จาง จงชาง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จาง จงชาง
ชื่อพื้นเมือง
張宗昌
ชื่อเล่น
  • "นายพลเนื้อหมา"
  • "ชาง 72 ปืนใหญ่"
  • "ไม่รู้ทั้งสาม"
เกิด1881
แคว้นอี ไหลโจว ชานตง รัฐฉิง
เสียชีวิต3 กันยายน 1932 (อายุ 50–51)
จี่หนาน ชานตง สาธารณรัฐจีน
รับใช้
ชั้นยศGeneral
บังคับบัญชา
  • กองทัพชานตง
  • กองทัพชานตง–จีลี
การยุทธ์

จาง จงชาง (จีน: 張宗昌; พินอิน: Zhāng Zōngchāng; หรือ รูปโรมันเป็น Chang Tsung-chang; 1881 – 3 กันยายน 1932) เป็นขุนศึกในระหว่างยุคสมัยขุนศึกของสาธารณรัฐจีน เขาเป็นสมาชิกของชุมเฟิ่งเทียน และในปี 1925 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ว่าการแคว้นชานตงที่ซึ่งเขาปกครองไปอย่างเลวร้ายและทารุณ ในระหว่างนั้นเขายังมีส่วนในการลักลอบขนฝิ่นและมีนางบำเรอมากกว่า 30 คน เขามีชื่อเสียงในทางที่เลวร้ายสำหรับวิถีชีวิตที่หรูหรา จนทำให้เขาได้ชื่อเล่นว่าเป็น "นายพลเนื้อหมา" (โก่วโร่วเจียงจุน; ; Gǒuròu Jiāngjūn) นิตยสาร ไทม์ เรียกเขาว่าเป็น "ขุนพลที่ชั่วช้าที่สุด" (basest warlord)[1] กองพลของจางพ่ายให้กับกองทัพปฏิวัติแห่งชาติระหว่างการออกเดินทางขึ้นเหนือในปี 1928 เขาลี้ภัยไปญี่ปุ่นก่อนจะเดินทางกลับมาที่ชานตงในปี 1932 และต่อมาถูกลอบสังหารโดยเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งล้างแค้นให้กับบิดาที่เสียชีวิต

ตัวตนและภาพลักษณ์[แก้]

คุณบอกให้ผมไปทำอย่าง
เขาบอกให้ผมไปทำอีกอย่าง
พวกเอ็งมันสารเลวกันทั้งหมด
ไปเย็ดแม่เอ็งซะ

"บทกวีว่าด้วยพวกสารเลว" โดย จาง จงชาง[a]

จาง จงชาง เป็นหนึ่งในขุนศึกที่มีชื่อเสียงในทางเลวร้ายและเป็นที่รู้จักที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์จีน[3] ตำนานล้อเลียนและชีวประวัติจริงของเขาแยกออกจากกันได้ยาก[4] นักวิจัย แม็ทธิว อาร์ พอร์ตวู้ด (Matthew R. Portwood) และ จอห์น พี ดัน (John P. Dunn) ระบุว่าคู่ต่อสู้ของเขามักบรรยายถึงจางในรูป "ภาพจำของความชั่วร้ายและความโลภ" ("a poster boy for evil and avarice")[4] นักประวัติศาสตร์ อาร์เธอร์ วอลดรอน ระบุว่าในบรรดาขุนศึกทั้งหมดในสมัยนั้น จางเป็นคนที่ "น่าจะเป็นคนเดียวที่ถูกมองหยามมากที่สุด"[5] คู่ต่อสู้ของเขาระบุว่าพฤติกรรมของจางนั้น "โหดร้ายทารุณแบบไม่มีสมอง" ("mindlessly brutal") ในระหว่างการยุทธ์[6] และเขายัง "มีร่างกายอย่างช้าง สมองอย่างหมู และอารมณ์รุนแรงอย่างเสือ"[7] จางเป็นที่รู้จักในทางไม่ดีจากงานอดิเรกของเขาซึ่งเขาใช้ดาบฟันกะโหลกของนักโทษให้แตกเป็นส่วน ๆ และจับผู้เห็นต่างแขวนคอจากเสาโทรศัพท์[8][9] แม้จะมีชื่อเสียงในทางลบ แต่จางก็เป็นที่รู้จักในฐานะบุคคลที่ชอบเข้าสังคม มีเสน่ห์ และให้ความเคารพแก่กองพลของตนและผู้สนับสนุน[10][11] รวมถึงมีบรรยายไว้ว่าเป็นบุคคลที่มีความกล้า[9] และเป็น "คนกระหายสงคราม"[12] แม้จะมีผู้ระบุว่าเขาเป็นหนึ่งในนายพลที่มีพรสวรรค์ที่สุดคนหนึ่งในบรรดาขุนศึกจีน แต่ข้อเสนอนี้ก็ถูกวิจารณ์และปฏิเสธ[5]

