ข้ามไปเนื้อหา

คุมส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คุมส์ ในภาษาอาหรับให้ความหมายหนึ่งในห้า ซึ่งเป็นหนึ่งในภาษีต่างๆของอิสลาม ในความเชื่อของชีอะฮ์ เป็นการแก้ไขปัญหาต่างๆทางการเงินของประชาชาติอิสลามรวมถึงการแบ่งปันทรัพย์สินอย่างยุติธรรม และเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางการเงินให้กับรัฐอิสลาม

คุมส์ในอัลกุรอาน

[แก้]

กุรอานซึ่งเป็นคัมภีร์ของมุสลิมได้กล่าวนามของคุมส์ไว้เพียงหนึ่งครั้ง กุรอานในซูเราะฮ์อันฟาลอายะอ์ที่สี่สิบเอ็ดได้กล่าวว่าوَ اعْلَمُوا أَنَّما غَنِمْتُمْ مِنْ شَیْءٍ فَأَنَّ لِلّهِ خُمُسَهُ وَ لِلرَّسُولِ وَ لِذِی الْقُرْبی وَ الْیَتامی وَ الْمَساکینِ وَ ابْنِ السَّبیلِ إِنْ کُنْتُمْ آمَنْتُمْ بِاللّهِ وَ ما أَنْزَلْنا عَلی عَبْدِنا یَوْمَ الْفُرْقانِ یَوْمَ الْتَقَی الْجَمْعانِ وَ اللّهُ عَلی کُلِّ شَیْءٍ قَدیرٌ และพึงรู้เถิดว่าแท้จริงสิ่งใดที่พวกเจ้าได้มาจากการทำศึกนั้นแน่นอนหนึ่งในห้าของมันเป็นของอัลลอฮ์และเป็นของรอซูลและเป็นของญาติที่ใกล้ชิดและบรรดาเด็กกำพร้าและบรรดาผู้ขัดสนและผู้เดินทางหากพวกเจ้าศรัทธาต่ออัลลอฮ์และสิ่งที่เราได้ลงมาแก่บ่าวของเราในวันหนึ่งแห่งการจำแนกระหว่างการศรัทธาและการปฏิเสธคือวันที่สองฝ่ายเผชิญกันและอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงเดชานุภาพเหนือทุกสิ่งทุกอย่าง

คุมส์ในคัมภีร์ไบเบิ้ล

[แก้]

จากรายงานของ(คัมภีร์ไบเบิ้ล)ในส่วนของพันธสัญญาเก่า คำสั่งเรื่อง(คุมส์)มีในสมัยการปกครองของศาสดา(ยูซุฟ) ซึ่งเป็นที่รักของชาวอียิปต์ และในช่วงการปกครองของฟาโร พระเจ้าได้มีคำสั่งมายังยูซุฟในหนังสือปฐมกาลเป็นหนังสือเล่มแรกของ(โทรา)ธรรมบัญญัติและเช่นกันเล่มแรกของหนังสือพันธสัญญาเก่ารายงานว่าในช่วงเจ็ดปีที่สมบูรณ์ก่อนช่วงเจ็ดปีที่แห้งแล้ง พระเจ้านั้นมีคำสั่งให้ประชาชนใช้พืชผลที่เก็บเกี่ยวจากไร่นาสี่ในห้ากับครอบครัวของพวกเขาและหนึ่งในห้าเป็นคุมส์เอาไปเก็บไว้ในโกดังของผู้ปกครองในช่วงเวลาที่แห้งแล้งจำนวนหนึ่งในห้าที่เก็บไว้สามารถทำให้ประชาชนอียิปต์รอดพ้นจากความอดอยากได้ถึงเจ็ดปีและคำสั่งนี้ได้ถูกแปลจากคัมภีร์ไบเบิ้ลฟารซีแปลความหมายว่าคุมซ์

ความแตกต่างระหว่างคุมส์กับซะกาต

[แก้]

ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างคุมซ์กับซะกาต ซะกาตนับเป็นส่วนประกอบของทรัพย์สินทั่วไปในสังคมอิสลาม ด้วยเหตุนี้การใช้จ่ายโดยรวมอยู่ในส่วนนี้ แต่ว่าคุมส์เป็นภาษีที่เกี่ยวข้องกับรัฐอิสลามคือดูแลค่าใช้จ่ายต่างๆของผู้ปฏิบัติหน้าที่ หรือการหมุนเวียนเจ้าหน้าที่ในรัฐอิสลาม การที่พวกซาดาต(ลูกหลานนบี)ถูกตัดสิทธิในเรื่องของซะกาตอันที่จริงก็เพื่อปกป้องเครือญาติของท่านศาสดาจากฝ่ายศัตรูจะได้ไม่นำไปใช้เป็นข้ออ้างว่าท่านศาสดาเตรียมทรัพย์สินสาธารณะจับจ่ายไว้ให้เครือญาติ แต่อีกด้านหนึ่งซาดาต(ลูกหลานนบี)ที่ขัดสนก็จำเป็นจะต้องถูกดูแล ในความเป็นจริงไม่ได้เป็นสิทธิพิเศษระหว่าง (ซาดาต)ลูกหลานนบีเพียงอย่างเดียวแต่สำหรับทั่วไปและเพื่อไม่ให้เข้าใจผิดในเรื่องนี้

ความเชื่อของชีอะฮ์

[แก้]

ในความเชื่อของชีอะฮ์ทุกๆทรัพย์สินที่ไม่มีการใช้ประโยชน์ในหนึ่งปี,สินสงคราม,และอีกบางอย่างที่จะต้องจ่ายคุมส์ การจ่ายคุมส์นั้นเป็นข้อบังคับ(วาญิบ)(ซึ่งรายละเอียดของสิ่งที่จะต้องจ่ายคุมส์นั้นมันมีมากกว่าที่กล่าวไป)

ความเชื่อของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ 

[แก้]

อะฮ์ลิสซุนนะฮ์มีความเชื่อว่า สินทรัพย์ทางสงครามเท่านั้นที่จะต้องจ่ายคุมซ์ ผู้รู้ของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์มีความเชื่อว่าคำว่า غنیمتในกุรอานให้ความหมายว่าสิ่งที่ได้มาจากสงคราม และการรับเงินคุมซ์จากการค้าไม่ถูกต้องตามหลักการ ผู้รู้ของชีอะฮ์ได้ให้คำตอบต่อข้อคลุมเครือนี้โดยให้ย้อนกลับไปดูในความหมายของคำว่าغنیمتในภาษาอาหรับที่فصیحหรือตามความหมายเดิมความหมายของغنیمتก็คือماحصل(สิ่งที่ได้มา) ดังที่ได้กล่าวว่าالغنم: الفوز بالشیء من غیر مشقهสินทรัพย์ที่ได้มาอย่างไม่ลำบาก

ความหมายของสินทรัพย์ในอัลกุรอาน

[แก้]

غنیمتในรากศัพย์ของมันคือผลประโยชน์ที่หามาได้และในโองการอื่นๆของอัลกุรอานได้ให้ความหมายโดยรวมครอบคลุมทั้งหมดของสินทรัพย์(ฆอนียัต) เมื่อพวกท่านออกเดินทางไปยังกองทรัพย์เชลยเพื่อยึดเอามา ซึ่งเชลยอันมากมายที่พวกเจ้าจะได้รับมัน

สิ่งที่ต้องจ่ายคุมส์

[แก้]

ท่านซัยยิดมุฮัมหมัดยาวาดฆอรอวีได้เขียนไว้ในหนังสือของเขา คุมส์อยู่ในเจ็ดประเภท

  • หนึ่ง สิ่งที่ได้มาจากการสู้รบกับผู้ปฏิเสธ(กุฟาร)ไม่ว่าจะเคลื่อนย้ายได้หรือไม่ก็ตาม
  • สอง เหมืองแร่ ซึ่งแหล่งอ้างอิงมีรายงานไว้อย่างมากมายเช่น ศอฮีฟะฮ์ฮะละบี
  •  สาม ทรัพย์สมบัติรู้จักในทรัพย์ที่ถูกฝังไว้ในพื้นดินและผู้รู้(อุลมา)ให้ความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่าจำเป็นจะต้องจ่ายคุมส์
  • สี่ สิ่งที่นักดำน้ำนำขึ้นมาจากใต้ทะเลเช่น เครื่องประดับและไข่มุก ถ้ามีค่าเกินหนึ่งดีนารขึ้นไป 
  • ห้า สิ่งที่เหลือจากค่าใช้จ่ายประจำปีของเขาและคนที่อยู่ภายใต้การเลี้ยงดูของเขา
  • หก เมื่อใดที่กาเฟรซิมมี(ชาวคัมภีร์)ได้ซื้อที่ดินจากมุสลิมจำเป็นจะต้องจ่ายคุมส์
  • เจ็ด เมื่อใดสิ่งที่เป็นฮาลาล(อนุมัติ)และฮะราม(ไม่อนุมัติ)ผสมกันโดยไม่สามารถแยกแยะออกจากกันได้ จำเป็นจะต้องจ่ายคุมส์

