ข้ามไปเนื้อหา

คุยกับผู้ใช้:Sirivadhanawaravachara/ทดลองเขียน

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
เพิ่มหัวข้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไฟล์:เจ้าราชภาคินัย เมืองชื่น ณ เชียงใหม่.jpg
เจ้าราชภาคินัย
เจ้าเมืองชื่น ณ เชียงใหม่
ประสูติพุทธศักราช ๒๔๒๒
นครลำพูน
คู่อภิเษก๑. เจ้าหญิงบัวทิพย์ ณ เชียงใหม่ พระธิดาในเจ้าแก้วนรัฐ ผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๙ และ ๒. หม่อมจันทร์เทพ ณ เชียงใหม่ หรือหม่อมเทพ ชาวบ้านเรีกท่านว่า "เจ้าน้อย"
พระราชบุตร๑. เจ้าอาทิตย์ ณ เชียงใหม่ ๒. เจ้านิภาพันธุ์ ณ เชียงใหม่ ๓. เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ และ ๔. เจ้าประเวส ณ เชียงใหม่
ราชวงศ์ราชวงศ์ทิพย์จักร หรือ ทิพจักราธิวงศ์ สายสกุลวงศ์ ณ เชียงใหม่
ราชวงศ์ราชวงศ์ทิพย์จักร
พระราชบิดาเจ้าราชภาติกวงศ์ หรือ เจ้าน้อยบัววงค์
พระราชมารดาเจ้าหญิงฟองนวล ธิดาเจ้ามหายศ กับเจ้านางกาบคำ
ศาสนาพุทธ

เจ้าราชภาคินัย นามเดิม เจ้าเมืองชื่น ณ เชียงใหม่

[แก้]

สืบเชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือแห่งสกุลวงศ์ ณ เชียงใหม่ ราชวงศ์ทิพย์จักร หรือ ทิพจักราธิวงศ์ หรือ ราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน เป็นราชวงศ์ที่ปกครองนครลำปาง นครเชียงใหม่ และนครลำพูน [1] ประสูติเมือ พุทธศักราช ๒๔๒๒ ที่จังหวัดลำพูน เป็นบุตรในเจ้าราชภาติกวงศ์ หรือ เจ้าน้อยบัววงค์ ประสูติเมือ พุทธศักราช ๒๔๒๒ ที่จังหวัดลำพูน เป็นบุตรในเจ้าราชภาติกวงศ์ หรือ เจ้าน้อยบัววงค์ กับ เจ้าหญิงฟองนวล พระธิดาในเจ้ามหายศ กับเจ้านางกาบคำ

การศึกษา

[แก้]

ตอนเด็กเจ้าเมืองชื่น ณ เชียงใหม่ ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่สำนักวัดทุงยู อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาเข้าเรียนที่โรงเรียนปรินส์รอแยลวิทยาลัย และศึกษาที่กรุงเทพมหานคร ทางด้านด้านกฎระเบียบกฎหมายต่างๆ และได้เข้ารับการฝึกราชการในกระทรวงมหาดไทย โดยอยู่ในความปกครองของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เจ้าเมืองชื่น ณ เชียงใหม่ ได้นิวัติเมืองเชียงใหม่ในปี พุทธศักราช ๒๔๔๒ ด้วยสาเหตุการประชวนของเจ้าราชภาติกวงศ์ผู้เป็นบิดา

การทรงงาน

[แก้]

เจ้าเมืองชื่น ณ เชียงใหม่ ทรงเข้ารับราชการที่เชียงใหม่และได้ก้าวหน้าตามลำดับ เคยทรงเป็นรองแขวงเชียงใหม่ และเป็นนายแขวง (นายอำเภอ) ดอยสะเก็ด ต่อมาทรงเปลี่ยนมารับราชการ เป็นผู้พิพากษา ตำแหน่งเสนายุติธรรม ประจำศาลจังหวัดเชียงใหม่ ในปี พุทธศักราช ๒๔๔๗ ขณะนั้นมีชันษา ๒๕ ปี จนได้รับบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าทักษิณนิเกตน์ เมื่อชันษา ๔๑ ปี และได้รับ เฉลิมเป็นเจ้าราชภาคินัย เมื่อปี พุทธศักราช ๒๔๗๔ ขณะนั้นชันษา ๕๑ ปี จากนั้นอีก ๒ ปีต่อจึงทรงลาออกจากราชการมาประกอบธุรกิจส่วนตัว โดยได้ลงทุนทำเหมืองฝายทดน้ำเข้านาที่เขต อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

ลาออกจากราชการ

[แก้]

เมื่อ เจ้าเมืองชื่น ณ เชียงใหม่ ทรงได้ออกจากราชการแล้วยังโปรดนิพนธ์ตำรายารักษาโรค การใช้สมุนไพรพื้นเมือง ตำราเหมืองฝายชลประทาน และเป็นเจ้านายฝ่ายเหนือที่ได้รวบรวมนิพนธ์ ประวัติเชื้อสายราชวงศ์ฝ่ายเหนือไว้เป็นหมวดหมู่ โดยได้ทรงดำเนินการสืบต่อจาก พระราชชายา เจ้าดารารัศมี

