จอห์น บราวนิง
จอห์น โมเสส บราวนิง | |
---|---|
บราวนิงในปี ค.ศ. 1915 | |
เกิด | 23 มกราคม ค.ศ. 1855 อ็อกเดน ดินแดนยูทาห์ |
เสียชีวิต | 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1926 ลีแยฌ เบลเยียม | (71 ปี)
สัญชาติ | อเมริกัน |
อาชีพ | ช่างปืน, ผู้ก่อตั้งบริษัทอาวุธปืนบราวนิง |
คู่สมรส | เรเชล ทีซ ชิลด บราวนิง |
บุตร | 10 คน รวมทั้งวาล เอ. บราวนิง |
บิดามารดา |
|
รางวัล | John Scott Medal (1905) เครื่องราชอิสริยาภรณ์เลโอโปลด์ (1914) |
ลายมือชื่อ | |
จอห์น โมเสส บราวนิง (23 มกราคม ค.ศ. 1855[1] – 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1926) เป็นนักออกแบบอาวุธปืนชาวอเมริกันที่ได้พัฒนาอาวุธปืนทหารและพลเรือนหลายชนิด กระสุน และกลไกปืน – ซึ่งอาวุธปืนดังกล่าวจำนวนมากยังคงใช้งานอยู่ทั่วโลก[2] เขาได้ทำอาวุธปืนครั้งแรก เมื่ออายุ 13 ปี ในร้านขายปืนของพ่อ และได้รับรางวัลสิทธิบัตรอาวุธปืนกระบอกแรกของเขาที่ 128 เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 1879 เมื่ออายุ 24 ปี[3] เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในนักออกแบบอาวุธปืนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในศตวรรษที่ 19 และ 20 และเป็นผู้บุกเบิกการพัฒนาอาวุธปืนอัตโนมัติและกึ่งอัตโนมัติที่ทันสมัย[4]
บราวนิงได้มีอิทธิพลต่อการออกแบบอาวุธปืนเกือบทุกประเภท เขาได้คิดค้น หรือทำการปรับปรุงส่วนที่สำคัญสำหรับปืนไรเฟิลและปืนลูกซองที่สามารถยิงด้วยแบบนัดเดี่ยว แบบคานเหวี่ยง และแบบการปั๊ม (Pump-action) เป็นที่ถกเถียงได้ว่า การมีส่วนร่วมที่สำคัญของเขาในพื้นที่ของอาวุธปืนแบบอัตโนมัติ เขาได้พัฒนาปืนพกแบบอัตโนมัติที่มีความน่าเชื่อถือและกระทัดรัดเป็นครั้งแรกโดยการประดิษฐ์ระบบลูกเลื่อนครอมรังเพลิง-ลำกล้อง(telescoping bolt) เมื่อได้ทำการประสานรวมของลูกเลื่อนและกระบอกห่อหุ้มเข้าไปในสิ่งที่เรียกว่า สไลค์ปืนพก การออกแบบระบบลูกเลื่อนครอมรังเพลิง-ลำกล้องของบราวนิงนั้นมักจะพบเห็นได้ในปืนพกกึ่งอัตโนมัติทุกกระบอกที่ทันสมัย เช่นเดียวกับอาวุธปืนแบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบที่ทันสมัยหลายกระบอก เขายังได้พัฒนาอาวุธปืนที่อัดบรรจุด้วยแก๊สขึ้นเป็นครั้งแรก ปืนกล โคลท์-บราวนิง โมเดล 1895 –ระบบที่เหนือชั้นกว่าการสะท้อนถอยหลังของระบบกลไกเพื่อเป็นมาตราฐานสำหรับการออกแบบอาวุธปืนที่บรรจุกระสุนด้วยตัวเองที่อำนาจการยิงที่สูงที่สุดในโลก เขายังได้มีส่วนสำคัญในการพัฒนาปืนใหญ่แบบอัตโนมัติ
การออกแบบที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของบราวนิง ได้แก่ ปืนพก เอ็ม1911 ปืนกล เอ็ม1917 ที่ระบายความร้อนด้วยน้ำ เอ็ม1919 ที่ระบายความร้อนด้วยอากาศ และปืนกลหนัก เอ็ม2 ปืนไรเฟิลอัตโนมัติบราวนิง และบราวนิง ออโต-5 – ปืนลูกซองแบบกึ่งอัตโนมัติรุ่นแรก อาวุธบางส่วนยังคงผลิตอยู่ มักจะมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยในรายละเอียดและการตกแต่งที่ประกอบโดยบราวนิงและผู้ที่ได้รับใบอนุญาตของเขา ปืนของเขาเป็นอาวุธปืนที่ถูกเลียนแบบมากที่สุดในโลก
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Pelley, Doug (July 2004). "Pictures of Headstones: John M. Browning". Dapcom. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-05. สืบค้นเมื่อ 23 January 2007.
- ↑ Borth, Christy (1945). Masters of Mass Production. Indianapolis: Bobbs-Merrill Company. pp. 152, 156–9. OCLC 609185692.
- ↑ Rattenbury, Richard C. "John Moses Browning". Encyclopædia Britannica. Encyclopædia Britannica, Inc. สืบค้นเมื่อ 22 September 2018.
- ↑ "Browning Firearms Collection" (PDF). The American Society of Mechanical Engineers. 18 November 1989. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 20 November 2012.
By 1900, over 75% of the repeating sporting arms on the United States market, both lever and pump, were of John's invention