จางชอบที่จะโอ้อวดขนาดจู๋ของตนเอง ข้อเท็จจริงนี้กลายมาเป็นหนึ่งในตำนานสืบทอดของเขา[8][13] เขาเป็น "ชายเจ้าชู้เลื่องชื่อ"[14] และมีคู่ครองหลายคน[15] ในยามที่เขาเรืองอำนาจสูงสุด เขามีนางสนมอยู่ 30-50 คนจากชาติต่าง ๆ แต่ละคนมีหมายเลขประจำตัว เพราะเขาไม่สามารถจำชื่อหรือพูดภาษาของแต่ละคนได้ ไทม์ ระบุว่านางบำเรอแต่ละคนถูกบังคับตัวมาจากครอบครัวที่ร่ำรวยในชานตง[1] นางบำเรอของเขามีทั้งชาวจีน ญี่ปุ่น รัสเซีย เกาหลี มองโกเลีย และมีคนอเมริกันอย่างน้อยคนหนึ่ง[16] มีการบันทึกว่าจางกินเนื้อหมาเชาเชาสีดำทุกวัน ซึ่งเชื่อกันว่าช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศชาย[17]

แม้เขาจะรู้หนังสือบ้างไม่รู้บ้าง (semi-literate)[8] แต่จางก็เป็นที่รู้จักจากงานเขียนกวีของเขา แม้บทกวีเหล่านี้จะถูกมองว่าค่อนข้างห่วย บทกวีของเขา เช่น บทกวีว่าด้วยพวกสารเลว ("Poem about bastards"), บทกวีทะเลต้าหมิง ("Daming Lake poem"), บทกวีการเดินทางไปยังศาลาเผิงไหล ("Visiting Penglai Pavilion") และ บทกวีขอฝน ("Pray for Rain") แหล่งข้อมูลบางแหล่งเชื่อว่าบทกวีเหล่านี้สร้างขึ้นมาโดยคู่แข่งทางการเมืองของเขาเพื่อทำให้จางเสื่อมเสียชื่อเสียง[18] เมื่อถามว่าเขามีการศึกษาหรือไม่ เขามักจะตอบว่าเขาจบมาจาก "วิทยาลัยของป่าไม้สีเขียวขจี" (ซึ่งคือ วิชาการเป็นโจร)[8]

หมายเหตุ[แก้]

  1. In the original, this reads: 你叫我去這樣幹,他叫我去那樣幹。真是一群大混蛋,全都混你媽的蛋。[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "CHINA: Basest War Lord". TIME. 7 March 1927. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 August 2023. สืบค้นเมื่อ 7 August 2023.
  2. "民國時期最狂軍閥,出版過詩集的草莽將軍張宗昌" [The most insane warlord during the Republic of China, the published poetry collection of the generals Zhang Zongchang]. The News Lens. 10 August 2018. สืบค้นเมื่อ 2 February 2019.
  3. Sheridan (1975), p. 66.
  4. 4.0 4.1 Portwood & Dunn (2014), p. 18.
  5. 5.0 5.1 Waldron (2003), p. 105.
  6. Sheridan (1975), p. 67.
  7. Bonavia (1995), p. 180.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 Bonavia (1995), p. 173.
  9. 9.0 9.1 Ebrey (1993), p. 374.
  10. Sheridan (1975), pp. 67–68.
  11. Bonavia (1995), p. 174.
  12. Ebrey (1993), p. 375.
  13. Fenby (2004), p. 102.
  14. S. Louisa Wei. "Yang Naimei". Women Film Pioneers Project. สืบค้นเมื่อ 5 February 2021.
  15. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ time2
  16. Weirather (2015), p. 42.
  17. Hendrickson (1974), p. 104.
  18. "张宗昌写过「大炮开兮轰他娘」吗|真问真答". www.sohu.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 May 2019.

บรรณานุกรม[แก้]