คอมมานเดียร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คอมมานเดียร์
ผู้ผลิตไทยยูเนียนกราฟิกส์, คิดช์ แอนด์ คิดช์
จำนวนผู้เล่น2
อายุของผู้เล่น8 ขึ้นไป[ต้องการอ้างอิง]
ระยะเวลาเล่น15-30 นาที[ต้องการอ้างอิง]
เว็บไซต์www.commandeertcg.com

คอมมานเดียร์ (อังกฤษ: Commandeer) เป็นการ์ดเกมประเภทเทรดดิ้งการ์ดเกมสัญชาติไทย ผลิตโดยบริษัท ไทยยูเนียนกราฟิกส์ จำกัด จัดจำหน่ายโดยบริษัท คิดช์ แอนด์ คิดช์ จำกัด เปิดตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2558 โดยเป็นเกมการ์ดสำหรับเล่น 2 คนซึ่งจำลองการรบของหน่วยทหารของประเทศสมมุติต่างๆ ในปัจจุบันมีด้วยกันทั้งหมด 4 ประเทศ

เนื้อเรื่อง[แก้]

ประเทศสมมุติ[แก้]

มีทั้งหมด 4 ประเทศ ได้แก่

1. อวาลอน (อังกฤษ: Avalon) สโลแกน แข็งแกร่งและเป็นปึกแผ่น ต่อสู้เพื่อปกป้องในสิ่งที่ตนศรัทธา

เป็นทวีปที่มีความเชื่อมั่นในศาสนาเป็นอย่างมาก โดยการ์ดในสังกัดนี้จะมีลักษณะเด่นเป็นอัศวิน นักรบเกราะยุคกลางทางตะวันตก และนักบุญ

2. เลมิวเรีย (อังกฤษ: Lemuria) สโลแกน จ้าวแห่งเวทมนตร์และพลังเหนือธรรมชาติ

เป็นทวีปที่ประชากรมีความสามารถในการใช้เวทมนตร์เป็นพิเศษ โดยการ์ดในสังกัดนี้จะมีลักษณะเด่นเป็นแม่มด และนักเวทย์

3. แชงกรีลา (อังกฤษ: Shangri-la) สโลแกน ต่อสู้ด้วยความรวดเร็วและเด็ดขาด ด้วยวิถีแห่งดาบและจิตวิญญาน

เป็นทวีปที่มีความหลากหลายทางเผ่าพันธุ์ รวมถึงสภาพของภูมิประเทศ โดยการ์ดในสังกัดนี้จะมีลักษณะเด่นเป็นซามูไร นินจา รวมถึงสัตว์อสูรต่างๆ

4. ไฮเซนแบร์ก (เยอรมัน: Heisenberg) สโลแกน บทขยี้ศัตรูด้วยเทคโนโลยีที่เหนือกว่าทุกคนบนโลก

เป็นทวีปที่โดดเด่นในเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ โดยการ์ดในสังกัดนี้จะมีลักษณะเด่นเป็นทหาร นักรบแขนกล มนุษย์ดัดแปลง และหุ่นยนต์

ประเภทของการ์ด[แก้]

ยูนิตการ์ด[แก้]

เป็นการ์ดหน่วยทหารของประเทศสมมุตินั้นๆ โดยมีลักษณะเด่นคือที่มุมบนขวาจะมีตัวเลขแสดงค่าพลังโจมตีและค่าพลังชีวิตของยูนิตนั้นๆ รวมถึงด้านริมของการ์ดจะมีลูกศรสีเทาอย่างน้อย 1 ด้าน

อีเวนต์การ์ด[แก้]

เป็นการ์ดกลยุทธ์ หรือยุทธโนปกรณ์ เพื่อสร้างสถานการณ์ต่างๆภายในเกม โดยมีลักษณะเด่นคือที่มุมบนขวาจะมีสัญลักษณ์โล่พร้อมทั้งข้อความภาษาอังกฤษ "planning" หรือ "Defensive"

สนามที่ใช้ในเกม[แก้]

ในเกมนี้จำเป็นต้องใช้สนามสำหรับวางการ์ดในการเล่น โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้

ส่วนของผู้เล่น[แก้]

เป็นส่วนที่ใช้สำหรับการจัดการต่างๆของตัวผู้เล่น ซึ่งมีส่วนต่างๆ ดังนี้

  1. Commander Zone เป็นพื้นที่ใช้สำหรับวางการ์ดยูนิตประเภท Legendary
  2. Remove Zone เป็นพื้นที่ใช้สำหรับวางการ์ดที่ถูกเอาออกจากเกม โดยวางหงายหน้าการ์ด
  3. Deck เป็นพื้นที่ใช้วางสำรับการ์ดของผู้เล่น
  4. Retired Zone เป็นพื้นที่วางการ์ดใช้แล้ว หรือการ์ดที่ถูกทิ้งจากบนมือของผู้เล่น
  5. Energy Zone เป็นพื้นที่วางการ์ดเพื่อให้เป็น Energy โดยวางคว่ำหน้าการ์ด
  6. Defeated Zone เป็นพื้นที่วางการ์ดยูนิต ของเราที่ถูกคู่ต่อสู้ทำลาย โดยวางหงายหน้าการ์ด

