ฉมบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ผีฉมบ คือ ผีของผู้หญิงที่ตายในป่า อ่านว่า (ฉะ-มบ) ในบางพื้นที่เรียกว่า ผีชมบ หรือ ผีทมบ ยกตัวอย่างเช่น ที่โคราชเรียกว่าผีชมก (ชะ-มก) มักปรากฏตัวเป็นแสงหรือเงาวูบวาบให้เห็น แต่ไม่ปรากฏเป็นตัวตน และไม่ทำอันตรายต่อผู้คน แต่สามารถหลอกล่อให้ผู้ดวงตก หรือถึงคราวเคราะห์มาเป็นตัวตายตัวแทนได้

“ฉมบ “ เป็นหนึ่งในผีที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน โดยมีชื่อปรากฏบันทึกเอาไว้ในกฎหมายตราสามดวง คู่กับผีที่คนไทยรู้จักกันดีอย่าง “กระสือ” และ “จะกละ” ซึ่งจะกละเองก็ได้เลือนหายไปจากการรู้จักของสังคมไทยเช่นกัน เหลือไว้เพียงแค่ผีกระสือเท่านั้นที่ยังได้รับการรู้จักกันอยู่ ด้วยเอกลักษณ์หัวกับไส้ ที่มีแสงวูบวาบชวนสยองจนได้รับการขนานนามขึ้นแท่นกลายเป็นผีประจำอาเซียน เพราะในมหาราชวงษ์พงษาวดารพม่าเอง ก็ได้มีการกล่าวถึงพระมเหสีชาวเงี้ยวของพระเจ้าอนรธามังช่อ ที่มีกระธาตุเสด็จมาอยู่ที่ต่างหูจนเกิดเป็นแสงสว่างไหว จนคนเชื่อว่าพระนางเป็นกระสือจนทำให้ถูกเนรเท

มีความหมายในภาษาเขมรว่า “หมอตำแย” ตามความเชื่อของชาวเขมรคือ “ผีปอบ” ที่มีความหมายว่า “กินไม่เลือก” แต่หากยึดตามพจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน “ผีฉมบ” วิญญาณของผู้หญิงที่ตายในป่าและมักสิงสู่อยู่ในบริเวณที่เสียชีวิต มักปรากฏตัวเป็นแสงหรือเงาวูบวาบให้เห็น แต่จะไม่ถึงขนาดปรากฏตัวให้เห็นเป็นรูปร่างตัวตน ซึ่งผีฉมบค่อนข้างรักสงบและไม่ทำอันตรายต่อผู้คน โดยทั่วไปผีฉมบจะออกมาให้เห็นเป็นหญิงสาวที่เดินคนเดียวอยู่ในป่า สถานที่รกร้าง หรือเส้นทางเปลี่ยวในตอนกลางดึก และถ้าบังเอิญเผชิญหน้ากันแบบเต็มตาผีฉมบมักจะยืนจ้องคนที่ได้เห็นแบบไม่ยอมหายไป

“ทมบ”[1] เป็นภาษาเขมร ที่แปลเป็นไทยว่า “ผีปอบ” ผีปอบจะอุดมสมบรูณ์มากเมื่ออยู่ทางภาคเหนือและภาคอีสาน ปอบโดยทั่วไปมีอยู่ ๒ พันธ์ ตามภาคเหนือหรือล้านนา ผีปอบจะอำมหฤตกว่าผีปอบเขมร ความเชื่อเรื่อง ทมบ จแกคเมา อาบ เป็นความเชื่อทั้ง ๓ ที่เป็นต้นกำเนิดผีปอบเป็นความเชื่อของชุมชนเขมรส่วย อันมีมาช้านานเป็นที่กล่าวขาลมาหลายชั่วอายุคน และในตำรายา ตำราเวทมนต์คาถาอาคมก็มีการบันทึกวิธีการปราบผีร้ายเหล้านี้ไว้เป็นอันมาก ดังจะกล่าวต่อไปนี้