ข้ามไปเนื้อหา

จินตภาษา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จินตภาษา (อังกฤษ: Idioglossia) หมายถึงภาษาที่ไร้ความหมาย (idiosyncratic language) ที่ประดิษฐ์ขึ้นและใช้สื่อสารโดยกลุ่มคนเพียงสองหรือสามคน โดยทั่วไปแล้วจินตภาษามักจะหมายถึง “ภาษาส่วนตัว” ของเด็กโดยเฉพาะเด็กฝาแฝด บางครั้งก็เรียกว่า ภาษารหัส (cryptophasia) หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “ภาษาลูกแฝด” (twin talk หรือ twin speech)

เด็กที่เติบโตขึ้นในแวดวงที่ใช้ภาษาหลายภาษามักจะมีแนวโน้มที่จะใช้จินตภาษา แต่จินตภาษามักจะหายไปตั้งแต่เมื่ออายุยังน้อย ไปยังภาษาที่จะมาใช้ต่อมา

นักประพันธ์ชาวไอริชเจมส์ จอยซ์ทดลองการใช้จินตภาษาในนวนิยายเรื่อง “มโนสำนึกของฟินเนกัน” ผสมกับการใช้คำสมาสที่จอยซ์สร้างขึ้นเอง (จินตสมาส (portmanteau)) โดยมีวัตถุประสงค์ที่สร้างบรรยากาศของจิตสำนึกที่อยู่ในสภาพระหว่างการหลับและการฝัน[1]

อีกตัวอย่างหนึ่งของการใช้จินตภาษาคือการใช้ในภาพยนตร์เรื่อง “เนลล์” ที่สร้างและแสดงโดยโจดี ฟอสเตอร์ ซึ่งเป็นเรื่องของสตรีสาวที่ใช้จินตภาษาในการสื่อสารกับคู่แฝดที่ไม่มีผู้ใดทราบว่าเสียชีวิตไปแล้ว หรือทราบว่าเป็นภาษาลับ เนลล์สร้างจากบทละครชื่อเดียวกันโดยมาร์ค แฮนด์ลีย์

อ้างอิง

[แก้]
  1. Mercanton, James (1967). Les heures de James Joyce, Diffusion PUF. ISBN 2868692079, p.233