ส่วนสนามรบ[แก้]

เป็นส่วนหลักภายในเกมสำหรับวางการ์ดขนาด 36 ช่อง โดยจัดเรียงในลักษณะ 6 x 6 ซึ่งมีบริเวณต่างๆ ดังนี้

  1. เขตสำหรับวางยูนิตตัวแรกของเกม เป็นบริเวณกึ่งกลาง 4 ช่อง โดยจัดเรียงในลักษณะ 2 x 2 ในเขตดังกล่าวจะมีตัวอักษรภาษาอังกฤษสีแดง Start Position อยู่ในแต่ละช่อง
  2. เขตลดพลังชีวิตของยูนิต เป็นบริเวณริมสุดของส่วนที่ใช้ร่วมกันรวม 20 ช่อง โดยแต่ละช่องจะมีตัวอักษรระบุจำนวนพลังชีวิตที่ลดลงหากมียูนิตเข้าไปในบริเวณดังกล่าว แบ่งออกเป็น 2 เขตย่อย คือ
    1. เขตลดพลังชีวิต 3000 จะมีตัวอักษรภาษาอังกฤษสีขาว Health -3000 อยู๋ในแต่ละช่อง โดยทั่วไปจะอยู่ริมของแต่ละด้าน ยกเว้นบริเวณมุม
    2. เขตลดพลังชีวิต 6000 จะมีตัวอักษรภาษาอังกฤษแดง Health -6000 อยู๋ในแต่ละช่อง โดยทั่วไปจะอยู่บริเวณมุมทั้งสี่ของส่วน
  3. เขตพื้นที่ปกติ เป็นบริเวณที่ช่องต่างๆเป็นสีดำโปร่งแสง

กติกาโดยสังเขป[แก้]

ช่วงการเล่น[แก้]

ในตาเล่นของผู้เล่น ผู้เล่นจะได้รับแต้มจำนวน 3 Command Point และจะดำเนินเข้าสู่ช่วงต่างๆ ตามลำดับดังนี้

ช่วงวางแผน (Planning Phase) เป็นช่วงที่ผู้เล่นสามารถใช้แต้มที่ได้ร่วมกับ Energy ที่มีเพื่อลงการ์ดยูนิตในสนาม, เล่นอีเวนต์การ์ดที่มีสัญลักษณ์ Planning, จั่วการ์ดจากสำรับตนเอง 2 ใบแล้วเลือกทิ้ง 1 ใบลงในEnergy Zone และ/หรือ เคลื่อนที่Unit Card

ช่วงป้องกัน (Defending Phase) เป็นช่วงที่อนุญาตให้ผู้เล่นอีกฝ่ายสามารถใช้ Energy ที่มีเพื่อเล่นการ์ดอีเวนต์ที่มีสัญลักษณ์ Defensive ซึ่งผู้เล่นอีกฝ่ายมีสิทธิ์บอกผ่านได้

ช่วงการรบ (Combat Phase) เป็นช่วงที่ผู้เล่นสามารถเลือกโจมตีการ์ดยูนิตของฝ่ายตรงข้ามได้ โดยยูนิตที่แพ้จากการรบจะถูกนำไปไว้ใน Defeat Zone ของเจ้าของการ์ดในสภาพหงายหน้า

ช่วงจบตาเล่น (End Phase) เป็นช่วงที่นำแต้ม Command Point ที่เหลืออยู่ออกทั้งหมด และตรวจสอบการ์ดที่เหลืออยู่บนมือไม่ให้เกิน 7 ใบ

การตัดสินผล[แก้]

ผู้เล่นจะเป็นฝ่ายแพ้ทันทีหากการ์ดที่อยู่ในสนามเข้าเงื่อนไขเงื่อนไขหนึ่งต่อไปนี้

  1. มีการ์ดอยู่ใน Defeat Zone จำนวน 6 ใบ
  1. ในช่วงจบเทิร์นของผู้เล่นแต่ละคนถ้าผู้เล่นเจ้าของเทิร์นไม่มียูนิทอยู่ในสนามต้องนำการ์ดใบบนสุดของกองการ์ดเข้าสู่ Defected zone ในสภาพคว่ำหน้า1ใบ

ชุดการ์ด[แก้]

ชื่อชุด จำนวนการ์ดในชุด วันวางจำหน่าย
The 4 Continents 108ใบ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2558
Clash of The Guardians 108ใบ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558
Visitors 84ใบ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ดูเพิ่ม[แก้]

การ์ดเกม

อ้างอิง[แก้]


แหล่งข้อมูล[แก้]

เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ เก็บถาวร 2015-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

เฟซบุ๊คแฟนเพจอย่างเป็นทางการ