จาจา (ทิเบต)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระอมิตาภพุทธะ ทิเบต ศตวรรษที่ 18

จาจา (อักษรโรมัน: Tsatsa, tsa-tsa, tsha-tsha) เป็นเครื่องถวายบูชาคล้ายกับพระเครื่องในศาสนาพุทธแบบทิเบต มีลักษณะเป็นแผ่นขนาดเล็กนูนต่ำ ทำมาจากดินเหนียวขึ้นรูป แต่ก็พบที่ทำมาจากโลหะบ้างเช่นกัน[1]

จาจามักแสดงรูปชองพุทธศาสนบุคคล รวมถึงพระพุทธเจ้า, เทพเจ้า, คุรุ และศาสนสถาน และสามารถพบจารึกซึ่งมักเป็นพยางค์ศักดิ์สิทธิ์ หรือมนตร์ยาวก็ได้[2] จาจามักถูกนำมาตั้งถวายบูชาตามสถานที่พิเศษ เช่นในถ้ำที่เชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ หรือนำมาบรรจุภายในพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ เช่นในสถูป นอกจากนี้ยังมีการผลิตจาจาในโอกาสพิเศษ เช่น วันครบรอบวันเกิดของศาสนบุคคลที่สำคัญ หรือเพื่อฉลองการเดินทางเยือนของศาสนบุคคลที่สำคัญ[3]

จาจาส่วนใหญ่ทำมาจากดินเหนียว ส่วนจาจาสำหรับถวายบูชามักทำมาจากโลหะหรือจากวัสดุมีค่า บางครั้งอาจมีการผสมอัฐิของพระสงฆ์ที่ได้รับความเคารพลงไปเล็กน้อยเพื่อให้จาจามีความศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมาหรือเพื่อระลึกถึงพระสงฆ์รูปนั้น ๆ หลังนำไปขึ้นรูปด้วยแม่พิมพ์แล้ว จาจาจะนำไปตากแห้งหรือไปเผาให้แห้ง จากนั้นจึงนำไปเคลือบ แกะสลักจารึก หรือทาสี ในระหว่างขบวนการการผลิตจาจานั้นจะมีการสวดมนตร์ไปด้วย การผลิตจาจานั้นมองว่าเป็นการสะสมบุญ สร้างกรรมดี และเป็นหนทางไปสู่การหลุดพ้นจากสังสารวัฏในศาสนาพุทธ[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. Rhie, Marylin and Thurman, Robert (eds):Wisdom And Compassion: The Sacred Art of Tibet, pp. 330, 393, 1991, Harry N. Abrams, New York (with 3 institutions), ISBN 0810925265
  2. Reedy, Chandra L. (1 January 2006). "Multiple Functions and Multiple Histories of Tibetan Tsha-Tshas (votive Clay Images)". Studies in Conservation. 51 (sup2): 144–150. doi:10.1179/sic.2006.51.Supplement-2.144. S2CID 192997987.
  3. "Archivierte Kopie". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-25. สืบค้นเมื่อ 2023-11-17.
  4. Li; "Protection and development of Tibetan tsatsa art culture-Vtibet". www.vtibet.cn. สืบค้นเมื่อ 2022-05-16.