คล็อกคลีนเนอร์ส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คล็อกคลีนเนอร์ส
มิกกี้ เมาส์ ซีรีส์
ป้ายประกาศสแตนดีเปิดตัวภาพยนตร์
กำกับเบน ชาร์ปสทีน
ผลิตวอลต์ ดิสนีย์
ให้เสียงพากย์วอลต์ ดิสนีย์
คลาเรนซ์ แนช
ปินโต คอลวิก
ดนตรีพอล สมิธ
โอลิเวอร์ วอลเลซ
แอนิเมชันชัค โคช
เฟรชี เดเทรเมาเดน
อัล ยูกสเตอร์
โวล์ฟกัง ไรเทอร์มัน
บิล โรเบิร์ตส
สตูดิโอวอลต์ ดิสนีย์ โปรดักชันส์
จัดจำหน่ายอาร์เคโอเรดิโอพิกเจอร์ส
เผยแพร่15 ตุลาคม ค.ศ. 1937 (1937-10-15)
กระบวนการสีเทคนิคัลเลอร์
ความยาว8 นาที
ประเทศสหรัฐอเมริกา
ภาษาอังกฤษ
ก่อนหน้าฮาวายเอียนฮอลิเดย์
ตามมาคุณผีขี้เหงา

คล็อกคลีนเนอร์ส (อังกฤษ: Clock Cleaners) เป็นภาพยนตร์สั้นการ์ตูนอเมริกัน ค.ศ. 1937 ที่ได้รับการผลิตโดยวอลต์ ดิสนีย์ โปรดักชันส์ และได้รับการเปิดตัวโดยอาร์เคโอพิกเจอร์ส การ์ตูนนี้ประกอบด้วยมิกกี้ เมาส์, โดนัลด์ ดั๊ก และกู๊ฟฟี่ ซึ่งทำงานเป็นภารโรงในหอนาฬิกาสูง ภาพยนตร์ชุดนี้กำกับโดยเบน ชาร์ปสทีน และมีเพลงต้นฉบับโดยพอล สมิธ และโอลิเวอร์ วอลเลซ ผู้ให้เสียงพากย์ประกอบด้วย วอลต์ ดิสนีย์ พากย์เสียงเป็น มิกกี้ เมาส์, คลาเรนซ์ แนช พากย์เสียงเป็น โดนัลด์ ดั๊ก และปินโต คอลวิก พากย์เสียงเป็น กู๊ฟฟี่[1][2][3]

คล็อกคลีนเนอร์ส เป็นหนึ่งในภาพยนตร์สั้นที่ได้รับการสรรเสริญจากนักวิจารณ์มากที่สุดเรื่องหนึ่งของดิสนีย์ ในปี ค.ศ. 1994 สมาชิกสายงานแอนิเมชัน 1,000 ราย ได้โหวตให้คล็อกคลีนเนอร์ส อยู่ในอันดับที่ 27 ของการ์ตูนยอดเยี่ยมสูงสุดตลอดกาล[4]

เนื้อเรื่องย่อ[แก้]

มิกกี้ เมาส์, โดนัลด์ ดั๊ก และกู๊ฟฟี่ ต่างได้รับมอบหมายในการทำความสะอาดหอนาฬิกาสูง มิกกี้ เมาส์ ทำความสะอาดหน้าปัดด้านนอกด้วยไม้ถูพื้นโดยยืนอยู่บนเข็มนาฬิกา ส่วนกู๊ฟฟี่ทำความสะอาดด้านในโดยใช้แปรงสีฟันขนาดใหญ่ และโดนัลด์ ดั๊ก (ซึ่งกำลังร้องเพลง "ฮิคกอรี ดิคกอรี ด็อค") ได้เริ่มการเช็ดสปริงตัวสำคัญ โดยไม่สนใจสัญญาณเตือนที่เกิดขึ้นหลายครั้ง เขาได้ทำการเช็ดสปริงจนเกิดอาการหลวม

ในขณะที่มิกกี้ เมาส์ ซึ่งตอนนี้ได้ทำความสะอาดภายในนาฬิกา ได้มาเจอกับนกกระสาที่กำลังนอนหลับ โดยที่มิกกี้ เมาส์ ไม่ประสบความสำเร็จในความพยายามที่จะโยกย้าย โดยที่เขาได้ถูกหิ้วไปยังเชือกที่อยู่ด้านนอกของหอนาฬิกา

