ความฝันของอดีต: เซอร์อิสซุมบราที่ลำธารตื้น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความฝันของอดีต:
เซอร์อิสซุมบราที่ลำธารตื้น
ศิลปินจอห์น เอเวอเรตต์ มิเล
ปีค.ศ. 1857
ประเภทจิตรกรรมสีน้ำมันบนผ้าใบ
สถานที่หอศิลป์เลดีลีเวอร์, พอร์ตซันไลต์
"อัศวิน ความตาย และปีศาจ" โดย อัลเบรชท์ ดือเรอร์

ความฝันของอดีต: เซอร์อิสซุมบราที่ลำธารตื้น (อังกฤษ: A Dream of the Past: Sir Isumbras at the Ford) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยจอห์น เอเวอเรตต์ มิเล จิตรกรกลุ่มนิยมแบบก่อนราฟาเอลชาวอังกฤษ ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์เลดีลีเวอร์ที่พอร์ตซันไลต์ในอังกฤษ

ประวัติ[แก้]

มิเลเขียนภาพ "ความฝันของอดีต" เสร็จในปี ค.ศ. 1857 เป็นภาพของอัศวินของยุคกลางที่ช่วยเด็กชาวบ้านสองคนข้ามลำน้ำที่เอ่อฝั่ง เด็กมีกองฟืนสำหรับก่อผิงไฟยามอากาศหนาว แม้ว่าชื่อภาพจะมาจากโคลงสมัยกลาง "เซอร์อิสซุมบรา" แต่ก็มิได้เขียนฉากจากเนื้อหาเดิม เพื่อนของมิเล ทอม เทย์เลอร์ เขียนโคลงเลียนแบบโคลงต้นฉบับบรรยายเหตุการณ์ในภาพเขียนแทน ที่รวมอยู่ในแคตาล็อกในการแสดงครั้งแรก

เมื่อตั้งแสดงเป็นครั้งแรกก็ก่อให้เกิดความขัดแย้งและถูกโจมตีโดยนักวิจารณ์หลายคนโดยเฉพาะจอห์น รัสคินผู้ที่ตามปกติมันจะสนับสนุนมิเลก็ประกาศว่าภาพเขียนเป็นสิ่ง "หายนะ"

นอกจากนั้นภาพก็ยังถูกล้อเลียนในภาพพิมพ์โดยเฟรเดอริก แซนส์ (Frederick Sandys) ชื่อ "ฝันร้าย" (A Nightmare) ที่แทนบุคคลในภาพด้วยจิตรกรกลุ่มนิยมแบบก่อนราฟาเอล โดยมีเลส์เป็นอัศวินในภาพ ดานเต เกเบรียล รอสเซ็ตติ และวิลเลียม โฮลแมน ฮันท์ ถูกวาดล้อเป็นเด็ก และม้าถูกเปลี่ยนเป็นลาที่มีตรารัสคินประทับ[1]

หัวเรื่องของภาพ[แก้]

โคลงต้นฉบับบรรยายถึงอัศวินผู้หยิ่งผยองผู้ต้องมาตกยากเพราะสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อยังหนุ่มเป็นเรื่องที่นำมาจากพระธรรมโจป (Book of Job) และตำนานของนักบุญยูสเทช (Saint Eustace) มิเลแสดงอัศวินเป็นชายสูงอายุที่ท่าทางถ่อมตน เฟรดเดอริค จอร์จ สตีเฟ็น (Frederic George Stephens) บรรยายภาพว่า:

