คลองมำบัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คลองมำบัง เป็นคลองสำคัญในจังหวัดสตูล ที่เกิดจากลำน้ำสายเล็ก ๆ บริเวณเทือกเขาอำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล ไหลผ่านหมู่บ้านต่าง ๆ เช่น บ้านดุสน อำเภอควนโดน ช่วงนี้เรียกว่า คลองดุสน ผ่านตำบลฉลุง อำเภอเมืองสตูล เรียกว่า คลองฉลุง จนเข้าเขตตัวเมืองจึงเรียกว่า "คลองมำบัง" จากนั้นไหลออกสู่ทะเลที่บ้านตำมะลัง บริเวณอ่าวตำมะลัง อำเภอเมืองสตูล[1] คำว่า "มำบัง" มาจากภาษามลายู แปลว่า "ปิด"

จากข้อมูลแผนพัฒนาจังหวัดสตูล 4 ปี (พ.ศ. 2561–2564) คลองมำบังมีพื้นที่รับน้ำฝน 391.30 ตารางกิโลเมตร ปริมาณน้ำฝน เฉลี่ย 2,100 มิลลิเมตรต่อปี ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ย 679.38 ล้านลูกบำศกเมตรต่อปี[2]

เมืองเก่าสตูลตั้งอยู่ริมคลองมำบัง มีถนนบุรีวานิชซึ่งเป็นถนนสายแรกของเมืองสตูล ซึ่งมีอาคารสถาปัตยกรรมจีน-โปรตุเกส[3] ที่ตำบลพิมาน อำเภอเมืองสตูล เป็นที่ตั้งของเขาโต๊ะพญาวัง เป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ริมคลองมำบัง[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. "สตูล ๑๘๐ ปี ร้อยวิถี ร้อยเวลา". p. 45.
  2. "สภาวะแหล่งน้ำและสถานการณ์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งในจังหวัดสตูล" (PDF). ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลสตูล. p. 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-12-18. สืบค้นเมื่อ 2022-12-18.
  3. "ถนนบุรีวานิช : จุดเริ่มต้นของถนนมำบังนังคะรา-บ้านจีน". อุทยานธรณีโลกสตูล.
  4. "แหล่งโบราณคดีภาคใต้ - เขาโต๊ะพญาวัง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-22. สืบค้นเมื่อ 2022-12-18.