ส่วนทางด้านใน โดนัลด์ ดั๊ก ได้ซ่อมสปริงตัวสำคัญให้เข้าที่ด้วยค้อน แต่เขาก็ต้องดิ้นรนในชิ้นส่วนสุดท้ายเป็นอย่างมาก โดนัลด์ ดั๊ก จึงรู้สึกโมโหและเริ่มท้าทาย สปริงดูเหมือนจะตอบสนองด้วยการสะท้อนเสียงท้าทายกลับ โดนัลด์ ดั๊ก ทำการโต้เถียงกับสปริง แต่เขาก็เป็นฝ่ายถูกน็อคเสียเอง โดนัลด์ ดั๊ก กระเด็นไปติดอยู่ในซอกของเพลาจักรกรอก จนเมื่อเขาสามารถหลุดพ้นออกจากเพลาแล้ว แรงส่ายนั่นก็ได้ส่งผลให้เขายังคงขยับร่างกายส่ายไปมา

ส่วนเหตุการณ์ด้านนอก กู๊ฟฟี่ (ซึ่งกำลังร้องเพลง "เออะสลีปอินเดอะดีพ") ได้ทำความสะอาดที่ระฆังด้านนอก ครั้นเมื่อเขาทำความสะอาดที่ภายในของระฆัง ก็ได้เริ่มเข้าสู่เวลา 4:00 น. ซึ่งเป็นช่วงที่รูปปั้นจักรกลต้องออกมาจากหอเพื่อเคาระระฆังสี่ครั้ง รูปปั้นกลรูปแรก ซึ่งมีลักษณะประหนึ่งเทพแห่งกาลเวลา ได้สร้างความตกใจให้แก่กู๊ฟฟี่ แต่เมื่อเขามองออกไปก็ไม่เห็นว่ามีใครอยู่และยังคงทำความสะอาดต่อไป ต่อมา รูปปั้นกลรูปที่สอง ซึ่งมีลักษณะเป็นเทพีเสรีภาพ ก็ได้มาเคาะระฆังจากอีกด้าน หลังจากการเคาะครั้งที่สาม กู๊ฟฟี่ก็ได้เตรียมความพร้อมสำหรับครั้งต่อไป ซึ่งเขาพร้อมที่จะโจมตี แต่เมื่อเขาพบว่าเธอเป็นเทพีเสรีภาพ เขาก็แสดงการขอโทษเพื่อให้เกียรติสตรี แต่ขณะที่กู๊ฟฟี่ยืนอยู่ตรงหน้าคบเพลิงของเธอกับระฆัง เขาก็ถูกคบเพลิงฟาดที่ศีรษะเข้าอย่างจัง

นั่นได้ส่งผลให้กู๊ฟฟี่เกิดอาการตาลายจนหัวหมุน ซึ่งเป็นส่วนที่เหลือของภาพยนตร์ชุดนี้ โดยมิกกี้ เมาส์ ถึงกับตกใจเมื่อเห็นกู๊ฟฟี่เกือบร่วงหล่นจากหอและพยายามที่จะช่วยเหลือ ในช่วงที่มิกกี้ เมาส์ เพิ่งจะพลาดในการช่วยกู๊ฟฟี่เอาไว้ได้นั้น ทั้งคู่ได้กระเด็นเข้าไปในหน้าต่าง จนไปถึงยังที่ที่โดนัลด์ ดั๊ก เพิ่งจะซ่อมสปริงตัวสำคัญให้เข้าที่ แรงกระแทกนั้นได้พาให้ทั้งหมดเข้าไปติดอยู่ในเพลาอันเดิม ที่ซึ่งโดนัลด์ ดั๊ก ได้เคยเข้าไปติดอยู่ในช่วงก่อนหน้านี้

การเซ็นเซอร์และการประกาศห้าม[แก้]

