จ็อก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮาโรลด์ ลอยด์ซึ่งอยู่ด้านล่างของกองนักกีฬาในภาพยนตร์ตลกปีค.ศ. 1925 เรื่องThe Freshman ซึ่งเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยที่พยายามจะมีชื่อเสียงจากการเข้าร่วมทีมอเมริกันฟุตบอล

ในสหรัฐ และแคนาดา จ็อก (อังกฤษ: Jock) คือการเหมารวมของนักกีฬา หรือบุคคลที่มีความสนใจทางด้านกีฬา หรือวัฒนธรรมกีฬา และไม่ได้สนใจเกี่ยวกับกิจกรรมทางด้านวิชาการ[1][2] โดยส่วนหนึ่งคำว่าจ็อก อาจจะสามารถเป็นคำนิยามของนักกีฬา[3] ซึ่งจ็อกมักจะเป็นภาพแทนของผู้ชายที่เป็นผู้เล่นในกีฬาประเภททีม อาทิ อเมริกันฟุตบอล, ฟุตบอล, บาสเกตบอล, เบสบอล, ลาครอส, ว่ายน้ำ หรือฮอกกี้น้ำแข็ง

คำนิยามที่คล้ายกันที่มีความหมายเดียวกับคำว่าจ็อก ที่ใช้ในทวีปอเมริกาเหนือมีทั้ง มีตเฮด (อังกฤษ: Meathead), มัสเซิลเบรน (อังกฤษ: Musclebrain) และมัสเซิลเฮด (อังกฤษ: Musclehead)[4] คำเหล่านี้คือการเหมารวมว่าจ็อกคือบุคคลที่มีรูปร่างกำยำแต่ไม่ฉลาด และไม่สามารถเข้าร่วมวงสนทนาในประเด็นอื่นได้นอกจากหัวข้อที่เกี่ยวกับกีฬา และการออกกำลังกาย

ต้นกำเนิด[แก้]

นิยามคำว่า "จ็อก" ที่หมายถึงนักกีฬาผู้ชายได้ถูกปรากฏออกมาตั้งแต่ในช่วงปี ค.ศ. 1963[2] โดยเชื่อกันว่าคำดังกล่าวเป็นที่มาของคำว่า "จ็อกสแตรป" ซึ่งหมายถึงชุดชั้นในชายที่สามารถดูแลและป้องกันอวัยวะเพศชายในระหว่างเล่นกีฬา[5]

ลักษณะ[แก้]

ลักษณะของบุคคลที่มีบุคลิกความเป็นจ็อกมีดังนี้

  • ก้าวร้าว, หยิ่ง, ใจแคบ, ไม่ฉลาด, เอาตนเองเป็นศูนย์กลาง, มีอารมณ์ขุ่นเคืองง่าย และมักอารมณ์ไม่ดี[4]
  • มีร่างกายกำยำ, สูง และแข็งแรง[4]
  • หยาบคาย
  • มักจะไม่ร้องไห้ หรือแสดงความเปราะบางหรือความกลัว[6]
  • มีความกลัวที่จะกอดหรือจับมือเพื่อนเป็นระยะเวลานาน[6] เพื่อแสดงความเป็นชาย
  • มักจะมีส่วนร่วมในการข่มเหงรังแกกับผู้ที่ไม่มีความสามารถทางด้านกีฬา หรือข่มเหงรังแกผู้อื่นเพื่อแสดงอำนาจ
  • มักจะมีอภิสิทธิ์เหนือว่าผู้อื่น อาทิ ได้ผลคะแนนที่ไม่ควรจะได้ หรือได้รับการปกป้องจากฝ่ายปกครองของโรงเรียน เพื่อที่จะรักษาสิทธิ์ของเขาในการเล่นกีฬา

อ้างอิง[แก้]

  1. "Jock: definition of Jock in Oxford dictionary (American English) (US)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 23, 2012. สืบค้นเมื่อ 8 October 2015.
  2. 2.0 2.1 "Online Etymology Dictionary on Jock". Etymonline.com. สืบค้นเมื่อ 1 February 2011.
  3. "Princeton's WordNet entry on Jock". Wordnetweb.princeton.edu. สืบค้นเมื่อ 1 February 2011.
  4. 4.0 4.1 4.2 "Jocks as a Youth Subculture" (PDF). Center for Mental Health in Schools, School Mental Health Project, Department of Psychology, UCLA, Los Angeles. สืบค้นเมื่อ July 16, 2016.
  5. Mattiello, Elisa (2008). An Introduction to English Slang. ISBN 9788876991134. สืบค้นเมื่อ 8 October 2015.
  6. 6.0 6.1 Anderson, Eric (2014). 21st century jocks : sporting men and contemporary heterosexuality. Houndmills, Basingstoke, Hampshire: Palgrave Macmillan. ISBN 9781137550668.