ฉบับร่าง:พ.ศ. 2499 เหตุการณ์ชนกันกลางอากาศเหนือแกรนด์แคนยอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พ.ศ. 2499 เหตุการณ์ชนกันกลางอากาศเหนือแกรนด์แคนยอน
ยูไนเต็ดแอร์ไลน์เที่ยวบินที่ 718 · TWA เที่ยวบินที่ 2
ภาพจำลองเหตุการณ์
สรุปอุบัติเหตุ
วันที่30 มิถุนายน พ.ศ.2499
สรุปการบินชนกันกลางอากาศเนื่องจากระบบการควบคุมการจราจรทางอากาศไม่มีประสิทธิภาพที่มากเพียงพอ
จุดเกิดเหตุแกรนด์แคนยอน, รัฐแอริโซนา, สหรัฐอเมริกา
เสียชีวิต128
รอดชีวิต0
อากาศยานลำแรก

เครื่องบิน DC-7 ของยูไนเต็ดแอร์ไลน์ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเครื่องบินที่เกิดอุบัติเหตุ
ประเภทDouglas DC-7 Mainliner
ชื่ออากาศยานMainliner Vancouver
ดําเนินการโดยยูไนเต็ดแอร์ไลน์
ทะเบียนN6324C
ต้นทางท่าอากาศยานนานาชาติลอสแอนเจลิส
ปลายทางท่าอากาศยานนานาชาติชิคาโกมิดเวย์
ผู้โดยสาร53
ลูกเรือ5
เสียชีวิต58
รอดชีวิต0
อากาศยานลำที่สอง

The Lockheed L-1049A Super Constellation involved
ประเภทLockheed L-1049A Super Constellation
ชื่อStar of the Seine
ดำเนินการโดยTrans World Airlines
ทะเบียนN6902C
ต้นทางท่าอากาศยานนานาชาติลอสแอนเจลิส
ปลายทางKansas City Downtown Airport
ผู้โดยสาร64
ลูกเรือ6
เสียชีวิต70
รอดชีวิต0

เหตุการณ์ชนกันกลางอากาศเหนือแกรนด์แคนยอนเกิดขึ้นทางตะวันตก ของสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2499 เมื่อเครื่องดักลาส DC-7 ของยูไนเต็ดแอร์ไลน์พุ่งชนกับเครื่องบินล็อกฮีท แอล-1049 ซูเปอร์คอนสเตลเลชันของสายการบินทรานส์เวิลด์บริเวณเหนืออุทยานแห่งชาติแกรนด์แคนยอน รัฐแอริโซนา เครื่องบินของ TWA ตกลงไปในหุบเขาลึกและเครื่องบินของยูไนเต็ดแอร์ไลน์บินพุ่งชนเข้ากับหน้าผาหิน เครื่องบินทั้ง 2 ลำมีผู้โดยสารเสียชีวิตรวมกันทั้งหมด 128 ลำ ถือเป็นเหตุการณ์สายการบินพาณิชย์รายแรกที่มีผู้เสียชีวิตเกินกว่าหนึ่งร้อยราย เครื่องบินทั้งสองลำบินออกจาก สนามบินนานาชาติลอสแอนเจลีส โดยห่างจากกันเพียงไม่กี่นาทีและมุ่งหน้าไปยัง ชิคาโก และ แคนซัสซิตี้ ตามลำดับ การชนกันเกิดขึ้นในน่านฟ้าที่ไม่มีการควบคุมซึ่งเป็นความรับผิดชอบของนักบินในการรักษาระยะห่าง ("มองเห็นและถูกมองเห็น") สิ่งนี้เน้นให้เห็นถึงสถานะการควบคุมการจราจรทางอากาศที่ล้าสมัยซึ่งกลายเป็นจุดสนใจของการปฏิรูปการบินของสหรัฐอเมริการครั้งใหญ่และเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดตั้ง FAA หรือองค์การบริหารการบินแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาขึ้นมาหลังจากเหตุการณ์นี้