ข้ามไปเนื้อหา

จอห์น บี. วอตสัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จอห์น บี. วอตสัน
เกิดจอห์น โบรดัส วอตสัน
09 มกราคม ค.ศ. 1878(1878-01-09)
แทรเวเลอส์เรสต์ รัฐเซาท์แคโรไลนา สหรัฐอเมริกา
เสียชีวิต25 กันยายน ค.ศ. 1958(1958-09-25) (80 ปี)
วูดบิวรี รัฐคอนเนตทิคัต
สัญชาติอเมริกัน
มีชื่อเสียงจากผู้ก่อตั้ง พฤติกรรมนิยม
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาจิตวิทยา
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอกเจ. อาร์. แอนเกลล์[1]
มีอิทธิพลต่ออีวาน ปัฟลอฟ
ได้รับอิทธิพลจากลีโอนาร์ด บลูมฟิลด์[2]

จอห์น โบรดัส วอตสัน (อังกฤษ: John Broadus Watson; 9 มกราคม ค.ศ. 1878 – 25 กันยายน ค.ศ. 1958) เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ผู้ก่อตั้งพฤติกรรมนิยม วอตสันทำวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมสัตว์ นำมาซึ่งการตั้งแขนงวิชาพฤติกรรมศาสตร์ในวิชาจิตวิทยา เขายังเป็นผู้ทำการทดลอง "หนูน้อยอัลเบิร์ต" ซึ่งเป็นที่ถกเถียงและวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง

ชีวิตช่วงแรก

[แก้]

จอห์น โบรดัส วอตสัน เกิดในแทรเวเลอส์เรสต์ รัฐเซาท์แคโรไลนา เป็นบุตรชายของพิกเกนส์ บัตเลอร์ และ เอ็มมา (สกุลเดิม โร) วอตสัน[3][4] แม่ของเขา เอ็มมา เป็นคนที่ศรัทธาในนิกายโปรเตสแตนต์ที่เคร่งครัด[5][6][7] พ่อของเขา พิกเกนส์ เป็นคนติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เขาทิ้งครอบครัวไปอาศัยอยู่กับหญิงชาวอินเดียสองคน ขณะวอตสันอายุ 13 ปี[8] ด้วยความที่ครอบครัวของเขาขัดสนเงิน แม่ของเขาจึงขายฟาร์มที่มีอยู่ และย้ายไปอาศัยอยู่ในกรีนวิลล์ รัฐเซาท์แคโรไลนา[3] เพื่อให้วอตสันมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จ[5] การย้ายจากหมู่บ้านชนบทที่ห่างไกลไปยังกรีนวิลล์ พิสูจน์ให้เห็นว่ามันสำคัญมากสำหรับวอตสัน โดยการให้โอกาสเขาได้สัมผัสกับความหลากหลายของคนประเภทต่าง ๆ ซึ่งเขายังนำใช้ศึกษาทฤษฎีในด้านจิตวิทยา[9]

วอตสันผ่านหลักสูตรดั้งเดิมที่มหาวิทยาลัยเฟอร์แมน ระหว่างที่กำลังศึกษาอยู่นั้น เขามองตัวเองว่า "ไม่เป็นมิตร" และมีเพื่อนน้อย และถือว่าตัวเองเป็นนักเรียนที่น่าสงสารคนหนึ่ง คนอื่น ๆ มักเรียกเขาว่าเป็นเด็กขี้เกียจที่ไม่ยอมเชื่อฟัง[9] หลังจากนั้น เขาศึกษาต่อด้านปรัชญาที่มหาวิทยาลัยชิคาโก ตามคำแนะนำของกอร์ดอน มัวร์ อาจารย์ในมหาวิทยาลัยเฟอร์แมน[10] แต่ต่อมาเขาผิดหวังในการสอนของจอห์น ดูอี จึงหันมาทำงานด้านจิตวิทยาสัตว์ และได้รับปริญญาเอกในปี ค.ศ. 1903[11] วอตสันทำงานเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ ในปี ค.ศ. 1908 จนในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1920 เขาถูกไล่ออกเพราะไปมีความสัมพันธ์ลับ ๆ กับโรซาลี เรย์เนอร์ (Rosalie Rayner) นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของเขา วอตสันหย่ากับภรรยาและแต่งงานกับโรซาลีในปี ค.ศ. 1921[12]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Classics in the History of Psychology" เก็บถาวร 2015-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน: "Watson obtained his Ph.D. under the supervision of Angell 1903."
  2. John G. Fought, Leonard Bloomfield: Biographical Sketches, Taylor & Francis, 1999, p. 233.
  3. 3.0 3.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :0
  4. "Profile data: John Broadus Watson". Marquis Who's Who. สืบค้นเมื่อ August 7, 2012.
  5. 5.0 5.1 Buckley, Kerry W. Mechanical Man: John Broadus Watson and the Beginnings of Behaviorism. Guilford Press, 1989.
  6. Gregory A. Kimble, Michael Wertheimer, Charlotte White. Portraits of Pioneers in Psychology. Psychology Press, 2013, p. 175. "Watson's outspoken atheism repelled many in Greensville."
  7. Michael Martin. The Cambridge Companion to Atheism. Cambridge University Press, 2006, p. 310. "Among celebrity atheists with much biographical data, we find leading psychologists and psychoanalysts. We could provide a long list, including (...) John B. Watson (...)"
  8. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Hothersall
  9. 9.0 9.1 Buckley, Kerry W. Mechanical Man: John Broadus Watson and the Beginnings of Behaviorism. New York: Guilford, 1989. Print.
  10. Hergenhahn, B. R. (1992). An introduction to the history of psychology. California: Wadsworth Publishing Company.
  11. "John B. Watson". Encyclopædia Britannica. 2011. สืบค้นเมื่อ 2012-10-21.
  12. Murray, D. J. (1988). A history of western psychology. New Jersey: Prentice Hall.