คำสั่งว่าด้วยลิขสิทธิ์ในตลาดเดียวดิจิทัล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คำสั่งว่าด้วยลิขสิทธิ์ในตลาดเดียวดิจิทัล (อังกฤษ: Directive on Copyright in the Digital Single Market) 2016/0280(COD) หรือเรียก คำสั่งลิขสิทธิ์อียู เป็นคำสั่งสหภาพยุโรป (อียู) ที่มีการเสนอโดยเจตนาเพื่อรับประกัน "ตลาดที่มีการทำหน้าที่อย่างดีสำหรับการแสวงหาประโยชน์ของงานและเนื้อหาสาระอื่น... โดยคำนึงถึงการใช้โดยเฉพาะดิจิทัลและเนื้อหาที่ได้รับการคุ้มครองข้ามพรมแดน"[1] คำสั่งฯ ขยายกฎหมายลิขสิทธิ์ของสหภาพยุโรปที่มีอยู่เดิม และเป็นส่วนประกอบของโครงการตลาดเดียวดิจิทัลของอียู[2] คณะกรรมาธิการรัฐสภายุโรปว่าด้วยกิจการกฎหมายริเริ่มคำสั่งฯ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2561 รัฐสภายุโรปอนุมัติคำสั่งฯ เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2561 และปัจจุบันกำลังผ่านการอภิปรายไตรภาคี (Trilogue) อย่างเป็นทางการซึ่งคาดว่าจะยุติในเดือนมกราคม 2562 หากได้รับการประมวล ประเทศสมาชิกอียูจะต้องตรากฎหมายเพื่อรองรับคำสั่งนี้[3]

ที่ประชุมยุโรปอธิบายเป้าหมายหลักของที่ประชุมฯ ว่าเป็นไปเพื่อคุ้มครองสิ่งพิมพ์เผยแพร่สื่อ ลด "ช่องว่างมูลค่า" ระหว่างกำไรที่แพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ตและผู้ผลิตเนื้อหาได้ ส่งเสริม "ความร่วมมือ" ระหว่างสองกลุ่มดังกล่าว และสร้างข้อยกเว้นด้านลิขสิทธิ์สำหรับการทำเหมืองข้อความและข้อมูล[4] ข้อเสนอจำเพาะของคำสั่งฯ รวมถึงการให้ลิขสิทธิ์โดยตรงแก่ผู้พิมพ์เผยแพร่สื่อในการใช้สิ่งพิมพ์เผยแพร่ของตนโดยแพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ตอย่างผู้เผยแพร่ข่าวออนไลน์ (ข้อ 11) และกำหนดให้เว็บไซต์ซึ่งให้มีเนื้อหาที่ผู้ใช้โพสต์เป็นหลักออกมาตรการ "ยังผลและได้สัดส่วน" เพื่อป้องกันการโพสต์ที่ไม่ได้รับอนุญาตซึ่งเนื้อหามีลิขสิทธิ์หรือต้องรับผิดสำหรับการกระทำของผู้ใช้ (ข้อ 13)

ข้อ 11 และ 13 ดึงดูดการวิจารณ์อย่างกว้างขวางทั้งจากในทวีปยุโรปและอเมริกา ข้อ 11 ถูกวิจารณ์ว่าเป็น "ภาษีลิงก์" ซึ่งกำหนดให้เว็บไซต์ "ได้ใบอนุญาตก่อนลิงก์ไปยังนิยายข่าว"[5] และข้อ 13 เป็น "การห้ามมีม" บนพื้นฐานที่ว่าเทคโนโลยีการจับคู่เนื้อหาที่ใช้เพื่อให้บรรลุข้อกำหนดของคำสั่งฯ ไม่สามารถระบุวิธีโดยชอบอย่างวรรณกรรมล้อ (parody) ได้[6] ผู้สนับสนุนคำสั่งฯ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มสื่อและผู้พิมพ์เผยแพร่ ปฏิเสธการให้เหตุผลเหล่านี้และอ้างว่าการเผยแพร่สารสนเทศเท็จและการรณรงค์ทำหญ้าเทียม (astroturfing)[เชิงอรรถ 1] ที่แพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ตขนาดใหญ่อย่างกูเกิลดำเนินการอยู่[7][8][9][10] ในเดือนพฤศจิกายน 2561 ข้างกูเกิลเริ่มการรณรงค์อย่างเปิดเผยต่อต้านข้อเสนอนี้ โดยขู่ปิดยูทูบในอียูหากไม่ได้รับการประนีประนอม[11]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. การทำหญ้าเทียม (astroturfing) หมายถึง การปกปิดผู้สนับสนุน (sponsor) ให้ดูเหมือนว่าแท้จริงแล้วกำเนิดขึ้นหรือได้รับการสนับสนุนจากรากหญ้า

อ้างอิง[แก้]

  1. European Commission (14 September 2016). "Proposal for a Directive of the European Parliament and of the Council on copyright in the Digital Single Market".
  2. European Commission. "The EU copyright legislation". สืบค้นเมื่อ 4 July 2018.
  3. Volpicelli, Gian. "The EU has passed Article 13, but Europe's meme war is far from over". สืบค้นเมื่อ 2018-09-12.
  4. "Copyright rules for the digital environment: Council agrees its position – Consilium". Europa (web portal). สืบค้นเมื่อ 1 July 2018.
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ BBC2018Meme
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :1
  7. "MYTHBUSTER". publishersright.eu (ภาษาอังกฤษ). European Magazine Media Association and others. สืบค้นเมื่อ 4 July 2018.
  8. "UK Music chief slams Google as "corporate vultures" as figures show Google's €31m EU lobbying bid". UK Music. สืบค้นเมื่อ 4 July 2018.
  9. Media Correspondent, Matthew Moore (2018-08-06). "Google funds website that spams for its causes". The Times (ภาษาอังกฤษ). ISSN 0140-0460. สืบค้นเมื่อ 2018-08-10.
  10. "#SaveYourInternet - Article 13". YouTube (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-11-21.