คาเงมะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ผู้ชายคนหนึ่งกำลังจู๋จี๋กับวากาชู ("หนุ่มวัยรุ่น" ในภาพอาจเป็นคาเงมะ เช่นกัน) และผู้ให้บริการทางเพศหญิง วากาชู (สวมผ้าโพกหัว) แอบจุมพิตกับผู้หญิงลับหลังอีกฝ่าย วาดโดย นิชิกาวะ ซุเกโนบุ ป. 1716–1735 ลงสีด้วยมือแบบชุนงะ
คาเงมะ นั่งบนตักของอีกฝ่ายที่อาวุโสกว่า วาดโดย มิยางาวะ อิชโช ในสปริงพาสต์ไทมส์ ค.ศ. 1750

คาเงมะ (ญี่ปุ่น: 陰間โรมาจิKagema) เป็นศัพท์ภาษาญี่ปุ่นที่ใช้หมายถึงผู้ให้บริการทางเพศวัยรุ่นชาย คาเงมะ มักกลายเป็นนักแสดงคาบูกิฝึกหัด (ซึ่งมักเป็นฝ่ายรับบริการทางเพศเอง) ทั้งลูกค้าชายและหญิงสามารถรับบริการคาเงมะ ได้ ลูกค้าชายมักร่วมเพศทางทวารหนักเป็นฝ่ายรุก[1]: 109  การใช้ปากกระทำอวัยวะเพศชายของกันและกันไม่ได้รับการกล่าวถึงในเอกสารยุคเอโดะ (ค.ศ. 1603–1867)[1]: 121–122 

คาเงมะ ที่ไม่ได้สังกัดโรงละครคาบูกิสามารถได้รับการจ้างผ่านซ่องโสเภณีชายหรือโรงน้ำชาที่เฉพาะทางด้านการให้บริการคาเงมะ[1]: 69–72  ซึ่งอาจเรียกโรงน้ำชานั้นว่าคาเงมาจายะ (陰間茶屋, Kagemajaya, "โรงน้ำชาคาเงมะ) ค่าบริการคาเงมะ เรียกเก็บในอัตราที่สูงกว่าผู้ให้บริการทางเพศหญิงอื่นในระดับเดียวกัน[1]: 111  และกิจการสามารถสร้างความมั่งคั่งแก่คาเงมะ ได้ถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 แม้ต้องผ่านข้อจำกัดทางกฎหมายที่เพิ่มมากขึ้น ว่าความพยายามใด ๆ ที่ให้ผู้ให้บริการทางเพศ (ทั้งชายและหญิง) อยู่ในเขตเมืองที่กำหนดไว้นั้นผิดกฎหมาย และร้องขอให้ห้ามปรามความสัมพันธ์ข้ามชนชั้นซึ่งถูกมองว่าเป็นการทำให้โครงสร้างทางสังคมที่มีมาแต่ในอดีตเสียระบบ[1]: 70–78, 132–134 

ผู้ให้บริการทางเพศหลายคนข้างต้น รวมถึงนักแสดงคาบูกิวัยเยาว์หลายคน เป็นแรงงานตามสัญญา (indentured servant) ขายตั้งแต่ยังเด็กแก่ช่องโสเภณีหรือโรงละคร ส่วนใหญ่ในสัญญา 10 ปี[1]: 69, 134–135  ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า คาเงมะ อาจเป็น ยาโร (ชายหนุ่ม), วากาชู (หนุ่มวัยรุ่น ราว 10–18 ปี) หรืออนนางาตะ (ชายแสดงเป็นหญิง)[1]: 90–92 

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 Leupp, Gary P. (1997). Male Colors: The Construction of Homosexuality in Tokugawa Japan. University of California Press. ISBN 978-0-520-20900-8.

หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]

  • Bernard Faure "The Red Thread" 1998.