ข้ามไปเนื้อหา

คุยกับผู้ใช้:หลวงปู่วิเวียร

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
เพิ่มหัวข้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติวัดดวงแข กทม[แก้]

ข้อมูลวัดดวงแข จารึกฐานบัวพระประธานในพระอุโบสถ พระประธานภายในอุโบสถหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ปิดทองคำเปลว ปางมารวิชัย หน้าตัก ๖๓ นิ้ว ประดิษฐานชุกชีประดับกระจก ปรากฎจารึกบนฐานบัวหน้าองค์พระปฏิมา ข้อความว่า "ข้าพระพุทธเจ้าพระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง นิยมผัวท่านจุ้ยภรรยามีจิตร์ศรัทธาพร้อมใจกันจ้างหม่อมเจ้าสุบรรณปั้นหล่อรูปพระปฏิมากร จงคืนนั้นวันลงมือพลังแด่ ณ วันพฤหัสบดี เดือนเก้า ขึ้นสิบสามค่ำพระพุทธสาศนะกาลล่วงแล้วสองพันสี่ร้อยยี่สิบพรรษา กับสองเดือนเลศวันยี่สิบเจ็ด ชิมแม่นักสัตว์ปัญจศรี เป็นวันปัจจุบันนั้นเทอญ" ต่อมาเมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๔๕ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้พระราชนามว่า "พระพุทธสุวรรณอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง" ข้อมูลเบื้องต้นจากหลักฐานนี้ 1."พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง" มีชื่อจริงว่า เนียม นามสกุล รุ่งไพโรจน์ เป็นสายราชสกุลใน "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" (สมเด็จเจ้าฟ้าชายนเรนทรราชกุมาร ประสูติในกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ เป็นต้นราชสกุล "รุ่งไพโรจน์" เกิดราว พ.ศ. 2361 ท่านหล่อพระประธานเมื่ออายุประมาณ 59 ปี ท่านว่าการเจ้ากรมกองตระเวนขวา โดยภายหลังท่านเปลี่ยนราชทินนามเป็น "พระยาจิรายุมนตรี" ผู้กำกับถือน้ำในกระทรวงกลาโหม 2.หม่อมเจ้าชายสุบรรณ ดวงจักร (พ.ศ. 2373 - 7 ตุลาคม พ.ศ. 2442) ดูแลโรงหล่อของหลวง พระโอรสใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดวงจักร กรมหมื่นณรงค์หริรักษ์ เป็นพระราชโอรสในรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์ที่ 35 กับเจ้าจอมมารดาปาน ทรงเป็นต้นราชสกุลดวงจักร หน้าอุโบสถบันวัดดวงแข หน้าอุโบสถบันวัดดวงแข ปั้นปูนสดรูป นาคสมพงษ์ เทินพาน ใต้ดาวรัศมี ติดทองคำเปลว บนพานมีกรอบข้อความว่า "ณ วันจันทร์ เดือนอ้าย แรมสามค่ำ ปีขาล โทศัก จุลศักราช ๑๒๕๒ ไดทำ" พื้นปั้นลายเถาดอกพุดตานใบเทศ กรอบในหน้าจั๋วปั้นชายผ้าพริ้ว กรอบนอกลายเถาดอกพุดตานใบเทศทั้งสองข้าง ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา ข้อมูลเพิ่มเติม ดังนี้ 1.วันจันทร์ เดือนอ้าย แรมสามค่ำ ปีขาล จุลศักราช ๑๒๕๒ (ตรงกับ วันจันทร์ที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๓) 2.