ข้ามไปเนื้อหา

ความหลากหลายทางชีวภาพในเบอร์มิวดา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ต้นซีดาร์เบอร์มิวดา ในเขตชานเมืองของแฮมิลตัน

พืชและสัตว์ของเบอร์มิวดาเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศที่มีลักษณะเฉพาะ เนื่องจากการแยกเบอร์มิวดาจากแผ่นดินใหญ่ของทวีปอเมริกาเหนือ ความหลากหลายของสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและหมู่เกาะในรูปแบบเขตภูมินิเวศที่ต่างกัน นั่นคือ ป่าสนเบอร์มิวดากึ่งเขตร้อน

ลักษณะ

[แก้]

ตั้งอยู่ 900 กม. จากชายฝั่งอเมริกันตะวันออก เบอร์มิวดาเป็นหมู่เกาะห่วงโซ่รูปพระจันทร์เสี้ยว 184 เกาะ และเกาะเล็กเกาะน้อยที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นชายขอบของภูเขาไฟ หมู่เกาะค่อนข้างเป็นเนินเขามากหน้าผาสูงชัน กับจุดที่สูงที่สุดคือ 79 ม. ส่วนชายฝั่งมีอ่าวและเวิ้งจำนวนมาก กับหาดทรายโดยเฉพาะอย่างยิ่งบนชายฝั่งทางตอนใต้ เบอร์มิวดามีภูมิอากาศแบบกึ่งเขตร้อน และอบอุ่นในปัจจุบันโดยกระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีม มีจำนวนยี่สิบเกาะซึ่งเป็นที่อยู่อาศัย และเบอร์มิวดาเป็นหนึ่งในประเทศที่มีประชากรหนาแน่นมากที่สุดในโลก

เฉพาะสัตว์ที่สามารถบินไปหมู่เกาะหรือได้รับการพัดพาโดยลมและสายธารได้ก่อเกิดสายพันธุ์ จึงไม่มีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมพื้นเมืองอื่น ๆ นอกเหนือจากค้างคาว และมีสัตว์เลื้อยคลานเพียงสองชนิดเท่านั้น แต่จะมีสายพันธุ์นก, พืช และแมลงจำนวนมาก[1][2] เมื่ออยู่บนเกาะ บรรดาสิ่งมีชีวิตได้ปรับตัวเข้ากับสภาพท้องถิ่น เช่น ภูมิอากาศชื้น, การขาดแคลนน้ำจืด, การเกิดพายุบ่อยครั้ง และละอองน้ำเกลือ พื้นที่ของเกาะหดตัวลงตามระดับน้ำที่เพิ่มขึ้นในตอนท้ายของยุคสมัยไพลสโตซีน และจำนวนสายพันธุ์ที่น้อยลงก็สามารถอยู่รอดในการลดลงของพื้นที่ ซึ่งมีเกือบ 8,000 สายพันธุ์ที่แตกต่างกันของพืชและสัตว์ที่เป็นที่รู้จักจากหมู่เกาะเบอร์มิวดา และมีแนวโน้มจำนวนสูงกว่าหากนับจำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมด ที่อาศัยอยู่ในถ้ำกับสายพันธุ์ในทะเลลึก[3]

ปัจจุบัน ความหลากหลายของสายพันธุ์ในเบอร์มิวดาได้มีการเพิ่มขึ้นอย่างมากโดยชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ทั้งที่โดยเจตนาและไม่ได้เจตนา ซึ่งชนิดพันธุ์ต่างถิ่นเหล่านี้ได้เป็นภัยคุกคามต่อพืชและสัตว์เพราะการชิงชัยและการรบกวนที่อยู่อาศัย

ชีวิตทางทะเล

[แก้]
วาฬหลังค่อม

เบอร์มิวดาอยู่ทางชายขอบฝั่งตะวันตกของทะเลซาร์แกสโซ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความเค็มสูง, อุณหภูมิสูง และกระแสน้ำไม่กี่กระแส โดยมีสาหร่ายทะเลสกุลสาหร่ายนุ่น (Sargassum) จำนวนมากในปัจจุบัน และมีความเข้มข้นสูงของแพลงก์ตอน แต่เป็นพื้นที่ที่น่าสนใจน้อยสำหรับสายพันธุ์ปลาในเชิงพาณิชย์กับนกทะเล

ส่วนความหลากหลายที่มีมากกว่าคือพืดหินปะการังที่ล้อมรอบเกาะ

ความหลากหลายของวาฬ, โลมา และพอร์พอยส์ได้รับการบันทึกในน่านน้ำรอบ ๆ เบอร์มิวดา ที่พบมากที่สุดของสัตว์กลุ่มนี้คือวาฬหลังค่อม ซึ่งจะผ่านเกาะในเดือนเมษายนและเดือนพฤษภาคมในระหว่างการอพยพไปทางทิศเหนือ

อ้างอิง

[แก้]
  1. Parham, James (23 April 2008). "Introduced delicacy or native species? A natural origin of Bermudian terrapins supported by fossil and genetic data". Biology Letters. สืบค้นเมื่อ 11 December 2013.
  2. Brandley, Matthew (30 June 2010). "Bermuda as an Evolutionary Life Raft for an Ancient Lineage of Endangered Lizards". Biology Letters. สืบค้นเมื่อ 11 December 2013.
  3. Bermuda Aquarium, Museum & Zoo. "Bermuda Biodiversity Project". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-12. สืบค้นเมื่อ 2 October 2010.
  • Amos, Eric J. R. (1991) A Guide to the Birds of Bermuda, privately published.
  • Bermuda Aquarium, Museum and Zoo Bermuda Biodiversity Project เก็บถาวร 2010-08-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, downloaded 21/02/07.
  • Dobson, A. (2002) A Birdwatching Guide to Bermuda, Arlequin Press, Chelmsford, UK.
  • Flora of Bermuda (Illustrated) by Nathaniel Lord Britton, Ph.D., Sc.D., LL.D. (Published 1918)
  • Forbes, Keith Archibald (2007) Bermuda's Fauna, downloaded 21/02/07.
  • Gehrman, Elizabeth (2102) Rare Birds: The Extraordinary Tale of the Bermuda Petrel and the Man Who Brought It Back from Extinction (Beacon Press).
  • Ogden, George (2002) Bermuda A Gardener's Guide, The Garden Club of Bermuda
  • Raine, André (2003) A Field Guide to the Birds of Bermuda, Macmillan, Oxford.
  • "Bermuda subtropical conifer forests". Terrestrial Ecoregions. World Wildlife Fund. สืบค้นเมื่อ 21/02/07. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]