โดนัลด์ ดั๊ก ขณะทำการโต้คารมกับสปริงตัวสำคัญ

ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 โดนัลด์ ไวล์ดมอน และสมาคมครอบครัวอเมริกัน ได้โน้มน้าววอลมาร์ตให้ยุติการจำหน่ายของเทปวีดิทัศน์ รายชื่อการเผยแพร่วิดีโอชุด "การ์ตูนคลาสสิก: ฟันออนเดอะจ็อบ!" ซึ่งมีตอนของ "คล็อกคลีนเนอร์ส" ร่วมอยู่ เนื่องด้วยเข้าใจว่ามีการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสมโดยโดนัลด์ ดั๊ก ในระหว่างการต่อสู้ของเขากับสปริงตัวสำคัญ โดนัลด์ ดั๊ก ตอบสนองด้วยการด่าว่า "อุเหม่ แกพูดอยู่กับใคร ?" และข่มขู่สปริงตัวสำคัญโดยเรียกมันว่า "ไอ้เจ้างูในกอหญ้า" อย่างไรก็ตาม เนื่องจากลักษณะเสียงของโดนัลด์ ดั๊ก บางคนเชื่อว่าเขาพูดแทนคำว่า "ฟักยู" ใส่สปริงตัวสำคัญและเรียกมันว่า "ไอ้บ้า" ซึ่งควรจะตั้งข้อสังเกตว่า ทางดิสนีย์จะไม่อนุญาตให้เผยแพร่การ์ตูนในโรงภาพยนตร์หากมีการนำคำพูดหยาบคายมาใช้ ซึ่งใน ค.ศ. 1930 ทางโมชันพิกเจอร์สโปรดักชันโค้ด ได้มีการบังคับอย่างหนักแล้ว และป้องกันไม่ให้ทางดิสนีย์กระทำการเช่นนั้น

เนื่องจากความขัดแย้งนี้ เมื่อภาพยนตร์ชุดนี้ได้รับการเผยแพร่ในรูปแบบดีวีดีวอลต์ ดิสนีย์ เทรเซอร์ส ชุด มิกกี้ เมาส์ อินลีฟวิงคัลเลอร์ (ค.ศ. 2001) โดนัลด์ ดั๊ก ได้รับการพากย์ประโยคที่พูดกับเส้นสปริงใหม่เป็น "โอ้ว เจ้าโง่!" ซึ่งมีต้นฉบับมาจากซาวด์แทร็กออนไอซ์ การแก้ไขทำอย่างเห็นได้ชัดด้วยเสียงของพลูโตเห่าในฉากหลัง และประโยค "ไอ้เจ้างูในกอหญ้า" ก็ยังได้รับการพากย์ใหม่ เช่นเดียวกันกับการแก้ไขที่เกิดขึ้นในการเผยแพร่ดีวีดีหลายครั้งในเวลาต่อมา ซึ่งประกอบด้วยเบซิล นักสืบหนูผู้พิทักษ์ (ค.ศ. 2002) ที่ได้รวมการ์ตูนโบนัส โดยได้มีการอ้างอิงถึงภาพยนตร์ชุดนี้ถึงการต่อสู้ทั้งด้านในและบริเวณรอบ ๆ ของบิ๊กเบน, ฟันนีแฟกทอรีวิธกู๊ฟฟี่ (ค.ศ. 2006) และดีวีดีโบนัสเอพิคมิกกี้ (ค.ศ. 2010)

ส่วนดีวีดีชุดอื่นที่ได้จัดรวมไว้ในรูปแบบเดิม เช่น อลิซท่องแดนมหัศจรรย์: มาสเตอร์พีซอิดิชัน (ค.ศ. 2004) ซึ่งรวมถึงการ์ตูนที่เป็นส่วนหนึ่งของรายการโทรทัศน์ชุดพิเศษอย่าง "วันอาวเวอร์อินวันเดอร์แลนด์" และแฮฟอะลาฟ!: วอลลุม 2 (ค.ศ. 2010) ซึ่งรวมถึงการ์ดรายการอาร์เคโอแบบดั้งเดิมของภาพยนตร์ชุดนี้ และมีการออกอากาศมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมาทางดิสนีย์แชนแนลในรูปแบบต้นฉบับ

การเผยแพร่[แก้]

อ้างอิง[แก้]