จุลศักราช 1252/คริสตศักราช 1890/รัตนโกสินทร์ศก 109 ในสมัยรัชกาลที่ 5 หลักฐานปรากฏในหนังสือราชกิจจานุเบกษาในรัชกาลที่ ๕ เล่ม ๑-๒ จ.ศ. ๑๒๔๖-๑๒๔๗ เรื่องประกาศวิสุงคามสีมา มีพระบรมราชโองการ ประกาศไว้แก่ชนทั้งปวงว่า ที่เขตพระอุโบสถวัดดวงแข ตำบลบางนางหงษ แขวงกรุงเทพ โดยยาว ๑๗ วา กว้าง ๑๒ วา หลวงสิทธินายเวรกับราษฎร ได้ให้กราบทูลพระกรุณา ขอเปนที่วิสุงคามสีมา พระราชทานพระบรมราชานุญาต แต่ ณ วันพุฒ เดือนสิบ แรมสิบค่ำ ปีมะแม เบญจศก พระพุทธสาสนกาล ๒๔๒๖ พรรษา (ตรงกับวันพุธที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๒๖ ในสมัยรัชกาลที่ ๕) จารึกบนแผ่นศิลา หน้าอุโบสถวัดดวงแข สันนิฐานได้ว่า สร้างอุโบสถ์เสร็จ วันจันทร์ เดือนอ้าย แรมสามค่ำ ปีขาล จุลศักราช ๑๒๕๒ (ตรงกับ วันจันทร์ที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๓) เรื่อง"หลวงสิทธินายเวร"กับราษฎร ได้ให้กราบทูลพระกรุณา ขอเปนที่วิสุงคามสีมา(วัดดวงแข) 1."หลวงสิทธินายเวร"ต่อมาเลื่อนเป็น เจ้าหมื่นเสมอใจราช (จู) หัวหมื่นมหาดเล็ก(ปรากฏในหนังสือราชกิจจานุเบกษาในรัชกาลที่ ๕ เล่ม ๑-๒ จ.ศ. ๑๒๔๖-๑๒๔๗ เรื่องการเลื่อนตำแหน่ง) 2.ท่าน จู หรือ หมาจู สิ้น พ.ศ. ๒๔๓๐(ปรากฏในหนังสือราชกิจจานุเบกษาในรัชกาลที่ ๕ เล่ม ๔ จ.ศ. ๑๒๔๙ เรื่องข่าวตาย) เป็นบุตร พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (เถียน โชติกเสถียร) “โชฎึกราชเศรษฐีเป็นตำแหน่งในกรมท่าซ้าย ดูแลการค้าทางฝั่งซ้ายของอ่าวไทย คือ จีน ญี่ปุ่น ท่านจึงเป็นหัวหน้าคนจีนในบ้านเราด้วย 3.หลักฐานจากประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๕ โดย:สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (พิมพ์แจกในงานศพ จางวางโท พระยารณไชยชาญยุทธ (ศุข โชติกะเสถียร) สมุหเทศาภิบาลมณฑลนครสวรรค์ ปีมเสงนพศก พ.ศ. ๒๔๖๐) ตัดความมาบางส่วนดังนี้ ...เจ้าหมื่นเสมอใจราช (จู) เปนบุตรพระยาโชดึกราชเศรษฐี (เถียน) "ผู้ต้นสกุลโชติกเสถียร" เมื่อครั้งพระยาโชดึก ฯ เถียน ยังไม่ได้ทำราชการ ทั้งตัวพระยาโชดึก ฯ แลท่านสุ่นผู้ภรรยา ได้ถวายตัวเปนข้าหลวงอยู่ในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เพราะฉนั้นสกุลโชติกเสถียรจึงเปนสกุลข้าหลวงเดิมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทุกชั้นมา พระยาโชดึกฯ ได้ถวายบรรดาบุตรเปนมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่ยังไม่ได้เสวยราชย์ ส่วนเจ้าหมื่นเสมอใจราช (จู) ทรงใช้สอยสนิทติดพระองค์มาแต่ยังเสด็จประทับอยู่พระตำหนักสวนกุหลาบ เมื่อเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ โปรดให้รับราชการอยู่ในกรมมหาดเล็ก ทรงใช้สอยติดพระองค์อยู่อย่างเดิม ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเปนขุนสมุทโคจร แล้วเลื่อนเปนนายชิดหุ้มแพรเปนนายจ่ายง เปนหลวงนายสิทธิ แล้วเปนเจ้าหมื่นเสมอใจราชแต่ถึงแก่กรรมเสียในที่นั้น ไม่ทันที่จะได้รับพระราชทานยศบันดาศักดิยิ่งขึ้นไป เจ้าหมื่นเสมอใจราช (จู) แต่งงานกับถมยา ธิดาพระยาโชดึกฯ (ฟัก) มีบุตรธิดาหลายคน พระยารณไชยชาญยุทธนี้เปนบุตรใหญ่... (หอพระสมุดวชิรญาณ วันที่ ๗ เมษายน พระพุทธศักราช ๒๔๖๐) เรื่องรายนามข้าราชการชั้นผู้ใหญ่จารึกบนแผ่นศิลาที่ร่วมบำรุง-บำเพ็ญอุโบสถวัดดวงแข 1.หลวงนราเรืองเดช เป็นเจ้ากรมอาสาใหม่ กรมท่า (ยังไม่กล้าสรุปว่านามสกุลนรเดชานนท์หรือเปล่า) 2.หลวงเขตตานุรักษ์ (มา) แต่ก่อนเป็นมหาดเล็กเวรฤทธิ์ พอเป็น”หลวง”แล้ว ไปอยู่กรมเกษตราธิการ 3.หลวงสารประเสริฐ 4.ขุนวรกิจพิสาร เกล็ดเล็กๆน้อย พระยาประมูลธนรักษ์ (ผูก ผโลประการ) ดูแผนที่เก่า เข้าใจว่าถนนที่เลยจากวัวลำพองมา จะเป็นเส้นทางเล็กๆ ต้องใช้ขี่จักยาน ถนนมีแค่วัวลำพอง ร. 5 ท่านต้องทรงจักรยาน สรุปงาน 13.7.59 - ขออนุโมทนาบุญกับท่านพระอาจารย์สมเสก แห่งวัดดวงแข และลูกศิษย์ท่านชาวอินโดนีเซีย ร่วมสร้างฉัตรขึ้นประดิษฐานไว้ที่พระประธานอุโบสถ วัดดวงแข ซึ่งเป็นพระประธานที่ศักดิ์สิทธิ์ คนมีศีลมีธรรม อธิฐานจิตอะไรที่เป็นสิ่งที่ดีงามย่อมสำเร็จผลดังความปราถนาทุกประการ พระประธานอุโบสถวัดดวงแขในอดีตจะมีฉัตรประดิษฐานไว้บนพระประธานเป็นประเพณีนิยมของคนโบราญ อ.เดินทางไปไห้วพระมา 200 กว่าวัดก็เคยเห็นฉัตรประดิษฐานที่พระอุโบสถตามวัดหลวงหลายวัด คนรุ่นใหม่ๆมักจะไม่เคยเห็น ท่านพระอาจารย์สมเสกท่านเก่งในเรื่องการค้นคว้าประวัติศาสตร์ท่านสู้อุตสาห์ไปหาข้อมูลความเป็นมาการสร้างอุโบสถ และพระประธานอุโบสถ วัดดวงแข เมื่อได้อ่านประวัติตามที่ท่านส่งมาให้อ่านนี้จึงทำให้ อ.เกิดความภูมิใจในความเป็นวัดดวงแขที่เกี่ยวเนื่องกับเชื้อสายพระเจ้าตากสินมหาราช ที่ได้สร้างพระประธานและอุโบสถวัดดวงแข จึงนับว่าวัดดวงแขในอดีตนั้นไม่ใช่ธรรมดาที่มีผู้มีอำนาจทางบ้านเมืองและเศรษฐี ประชาชนร่วมแรงรวมใจกันสร้างอุโบสถขนาดใหญ่และพระประธานที่ดูสวยงามร่มเย็นศักดิ์สิทธิ์ วันนี้จึงได้ส่งประวัติข้อมูลบางส่วนที่ท่านพระอาจารย์สมเสกส่งมาให้อ่านศึกษา เป็นประวัติข้อมูลที่ล้ำค่าควรที่ทุกๆท่านควรอ่านเพื่อการศึกษา หนังสือประวัติดวงแขที่สมบูรณ์ที่สุดจะออกพิมพ์เผยแผ่กลางปีหน้า โดยมีพระอาจารย์สมเสก วัดดวงแข และทีมงานของท่าน เป็นผู้ค้นคว้ารวบรวมข้อมูลในการจัดทำพิมพ์หนังสือประวัติวัดดวงแข ขออนุโม [1]

อ้างอิง[แก้]