"เซอร์อิสซุมบราที่ลำธารตื้น" เป็นหัวข้อของภาพเขียนที่มิเลถือว่าเป็นงานเอกในปี ค.ศ. 1857 เป็นภาพของขุนนางโบราณสวมเกราะทองเต็มยศ ผู้ที่ผ่านประสบการณ์อันรุ่งเรืองในชีวิต — เกียรติศักดิ์จากสงคราม, ชัยชนะ และรางวัล, ความมั่งคั่งและความภูมิใจ แม้ว่าจะสูงด้วยอายุและเหนื่อยร้าจากการสงครามที่ผ่านมา แต่สายตาก็ยังแจ่มใสไปด้วยความรุ่งเรืองของชีวิตมนุษย์ และกระนั้นด้วยศักดิ์ศรีของความเป็นอัศวินก็ยังก้มลงช่วยเด็กเล็กๆ สองคน โดยอุ้มขึ้นบนหลังม้าที่ผ่านสงครามมาข้ามแม้น้ำ ทั้งที่เป็นเพียงลูกของคนตัดไม้ ใบหน้าของนักรบเป็นใบหน้าของผู้ที่ได้รับความสำเร็จจากสิ่งที่ไม่น้อยไปกว่าแรงบันดาลใจ พระอาทิตย์ส่องสว่างไกลออกไปในป่าที่ขอบน้ำที่เป็นสัญลักษณ์ของชีวิตที่เกือบจะสิ้นสุดของนักการสงคราม"[2].

หัวเรื่องของความเป็นอัศวิน (Chivalry) เป็นหัวเรื่องที่นิยมกันในสมัยวิคตอเรีย ที่รัสคินเองและนักเขียนคนอื่นๆ เช่นชาร์ลส์ คิงสลีย์ (Charles Kingsley) ต่างก็กล่าวถึง ผู้ที่เห็นว่าเป็นคุณลักษณะที่จะกำจัดการแบ่งชั้นวรรณะ ที่เปรียบได้กับเพลงคริสต์มัส "พระเจ้าเวนสลาสผู้กรุณา" (Good King Wenceslas) ที่เขียนในทศวรรษเดียวกัน ที่บรรยายชนชั้นเจ้าที่ช่วยชาวบ้านที่ออกไปหาฟืน มิเลอาจจะได้รับอิทธิพลจากภาพพิมพ์ "อัศวิน, ความตาย และปีศาจ" (The Knight, Death and the Devil) โดย อัลเบรชท์ ดือเรอร์

ความขัดแย้ง[แก้]

คำวิจารณ์ต่อภาพเขียนเมื่อตั้งแสดงครั้งแรกส่วนใหญ่เป็นความวิจารณ์ทางร้าย นักวิจารณ์หลายคนพบว่าม้าตัวใหญ่เกินไปและอีกหลายคนมีความรู้สึกว่าสีหน้าของเด็กมีความรู้สึกมากเกินไป โดยเฉพาะรัสคินผู้ประณามภาพเขียนในข้อที่ว่าเขียนผิด "ไวยากรณ์ของการเขียนภาพ" โดยเขียนด้านหน้าภาพอ่อนกว่าเนินในฉากหลังของภาพ และยังกล่าวว่ามิเลไม่เพียงแต่จะล้ม—แต่ยังล้มอย่างหายนะ

เพื่อเป็นการแก้ มิเลพยายามเขียนบางส่วนใหม่ก่อนที่จะส่งไปที่งานแสดงที่ลิเวอร์พูล งานเขียนใหม่ได้รับรางวัลที่ลิเวอร์พูล มิเลนำออกแสดงอีกครั้งหลังจากเพิ่มการตกแต่งบังเหียนและอาน

อิทธิพล[แก้]

แม้ว่าภาพเขียนจะไม่ได้การต้อนรับเป็นอย่างดี แต่ภาพพิมพ์กลายมามีอิทธิพลต่อการเขียนภาพเกี่ยวกับการเป็นอัศวินในยุคกลาง และมีอิทธิพลต่อผู้เขียนการ์ตูนการเมืองที่เห็นตัวอย่างจากงานของแซนส์ที่ และใช้นักการเมืองแทนที่และใช้ภาพนี้เขียนกันต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรที่ 20[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. Victorian Web: Sir Isumbras at the Ford
  2. Millais, J.G, The Life and Letters of Sir John Everett Millais, vol I, p.312
  3. Codell, Julie F. Sir Isumbras, M.P.: Millais's Painting And Political Cartoons, Journal of Popular Culture, 22:3, Winter 1988

ดูเพิ่ม[แก้]