ผู้มีสิทธิ์รับคุมส์

[แก้]

ส่วนมากของนักนิติศาสตร์(ฟะกีฮ์)ของชีอะฮ์มีความเชื่อว่าคุมส์แบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็นของซาดาต(ลูกหลานนบี)ที่ยากจน,ยะตีม,คนพัดถิ่น อีกส่วนหนึ่งเป็นของอิมามแห่งยุคสมัยซึ่งทั้งสองส่วนจะต้องนำไปมอบให้กับมารเยี่ยอ์ที่เราปฏิบัติตามหรือตัวแทนของท่าน นอกจากจะขออนุญาตจากท่านใช้ในเรื่องต่างๆและท่านก็อนุญาต ฟะกีฮ์ส่วนใหญ่ของชีอะฮ์ไม่ยอมรับว่าครึ่งหนึ่งของคุมส์นั้นเป็นของซาดาต(ลูกหลานนบี)

บทวิเคราะห์คุมส์

[แก้]

ท่านมุฮัมหมัดมุฮัมมะดีเรชะฮ์รีได้สอนในบทเรียนนิติศาสตร์ชั้นสูงของท่าน โดยนำเสนอริวายัต(รายงาน)ต่างๆมากมายที่บ่งบอกถึงการฮาลาลของคุมส์กับชีอะฮ์ซึ่งไม่มีการขัดแย้งกับความจำเป็นที่จะต้องจ่ายคุมส์ ในทรรศนของท่านริวายัตนี้เป็นที่ถกเถียงกันระหว่างชีอะฮ์และอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ ท่านมีความเชื่อว่าจำนวนริวายัตที่วิเคราะห์เรื่องคุมส์(กำไรจากการค้า)ในยุคสมัยของการอำพรางกาย(ฆัยบัต)มีสิบสองริวายัต โดยนำเสนอทรรศนของคูอี้,บุรูเญรดี,ซุบฮานี และมุฮักกิ้กดามาดในเรื่องรายงานนั้น ทรรศนของเรชะฮ์รีฟะกีฮ์ของชีอะฮ์ให้ทรรศนเดียวกันในการไม่วิเคราะห์ถึงตัวบทของคุมส์ในสมัยการฆัยบัต(อำพลางกาย)เป็นเหตุให้ต้องอธิบายและอ้างอิง แต่ว่าแนวทางของฟะกีฮ์ในการเข้าใจริวายัตก็แตกต่างกัน

ข้อทักท้วง 

[แก้]

อะห์หมัดกัซรอวีเชื่อว่าซะกาต ทรัพย์สินของอิมามเป็นภาษีของอิสลาม อิสลามนั้นมีการปกครอง ต้องมีกำลังทหาร ผู้ว่าการรัฐ อัยการและผู้พิพากษา รวมถึงตำรวจ จะต้องดูแลประเทศที่ใหญ่โตและปกครองดูแลมุสลิมดังนั้นจะต้องเก็บซะกาตและทรัพย์สินของอิมามจากประชาชน แต่ปัจจุบันระบอบการปกครองแบบอิสลามหนึ่งเดียวนั้นล่มสลายลงและทุกๆกลุ่มก้อนเชื้อชาติมุสลิมนั้นแบ่งแยกกันออกไป และต่างก็จัดตั้งการปกครองขึ้นมาโดยประชาชนได้จ่ายภาษีให้กับรัฐบาลนั้นๆ ดังนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องจ่ายซะกาตและทรัพย์สินของอิมามให้กับผู้นำทางศาสนา

แต่ว่าสิ่งที่ท่านกัซรอวีคิดนั้นกับตรงกันข้ามเพราะสองส่วนของคุมส์ที่ได้กล่าวไปนั้น(ในทรรศนของชีอะฮ์)ไม่ได้เอาไปใช้ในค่าใช้จ่ายของรัฐบาล