหลว สองกองทัพเตรียมที่จะทำสงครามกัน ทว่าพายุฝนฟ้าคะนองยับยั้งการสู้รบไว้ และชรามส่งจดหมายปลอมไปหาพระเชษฐาทั้งสอง ซึ่งเขาได้แจ้งข่าวลวงว่าพระบิดา (โคลธาร์) สิ้นพระชนม์แล้ว ชาริแบต์กับกุนแธรมรีบกลับไปเบอร์กันดีทันทีเพื่อรักษาตำแหน่งของตนเอง
หลังโคลธาร์สิ้นพระชนม์จริงๆ ในปี ค.ศ. 561 ราชอาณาจักรแฟรงก์ถูกแบ่งให้กับพระโอรสตามสัณฐานแบบใหม่ พระโอรสแต่ละคนปกครองอาณาจักรต่างๆ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องมีความเชื่อมต่อกันทางภูมิศาสตร์ แต่อาจเป็นสองแคว้นที่ไม่ได้อยู่ติดกัน ราชอาณาจักรของแต่ละคนถูกตั้งชื่อตามเมืองที่พวกเขาใช้เป็นศูนย์กลางการปกครอง ชาริแบต์ได้รับนุสเตรีย (แคว้นระหว่างแม่น้ำซอมม์กับแม่น้ำลัวร์) อากีแตนกับโนเวมโปปุลานาที่มีปารีสเป็นเมืองหลวง เมืองสำคัญอื่นๆ ของพระองค์ ได้แก่ รูอ็อง, ทัวส์, ปัวติเยส์, ลิโมฌ, บอร์โดซ์, ตูลูส, กาฮอส์ และอัลบิ กุนแธรมได้เบอร์กันดี ซิเกอแบต์ได้ออสตราเชีย (ที่มีแร็งส์อยู่ด้วย) โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่เม็ตซ์ ส่วนพระอนุชาคนสุดท้อง ชิลเปริคได้อาณาจักรขนาดเล็กที่มีซวยส์ซงส์เป็นเมืองหลวง[1]
การสิ้นพระชนม์และมรดก
[แก้]แม้ชาริแบต์จะเชี่ยชาญและมีความรู้ด้านกฎหมาย แต่เกรกอรีแห่งทัวส์พบว่าพระองค์คือหนึ่งในกษัตริย์ที่เสเพลที่สุดในยุคเมโรวินเจียนช่วงต้น พระองค์มีพระมเหสีพร้อมกันสี่คน สองในสี่เป็นพี่น้องกัน[2] อันเป็นผลทำให้พระองค์ถูกเจอร์มานุสตัดขาดออกจากศาสนา[3] ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการตัดขาดกษัตริย์เมโรวันเจียนออกจากศาสนา[1] ผลคือพระองค์ถูกฝังอย่างไร้ความสง่างามที่บลาเวียคาสเตลลุม ฐานที่มั่นในตรักตาคุสอาร์โมริกานิ เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ พี่น้องชายของพระองค์แบ่งราชอาณาจักรกัน ตอนแรกตกลงกันว่าจะครองปารีสร่วมกัน พระราชินีของพระองค์ที่ยังมีชีวิตอยู่ (นอกเหนือจากสี่คนดังกล่าว) ธูเดอชิลด์ ขอแต่งงานกับกุนแธรม แต่สภาที่ประชุมกันที่ปารีสในปี ค.ศ. 557 จะตีตราการแต่งงานว่าไม่เป็นไปตมามกฎหมายเนื่องจจากเป็นการร่วมประเวณีของญาติที่มีสายเลือดใกล้ชิดกัน กุนแธรมจึงตัดสินใจหาบ้านที่ปลอดภัยกว่าเดิมให้เธอ อย่างไม่เต็มใจ ในสำนัที่อาร์ลส์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1939-, Bachrach, Bernard S., (1972). Merovingian military organization, 481-751. University of Minnesota Press. ISBN 0816606218.
- ↑ A bishops' council held in Pars under Charibert in 561 or 562 narrowly defined the consanguinities ruled to be incest. (Alexander C. Murray, ed. A Companion to Gregory of Tours p. 454).
- ↑ Gregory, Hist. iv.26.
แหล่งข้อมูล
[แก้]- Bachrach, Bernard S. Merovingian Military Organization, 481–751. Minneapolis: University of Minnesota Press, 1971.
- Historia Francorum Books I-IX at Medieval Sourcebook.