ความสอดคล้องกันของจอตา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ความสอดคล้องกันของจอตา[1] (อังกฤษ: Retinal correspondence) เป็นความสัมพันธ์แบบจับคู่ตามธรรมชาติระหว่างเซลล์ของจอตาทั้งสองข้างของมนุษย์ คือภาพจากวัตถุเดียวกันจะเร้าเซลล์ทั้งสองชุด ซึ่งก็จะส่งข้อมูลไปยังสมอง ที่ประมวลข้อมูลให้เป็นภาพเดียวโดยอยู่ที่ตำแหน่งเดียวกันในปริภูมิ[2]

รูปแบบ[แก้]

Normal retinal correspondence (NRC, ความสอดคล้องกันของจอตาแบบปกติ) เป็นภาวะการเห็นด้วยสองตาที่รอยบุ๋มจอตาทั้งสองทำงานร่วมกันโดยมีจุดอื่น ๆ ในจอตาที่สอดคล้องกันด้วย มีผลให้เปลือกสมองส่วนการเห็นสามารถรวมภาพจากสองตาเป็นภาพเดียวกัน[2]

Abnormal/anomalous retinal correspondence (ARC, ความสอดคล้องกันของจอตาแบบผิดปกติ) เป็นการปรับตัวของระบบประสาทสัมผัสต่อการเห็นด้วยสองตาที่มีการเบี่ยงเบนอย่างผิดปกติเป็นระยะเวลานาน (เช่น ตาเหล่) คือ รอยบุ๋มจอตาของตาที่ไม่เข กับบริเวณจอตาที่ไม่ใช่รอยบุ๋มของตาที่เขจะทำงานร่วมกัน โดยบางครั้งทำให้เห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตา[2]

ดูเพิ่ม[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. "correspondence", Lexitron พจนานุกรมไทย<=>อังกฤษ รุ่น 2.6, หน่วยปฏิบัติการวิจัยวิทยาการมนุษยภาษา, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2546, ความสอดคล้อง
  2. 2.0 2.1 2.2 Cassin, B; Solomon, S (1990). Dictionary of Eye Terminology. Gainesville, Florida: Triad Publishing Company.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]