ฉบับร่าง:วัดสว่างอารมณ์ (จังหวัดนครนายก)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดสว่างอารมณ์
วัดสว่างอารมณ์ (องครักษ์)
ชื่อสามัญวัดสว่างอารมณ์
ที่ตั้งวัดสว่างอารมณ์ เลขที่ 103 หมู่ 5 ต.องครักษ์ อ.องครักษ์ จ.นครนายก
เจ้าอาวาสพระครูประโชติธรรมานันท์ (โชติ โชติธมฺโม)
หมายเหตุต.ศีรษะกระบือ คือ ตำบลทางคณะสงฆ์ฯ ต.องครักษ์ คือ ตำบลที่ตั้งวัด (ตามสำเนาทะเบียนวัด)
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดสว่างอารมณ์ เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่ง ในจังหวัดนครนายก เดิมมีชื่อว่า วัดศิศะกระบือแขวงเมืองนครนายก สันนิฐานว่าวัดตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2378 จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้าน และอดีตเจ้าอาวาสวัด เล่าต่อกันมาว่าแต่เดิมพื้นที่บริเวณนี้เป็นพื้นที่ป่าเป็นที่อยู่อาศัยของควายป่า ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่เรียกกันว่า ควายแห หลังสงครามเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2 ได้มีชาวบ้านอพยพมาจากผลักไห่ ลาดสะโด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายมอญ และชาวไทยเชื้อสายจีนมาตั้งรกรากอยู่บริเวณนี้และได้ตั้งวัดขึ้นมาสังเกตได้จากเสาหงส์ที่พบในวัดสว่างอารมณ์ เพราะในความเชื่อของชาวมอญ หงส์นั้นเกี่ยวข้องกับตำนานการเกิดเมืองหงสาวดี อันเป็นเมืองหลวงที่เจริญรุ่งเรืองยิ่งของอาณาจักรมอญ นอกจากนี้หงส์ในทางพระพุทธศาสนายังเป็นสัญลักษณ์แห่งความบริสุทธิ์และภูมิธรรมอันสูง ด้วยชาวพุทธเชื่อว่าหงส์เป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์

สภาพพื้นที่เดิมของวัดครั้งก่อนนั้นพื้นที่รอบ ๆ และทั่วไปเป็นท้องทุ่งนา มีป่าต้นอ้อ ต้นโสน ต้นแขมขึ้นเต็มทั่วพื้นที่ ซึ่งในฤดูน้ำจะถูกน้ำท่วม การเดินทางจะต้องใช้เรือเป็นพาหนะ จนถึงฤดูแล้งน้ำก็จะแห้งหมดตลอดแนวลำคลองที่ผ่านหน้าวัดและคลองใกล้เคียงต้องใช้เท้าเดิน ชาวบ้านบริเวณนี้และใกล้เคียงส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตรกรรม คือทำนาหว่านปีละ 1 ครั้ง และจะใช้กำลังของกระบือ (ควาย) ไถที่ทำนาปลูกข้าว - ลากฟ่อนข้าว - ย่ำซังข้าว เพื่อให้ได้เมล็ดข้าว เพราะยังไม่มีเครื่องจักรกลทุ่นแรงเหมือนสมัยนี้ ชาวบ้านจึงต้องหากระบือ (ควาย) เลี้ยงไว้เพื่อใช้แรงงานทุกครั้งที่มีการทำนา เมื่อกระบือตายลงชาวบ้านสงสารและคิดถึงบุญคุณกระบือ (ควาย) ของตน จึงนำกระดูกส่วนหัวและเขาที่งามนั้นไปเก็บไว้ที่วัด และเป็นที่มาของชื่อเรียก วัดศิศะกระบือ สมัยนั้นก็เป็นได้ ปัจจุบันนี้ ผู้เฒ่าผู้แก่ก็ยังติดปากเรียกขานกันว่า วัดหัวควาย ต่อมาชาวบ้านเรียกกันว่า วัดสว่างอารมณ์

ทำเนียบเจ้าอาวาส[แก้]

