จัมกาดัง

พิกัด: 0°18′19″S 100°22′11″E / 0.3052°S 100.3696°E / -0.3052; 100.3696
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จัมกาดัง
จัมกาดังเมื่อปี 2017
แผนที่
พิกัด0°18′19″S 100°22′11″E / 0.3052°S 100.3696°E / -0.3052; 100.3696
ที่ตั้งบูกิตติงงี
ผู้ออกแบบYazid Abidin, Sutan Gigi Ameh & Haji Moran
ความสูง26 เมตร (85 ฟุต)
เริ่มก่อสร้าง1926
สร้างเสร็จ1926
อุทิศแด่นครบูกิตติงงี

จัมกาดัง (อักษรโรมัน: Jam Gadang; ภาษามีนัง แปลว่า "นาฬิกาใหญ่") เป็นหอนาฬิกา, จุดหมายตา และสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในนครบูกิตติงงี จังหวัดสุมาตราตะวันตก ประเทศอินโดนีเซีย หอนาฬิกาตั้งอยู่ในย่านใจกลางเมือง ใกล้กับตลาดปาซาร์อาเตฮ์

ประวัติศาสตร์[แก้]

หอนาฬิกาหลังเดิมแรกเริ่ม
หอนาฬิกาสมัยอินโดนีเซียใต้ปกครองญี่ปุ่น

ตัมกาดังตั้งอยู่ที่ใจกลางของสวนซาไบนันอาลูอิฮ์ (Sabai Nan Aluih Park) ใกล้กับวังโมฮัมมัด ฮัตตา[1] หอนาฬิกาสร้างในปี 1926 ในสมัยอาณานิคมดัตช์ ในฐานะของขวัญจากราชินีวิลเฮลมินาให้กับ controleur (ผู้ปกครอง) นครบูกิตติงงี[2][3] หอนาฬิกาเป็นผลงานออกแบบโดยยาซิก อาบีดีน (Yazid Abidin) และ ซุลตันกีกี อาเมฮ์ (Sutan Gigi Ameh) สร้างด้วยเงิน 3,000 กิลเดอร์[2]

เมื่อสร้างแล้วเสร็จ บนยอดของหอนาฬิกามีรูปปั้นไก่แจ้ตั้งอยู่ หลังคาบนยอดหอคอยถูกเปลี่ยนเป็นหลังคาแบบที่ใช้ประดับศาลเจ้าชินโตในสมัยญี่ปุ่นเข้ายึดครองอินโดนีเซีย (1942–1945) ภายหลังอินโดนีเซียได้รับเอกราช ได้มีการเปลี่ยนหลังคายอดของหอเป็นรูปแบบปัจจุบัน ซึ่งมีลักษณะแบบหลังคาของวัฒนธรรมมีนัง ดังที่พบในบ้านท้องถิ่นที่เรียกว่ารูมะฮ์กาดัง[2] ตำนานมุขปาฐะท้องถิ่นอ้างว่ากลไกนาฬิกาภายในเป็นแบบที่ลอกเลียนมาจากบิกเบนในลอนดอน[1]

ในวันที่ 6 มีนาคม 2007 จัมกาดังได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหวสองครั้งในสุมาตรา ในปีหลังจากนั้น หอนาฬิกาได้รับทุนอุดหนุนในการซ่อมแซมโดยอินโดนีเซียเฮอริเทจทรัสต์ (Indonesia Heritage Trust หรือ บาดันเปอเลิซตาริยันปูซากาอินโดนีเซีย; Badan Pelestarian Pusaka Indonesia) ด้วยเงินอุดหนุนจำนวน 600 ล้านรูปียะฮ์ (ราว 2.1 ล้านบาท) โดยทีมซ่อมบำรุงจากประเทศเนเธอร์แลนด์ การปรับปรุงครั้งนี้เสร็จสิ้นและมีพิธีเปิดในวันที่ 22 ธันวาคม 2010 ในฐานะส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลองนครบูกิตติงงีครบรอบ 262 ปี[3]

ในช่วงเทศกาลเราะมะฎอน หอคอยยังใช้งานสำหรับประกาศขานบทสวดเพื่อแจ้งเตือนว่าถึงเวลาอิฟฏอร์[1]

ลักษณะ[แก้]

เลขสี่บนหน้าปัดนาฬิกาเป็นอักษร 'IIII' แทนที่จะเป็น 'IV'

หอนาฬิกาประกอบด้วยนาฬิกาทั้งสี่ด้าน นาฬิกาเหล่านี้ทำขึ้นในเมือง Recklinghausen ประเทศเยอรมนี โดย Bernard Vortmann และขนส่งมายังอินโดนีเซียผ่านทางร็อตเตอร์ดาม นาฬิกาแต่ละเรือนมีหน้าปัดขนาด 80 เซนติเมตร (2.6 ฟุต) ฐานของหอนาฬิกามีขนาด 13 โดย 4 เมตร (43 โดย 13 ฟุต) และมีความสูง 26 เมตร (85 ฟุต)[2] หน้าปัดนาฬิกาใช้อักษร "IIII" แทนเลขสี่ แทนที่จะใช้เลขโรมัน "IV"[2]

จัมกาดังได้รับการยอมรับให้เป็นสัญลักษณ์หนึ่งของเมืองบูกิตติงงีและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของเมือง บ้างเรียกขานจัมกาดังว่าเป็น "คู่แข่งของบิกเบนในลอนดอน"[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Bachtiar, Imelda (April 11, 2016). "Jam Gadang, Ikon Wisata Bukittinggi" [Clock Tower, Bukittinggi Travel Icons]. Kompas (ภาษาอินโดนีเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 21, 2016. สืบค้นเมื่อ February 20, 2017. แม่แบบ:Google translation
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 "Jam Gadang, Gengsi Kota Bukittinggi" [Jam Gadang, the Prestige of Bukittinggi]. Kompas (ภาษาอินโดนีเซีย). March 19, 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 5, 2016. สืบค้นเมื่อ February 19, 2017. แม่แบบ:Google translation
  3. 3.0 3.1 "Jam Gadang Selesai Diperbaiki" [Repairs to Jam Gadang Completed]. Republika (ภาษาอินโดนีเซีย). December 23, 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 4, 2016. สืบค้นเมื่อ February 19, 2017. แม่แบบ:Google translation
  4. Farhan, Afif (October 3, 2010). "Jam Gadang di Bukittinggi, Saingannya Big Ben di London" [Jam Gadang of Bukittinggi, Competitor to London's Big Ben]. Detik.com (ภาษาอินโดนีเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 23, 2015. สืบค้นเมื่อ February 20, 2017. แม่แบบ:Google translation