คลื่นอากาศหนาวในทวีปอเมริกาเหนือ พ.ศ. 2557

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คลื่นอากาศหนาวในทวีปอเมริกาเหนือ พ.ศ. 2557 เป็นปรากฏการณ์ภาวะลมฟ้าอากาศรุนแรง (extreme weather) ซึ่งส่งผลกระทบต่อบางส่วนของประเทศแคนาดาและสหรัฐ มีที่มาจากส่วนที่อยู่ตะวันออกของเทือกเขาร็อกกี[1] และขยายลงใต้ไปถึงตอนกลางของรัฐฟลอริดา[2]และทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศเม็กซิโก คลื่นอากาศหนาวดังกล่าวเป็นแนวปะทะอากาศเย็นอาร์กติก ซึ่งแรกเริ่มนั้นสัมพันธ์กับพายุนอร์อีสเตอร์เมื่อวันที่ 2 มกราคม เคลื่อนข้ามประเทศแคนาดาและสหรัฐ ส่งผลให้เกิดหิมะตกหนัก อุณหภูมิลดลงถึงระดับที่ไม่เคยมีมาก่อนเนื่องจากแนวปะทะ และสามารถบันทึกอุณหภูมิต่ำทำลายสถิติทั่วสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้มีการปิดห้างร้าน โรงเรียนและถนน ตลอดจนการยกเลิกเที่ยวบินเป็นจำนวนมาก[3][4][5][6] รวมแล้วมีประชาชนกว่า 200 ล้านคนได้รับผลกระทบ ในพื้นที่ตั้งแต่ทางตะวันออกของรัฐแอลเบอร์ตาไปถึงทางตะวันตกของรัฐควิเบก และขยายลงใต้ไปรวมถึงชาวอเมริกันราว 187 ล้านคนในสหรัฐอเมริกาภาคพื้นทวีป[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. Gutro, Rob. "Polar Vortex Enters Northern U.S." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-08. สืบค้นเมื่อ January 8, 2014.
  2. Matt Smith; Josh Levs (January 7, 2014). "'It's too darn cold': Historic freeze brings rare danger warning". CNN. สืบค้นเมื่อ January 7, 2014.
  3. "N America weather: Polar vortex brings record temperatures". BBC News - US & Canada. BBC News Online. January 6, 2014. สืบค้นเมื่อ January 6, 2014.
  4. Calamur, Krishnadev (January 5, 2014). "'Polar Vortex' Brings Bitter Cold, Heavy Snow To U.S." The Two Way. National Public Radio. สืบค้นเมื่อ January 6, 2014.
  5. Preston, Jennifer (January 6, 2014). "'Polar Vortex' Brings Coldest Temperatures in Decades". The Lede. The New York Times. สืบค้นเมื่อ January 6, 2014.
  6. "Arctic Monday for 140 million as 'POLAR VORTEX' barrels across the US: 4,400 flights canceled, schools closed as far south as ATLANTA and the coldest temperatures recorded in 20 years". Daily Mail. January 6, 2014. สืบค้นเมื่อ January 7, 2014.
  7. Associated, The. "5 Things To Know About The Record-Breaking Freeze". NPR. สืบค้นเมื่อ January 8, 2014.