1. เจ้าอธิการมี จีนหุ่น เจ้าอาวาส (เจ้าคณะแขวง) พ.ศ. 2378 - 2430

2. พระครูนุ่ม จันทร์เรือง เจ้าอาวาส (เจ้าคณะแขวง) พ.ศ. 2431 - 2455

3. พระใบฎีกาเพิ่ม พุ่มพวง เจ้าอาวาส พ.ศ. 2456 - 2465

4. พระอาจารย์เฮง รัศมี ผู้ดูแล พ.ศ. 2466 - 2472

5. พระดี จันทร์เรือง ผู้ดูแล พ.ศ. 2472 - 2474

6. พระอาจารย์แช่ม เพาะบุญ ผู้ดูแล พ.ศ. 2473 - 2474

7. พระธรรมธรสวิง ทองใบ เจ้าอาวาส พ.ศ. 2475 - 2476

8. พระครูอนุกูลคณารักษ์ (เงิน เรวโต) ศิริสุขโข เจ้าอาวาส (พระอุปัชฌายะ) (เจ้าคณะอำเภอองครักษ์) พ.ศ. 2477 - 2516

9. พระครูประภาตธรรมาภรณ์ (แกร รตนนาโถ) เพาะบุญ เจ้าอาวาส

(พระอุปัชฌายะ) ( เจ้าคณะตำบลศีรษะกระบือ) พ.ศ. 2517 - 2542

10. พระปลัดสง่า สุวณุโณ (สง่า สุวณฺโณ) ม่วงศรี เจ้าอาวาส พ.ศ. 2543 - 2549

11. พระครูประโชติธรรมานันท์ (โชติ โชติธมฺโม) เพาะบุญ เจ้าอาวาส จต.ศีรษะกระบือ พ.ศ. 2550 - (รูปปัจจุบัน)

แผนผังวัดสว่างอารมณ์[แก้]

แผนผังวัดสว่างอารมณ์

ประวัติเรือคันวิน ( เรือหลวงพ่อเงิน)[แก้]

เรือคันวิน (เรือหลวงพ่อเงิน) เป็นเรือไม้ตะเคียนโบราณ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2478 - พ.ศ. 2566 ปัจจุบันอายุ 88 ปี ติดเครื่องยนต์ขนาดแปดสูบ ใช้น้ำมันก๊าดเป็นเชื้อเพลิง มีประวัติพอสังเขป ดังนี้

ปี พ.ศ. 2478 พระครูอนุกูลคณารักษ์ (เงิน เรวโต) นามสกุล ศิริสุขโข อดีตเจ้าคณะอำเกอองครักษ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดสว่างอารมณ์ ได้ไปกิจนิมนต์ที่โรงสีข้าวเจ๊กเล็งสู่ ตลาดเสาวภาผ่องศรี อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก เจ็กเล็งสู่เจ้าของโรงสีข้าวที่ตลาดเสาวภาผ่องศรีรักและเคารพนับถือหลวงพ่อเงินมาก มีจิตศรัทธาถวายเรือคันวินนี้ให้หลวงพ่อเงินใช้เป็นยานพาหนะในการเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจของสงฆ์ในเรื่องต่าง ๆ โดยหลวงพ่อได้ใช้เรือลำนี้เดินทางไปในสถานที่ต่าง ๆ เช่น ไปตรวจเยี่ยมวัดในเขตปกครองบ้างไปบรรพชาอุปสมบทให้แก่กุลบุตรตามวัดต่างๆ บ้าง และไปสงเคราะห์ญาติโยมในงานกิจนิมนต์ต่าง ๆ เป็นต้นตลอดเดินทางไปต่างจังหวัดจนทั่วทิศานุทิศ

สมัยนั้นการเดินทางยังต้องใช้เรือเป็นยานพาหนะเป็นหลัก สถานที่ที่เดินทางไปเป็นประจำบ่อยครั้ง ได้แก่ วัดอุดมธานี โดยมีพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระธรรมวรนายกเป็นเจ้าอาวาส ในสมัยที่ท่านยังดำรงตำแหน่งเจ้าคณะภาค 12 และเจ้าคณะจังหวัดนครนายก ซึ่งการเดินทางไปนั้นส่วนมากเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับงานคณะสงฆ์ และอีกสถานที่ที่เดินทางไปเป็นประจำ คือ วัดหนองโพธิ์ ของหลวงพ่อพระครูนนท์ธรรมคุณ (หลวงพ่อนนท์) รีเมือง ของหลวงพ่อพระครูอรรถวา (หลวงพ่ออ๋อ) ที่วัดเจดีย์ทอง และที่วัดหนองทองทราย ซึ่งล้วนเป็นวัดที่ตั้งอยู่ในจังหวัดนครนายกทั้งสิ้น ส่วนสถานที่ที่เดินทางออกไปต่างจังหวัดเป็นประจำ คือ ที่วัดประยุรวงศาวาส จังหวัดธนบุรี ของพระเดชพระคุณพระราชกวี เจ้าคณะมณฑลปราจีนบุรีในสมัยนั้น

เรือคันวิน(เรือหลวงพ่อเงิน)