เสกสมรส

[แก้]
  [2]

เจ้าราชภาคินัย (เมืองชื่น ณ เชียงใหม่) ได้เสกสมรสกับ เจ้าหญิงบัวทิพย์ [3] พระธิดาในเจ้าแก้วนรัฐ ผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๙ แต่ไม่มีทายาท จึงได้สู่ขอนารีงามผู้หนึ่งมาเป็นหม่อม มีนามว่า “หม่อมเทพ” หรือ หม่อมจันทร์เทพ ณ เชียงใหม่ มีทายาทรวม ๔ คน คือ เจ้าอาทิตย์ ณ เชียงใหม่, เจ้านิภาพันธุ์ ณ เชียงใหม่, เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ [4] และเจ้าประเวส ณ เชียงใหม่ มีบทความที่น่าสนใจ [5] เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ ธิดาคนหนึ่งของเจ้าราชภาคินัย เล่าเกี่ยวกับบ้านเจ้าราชภาคินัยว่า “เจ้าพ่อ (เจ้าราชภาคินัย) และเจ้าเม่บัวทิพย์ ย้ายจากคุ้มหลวง (คุ้มเจ้าแก้วนวรัฐ) เมื่อเกิด สงครามโลกครั้งที่ ๒ ตอนเกิดสงครามโลกครั้งนั้นมีการเปลี่ยนแปลงมาก มีความขาดแคลนไปเสียทั้งหมด ครอบครัวเจ้าพ่อต้องโยกย้ายไปอยู่บ้านร้องวัวแดง อำเภอสันกำแพง ตอนนั้นแม่ (เจ้าดวงเดือน) อายุ ๑๑ ขวบ ย้ายไปอยู่ที่โน้นกันแล้วก็มีเจ้าที่เป็นญาติพี่น้องย้ายตามไปอยู่ด้วย เจ้าพ่อก็สร้างบ้านให้อยู่และดูแล อย่างเช่น เจ้าพงษ์เจริญและเจ้าเผ่าพันธ์ ลูกของ เจ้าราชวงศ์ (ชมชื่น) กับเจ้าบุษบา เจ้าของคุ้มกลางเวียง ก็ไปอยู่ด้วยกัน เสร็จสงครามแล้วก็กลับเข้ามาอยู่ในเมือง” “เจ้าพ่อมาซื้อบ้านของนายไฮ้ อยู่ใกล้ประตูช้างเผือก ตรงข้ามเป็นที่ของเจ้าเลาแก้ว ลูกของนายไฮ้ก็เป็นเพื่อนรุ่นเดียวกัน ชื่อ แม่คำนวณ ซื้อแล้วก็รื้อบ้านหลังเดิมและสร้างหลังใหม่ ระหว่าง สร้างบ้านก็มาเช่าบ้านอยู่บ้านข้างๆ เป็นบ้านของเจ้าปู่หนานวงศ์ ณ ลำพูน บ้านเสร็จก็เข้าอยู่กัน แม่ (เจ้าดวงดือน) ก็โตที่บ้านหลังนี้ ตอนคุณพิรุณ (อินทรวุธ) มาหมั้นแม่ก็มาหมั้นที่นี่ "พ่อ" (เจ้าราชภาคินัย) หลังจากออกจกราชการแล้วได้ไปทำเหมืองฝายที่อำเภอจอมทอง ชาวบ้านยกย่องมาก แม้หลังจากสิ้นบุญแล้ว ตอนที่แม่ไปหาเสียงร่วมกับคุณพิรุณ คราวที่คุณพิรุณ สมัครเป็น ส.ส.เชียงใหม่ ได้คะแมนจากชาวบ้านอำเภอจอมทองมาก เป็นชื่อเสียงเดิมของเจ้าพ่อที่สร้างประโยชน์ไว้กับชาวบ้าน ชาวบ้านจะเรียกแม่ว่า เจ้าน้อย”

ถึงแกพิราลัย

[แก้]

เจ้าราชภาคินัย (เมืองชื่น ณ เชียงใหม่) ได้ถึงแก่พิราลัยเมื่อปี พุทธศักราช ๒๔๙๓ ขณะชันษา ๗๒ ปี ด้วยประชวรเป็นมะเร็งที่ลำไส้ขณะที่ทรงงานนิพนธ์ประวัติเชื้อสายราชวงศ์ฝ่ายเหนือ

ในหนังสือเพชรลานนา ของ คุณปราณี ศิริธร ณ พัทลุง ยกย่องว่า เจ้าราชภาคินัย ชื่อเดิม (เจ้าเมืองชื่น ณ เชียงใหม่) เป็น เพชรของนครพิงค์ ตลอดชีวิตได้อุทิศตนให้แก่ทางราชการ อีกทั้ง เป็นผู้โอบอุ้มญาติพี่น้องในราชวงศ์ฝ่ายเหนือตลอดอายุขัย

[1]

  1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พัธ ธ รังษี บรมวงศ์ไพศาล (admin) เพจ เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่