ควทซ์เกอซาคท์
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2556 | ||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ผู้ก่อตั้ง | ฟิลลิพ เด็ทเมอร์ | ||||||||||||
ประเภท | เอกชน | ||||||||||||
วัตถุประสงค์ | สตูดิโอแอนิเมชัน | ||||||||||||
ที่ตั้ง | |||||||||||||
เจ้าของ | ฟิลลิพ เด็ทเมอร์ | ||||||||||||
พนักงาน (พ.ศ. 2563) | 31[1] | ||||||||||||
เว็บไซต์ | kurzgesagt.org | ||||||||||||
ข้อมูลยูทูบ | |||||||||||||
ปีที่มีการเคลื่อนไหว | พ.ศ. 2556–ปัจจุบัน | ||||||||||||
ประเภท | |||||||||||||
จำนวนผู้ติดตาม | มากกว่า 11.4 ล้าน[2] | ||||||||||||
จำนวนผู้เข้าชม | มากกว่า 917 ล้าน[2] | ||||||||||||
| |||||||||||||
ยอดผู้ติดตามและผู้เข้าชม ณ วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2563. | |||||||||||||
ควทซ์เกอซาคท์ – อินอะนัตเชลล์ (อังกฤษ: Kurzgesagt – In a Nutshell;[3] ก่อนหน้านั้นใช้ชื่อว่า ควทซ์เกอซาคท์) เป็นช่องยูทูบที่ตั้งอยู่ในมิวนิก ก่อตั้งโดยฟิลลิพ เด็ทเมอร์ (Philipp Dettmer) และบรรยายโดยสตีฟ เทย์เลอร์ ช่องนี้เป็นหนึ่งในช่องที่นำเสนอความรู้ที่ใหญ่ที่สุดในยูทูบ แต่ละวิดีโอจะมีความยาวประมาณ 4–16 นาที และมีผู้ติดตามทั้งหมด 16 ล้านคน[4][5]วิดีโอส่วนใหญ่กล่าวถึงวิชาวิทยาศาสตร์ เช่น บิกแบง, วิวัฒนาการของมนุษย์ และสาขาวิชาอื่น ๆ เช่น เทคโนโลยี, การเมือง, ปรัชญา, จิตวิทยา ช่องนี้มีช่องภาษาเยอรมันชื่อว่า ดิงเงอแอร์แคลร์ท – ควทซ์เกอซาคท์ (Dinge Erklärt – Kurzgesagt)
ประวัติ[แก้]
ช่องควทซ์เกอซาคท์สร้างขึ้นในวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 โดยที่วิดีโอแรกเป็นการอธิบายเรื่องทฤษฎีวิวัฒนาการ และเป็นวิดีโอที่โด่งดังไปมากกว่าที่คาดเอาไว้[6]
ใน พ.ศ. 2558 ทางควทซ์เกอซาคท์ได้สร้างวิดีโอเกี่ยวกับจุดจบของโรคให้แก่มูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์และองค์กรอื่นอีกมากมาย[7]
ใน พ.ศ. 2562 ควทซ์เกอซาคท์กลายเป็นช่องเยอรมันช่องแรกที่มีผู้ติดตามมากกว่า 10 ล้านคนบนยูทูบ[8]
ชื่อ[แก้]
ชื่อมีที่มาจากวลีภาษาเยอรมันว่า "ควทซ์เกอซาคท์" (kurz gesagt, ออกเสียง: [ˈkʊɐ̯t͡s ɡəˈzaːkt]) ซึ่งแปลตรงตัวได้ว่า "กล่าวโดยย่อ"[9][10] [11]
ข้อโต้แย้ง[แก้]
ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 ทางช่องได้เผยแพร่วิดีโอ "คุณเชื่อวิดีโอของควทซ์เกอซาคท์หรือไม่?" (Can You Trust Kurzgesagt Videos?) ซึ่งยืนยันว่าช่องนี้อาจจะไม่ได้ตรวจสอบข้อมูลถูกต้องแต่อย่างใด เนื่องจากวิดีโอเกี่ยวกับยาเสพติดและวิกฤตการณ์ผู้ย้ายถิ่นยุโรปใน พ.ศ. 2558 ใช้แหล่งอ้างอิงเพียงแหล่งเดียว จึงทำให้มีการลบคลิปนี้ (ถึงแม้ว่าจะมีในช่องภาษาเยอรมันก็ตาม)[3]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "About". Kurzgesagt – In a Nutshell (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-03-06.
- ↑ 2.0 2.1 "Kurzgesagt – In a Nutshell". YouTube (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-02-16.
- ↑ 3.0 3.1 Kurzgesagt. "Can You Trust Kurzgesagt Videos?". YouTube. สืบค้นเมื่อ 12 March 2019.
- ↑ "Kurzgesagt – In a Nutshell YouTube Channel Analytics and Report". www.noxinfluencer.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-08-20.
- ↑ "kurzgesagt YouTube Stats, Channel Statistics". socialblade.com. สืบค้นเมื่อ February 19, 2020.
- ↑ "About". Kurzgesagt. สืบค้นเมื่อ 27 July 2017.
- ↑ "Kurzgesagt". www.facebook.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-07-27.
- ↑ "YouTube's 2019 Rewind focuses on the basics after 2018 video fiasco". wusa9.com. สืบค้นเมื่อ February 27, 2020.แม่แบบ:Primary source inline
- ↑ "kurz - Wiktionary". en.wiktionary.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-07-27.
- ↑ "sagen - Wiktionary". en.wiktionary.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-07-27.
- ↑ "In a Nutshell – Kurzgesagt - The Shorty Awards". shortyawards.com. สืบค้นเมื่อ 2017-07-27.