ข้ามไปเนื้อหา

คว่ำบาตร ลดการลงทุน และลงโทษ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ขบวนการคว่ำบาตร ลดการลงทุน และลงโทษ (อังกฤษ: Boycott, Divestment and Sanctions; ย่อ: BDS) เป็นขบวนการซึ่งมีชาวปาเลสไตน์เป็นผู้นำ[1] ซึ่งสนับสนุนการคว่ำบาตร ลดการลงทุนและลงโทษทางเศรษฐกิจต่อประเทศอิสราเอล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกดดันอิสราเอลให้ยินยอมต่อซึ่งที่ขบวนการ BDS เรียกว่าเป็นข้อผูกพันของอิสราเอลภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ[2] ซึ่งนิยามว่าเป็นการถอนตัวออกจากดินแดนยึดครอง การรื้อถอนสิ่งกีดขวางแบ่งแยกในเวสต์แบงก์ ความเสมอภาคสมบูรณ์สำหรับพลเมืองอิสราเอลเชื้อสายอาหรับ-ปาเลสไตน์ และ "การเคารพ คุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้ลี้ภัยปาเลสไตน์ในการหวนคืนสู่บ้านเกิดและทรัพย์สินของพวกเขา"[3] คณะกรรมการแห่งชาติบีดีเอสปาเลสไตน์เป็นผู้จัดระเบียบและประสานงานขบวนการดังกล่าว[4]

BDS ออกแบบตามขบวนการต่อต้านการถือผิวในประเทศแอฟริกาใต้ (apartheid)[5] มีสัญลักษณ์นำโชค คือ ฮันดาลา สัญลักษณ์ของอัตลักษณ์และการต่อสู้ของชาวปาเลสไตน์[6]

ผู้วิจารณ์กล่าวว่า BDS เป็นขบวนการต่อต้านยิว[7] ลดทอนความชอบธรรมของอิสราเอล[8] และไม่ต่างจากการกีดกันยิวในอดีต[9] การตอบโต้ BDS มีลำดับความสำคัญต้น ๆ ในการวิ่งเต้นของอิสราเอลในสหรัฐ ซึ่งประสบความสำเร็จในการผ่านกฎหมายต่อต้านขบวนการ BDS ในหลายรัฐ[10]

อ้างอิง

[แก้]
  1. The Times of Israel 2019: The Strategic Affairs Ministry said the Palestinian-led movement that promotes boycotts against Israel is behind the effort.; Holmes 2019: The event has become a target for the Palestinian-led Boycott, Divestment, Sanctions (BDS) campaign; Trew 2019: by activists spearheaded by the Palestinian-led campaign Boycott, Divestment, Sanctions (BDS).
  2. Tripp 2013, p. 125: the BDS organized urged 'various forms of boycott against Israel until it meets its obligations under international law'
  3. Tripp 2013, p. 125.
  4. Bueckert 2020, p. 203.
  5. Mullen & Dawson 2015, p. 32: the Palestinian BDS campaign, modeled on the South African antiapartheid global campaign; Hanssen & Ghazal 2020, p. 693: The Palestinian boycott, divestment and sanctions campaign (BDS) modeled on the anti-apartheid movement in South Africa.; Lamarche 2019, p. 309.
  6. Fayeq 2009: On the walls of occupied Palestine, in protests and demonstrations all over the world, Handala has become a symbol of Palestinian struggle and resistance. He is a representative of the refugees and their right of return to their homeland.
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ bds-antisemitic
  8. Anti-Defamation League 2016.
  9. Harawi 2020, p. 184: Alan Dershowitz argues that the BDS movement has its roots in the Nazi boycott of Jewish establishments in the 1930s; Nasr & Alkousaa 2019: The motion said a BDS campaign calling for Israeli products to be labeled with 'Don’t Buy' stickers was reminiscent of the Nazi-era boycott of Jewish businesses.; Mendes 2014, p. 89: Julius (2010) argues that the boycott campaign has a nasty historical resonance given the earlier Nazi boycott of Jews in Germany
  10. Pink 2020.