คริสเตียน เดอะ ไลออน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คริสเตียน เป็นสิงโตที่แต่เดิมทีถูกซื้อมาจากห้างสรรพสินค้าแฮรอดในลอนดอนในพ.ศ. 2512 โดยชาวออสเตรเลียนาม จอห์น เรนเดล (John Rendall) และแอนโทนี เอซ โบร์วเก (Anthnoy 'Ace' Bourke) และถูกปล่อยคืนสู่ป่าโดยนักชีววิทยาการอนุรักษ์ จอร์จ แอดัมสัน หนึ่งปีถัดมาหลังจากคริสเตียนถูกปล่อยสู่ป่า เจ้าของเดิมของมันตัดสินใจกลับไปเยี่ยมมันในแอฟริกาเพื่อดูว่ามันยังจำพวกเขาได้หรือไม่ คริสเตียนสามารถจำเจ้าของเก่าของมันได้และสิงโตตัวอื่นในฝูงเองก็เป็นมิตรกับเจ้าของเดิมของมันด้วย[1]

การย้ายที่[แก้]

ภาพจากแหล่งข้อมูลภายนอก
Christian with London owners John Rendall and Anthony Bourke
Christian with George Adamson at Kora National Reserve.

เรนเดล และ โบร์วเก และแฟนของพวกเขา เจนนิเฟอร์ แมรี เทยเลอร์ และ ยูนิตี โจนส์ ดูแลสิงโตตัวหนึ่งขณะที่อาศัยอยู่ในลอนดอนจนกระทั่งมันมีอายุได้ 1ปี คริสเตียนตัวโตขึ้นมากและเพิ่มค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูมันมากขึ้นทำให้ทั้งคู่ไม่สามารถเลี้ยงมันได้อีกต่อไป[1] เมื่อบิล ทราเวอส์ และเวอร์จิเนีย แม็คเคนยา นักแสดงจากเรื่องบอร์นฟรี (Born Free) พบเรนเดล, โบร์วเก และคริสเตรียนที่ร้านขายเครื่องใช้ตกแต่งบ้านของทั้งสอง เรนเดล และ โบร์วเก นักแสดงทั้งสองแนะนำให้พวกเขาขอความช่วยเหลือจากจอร์จ แอดัมสัน นักพิทักษ์ในเคนยา แอดัมสันและจอย ภริยาของเขาเป็นศูนย์กลางในภาพยนตร์เรื่อง บอร์น ฟรี และแอดัมสันก็ตกลงช่วยเหลือพวกเขาด้วยการฝึกให้คริสเตียนสามารถกลับไปใช้ชีวิตในธรรมชาติได้อีกครั้งในป่าสงวนโคราในเคนยา เวอร์จิเนีย แม็คเคนยาแต่งหนังสือชื่อ The Life in My Years ออกตีพิมพ์เดือนมีนาคม พ.ศ. 2552

แอดัมสันแนะนำคริสเตียนให้สิงโตที่อายุมากกว่าชื่อ บอย ซึ่งเป็นตัวแสดงในภาพยนตร์เรื่อง บอร์นฟรี และเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางจากภาพยนตร์สารคดีเรื่อง เดอะ ไลออน อาร์ ฟรี (The Lion Are Free) และคริสทีนา ลูกสิงโตเพศเมียเพื่อสร้างฝูงสิงโตกลุ่มใหม่ ฝูงสิงโตฝูงนี้เผชิญเหตุการณ์มากมาย คริสทีนาถูกกินโดยจระเข้ในหลุมน้ำ, สิงโตตัวเมียในฝูงตัวหนึ่งถูกสิงโตฝูงอื่นฆ่าตาย บอยได้รับบาดเจ็บหลายครั้ง และสูญเสียความสามารถในการเข้าสังคมกับสิงโตอื่นและมนุษย์ สุดท้าย แอดัมสันตัดสินใจยิงบอยตายเนื่องจากมันบาดเจ็บปางตายเนื่องจากถูกมนุษย์ยิง จากเหตุการณ์เหล่านี้ทำให้คริสเตียนกลายเป็นผู้รอดชีวิตหนึ่งเดียวจากฝูงดั้งเดิม

หลังจากผ่านไป 1ปีหลังจากที่แอดัมสันติดตามดูแลฝูงสิงโตมาตลอด ฝูงสิงโตฝูงนี้ก็สามารถในบริเวณโครา โดยมีคริสเตียนเป็นหัวหน้าฝูงแทนที่บอยที่ตายไป[2]

การพบกันอีกครั้ง[แก้]

พบกับเรนเดลและโบร์วเกใน พ.ศ. 2515[แก้]

เมื่อเรนเดลและโบร์วได้รับข่าวความสำเร็จในการคืนสู่ป่าของคริสเตียนจากแอดัมสัน (ถูกรายงานโดยหนังสือพิมพ์ในพ.ศ. 2514 และโดยแอดัมสันในปีถัดมา[3]) พวกเขาจึงเดินทางไปเคนยาเพื่อเยี่ยมคริสเตียนและถ่ายทำสารคดี คริสเตียน เดอะ ไลออน แอท เวิร์ลด์ส เอ็น (Christian, The Lion at World's End) ในสารคดีนี้ แอดัมสันเตือนทั้งคู่ว่าคริสเตียนอาจจะจำพวกเขาทั้งสองไม่ได้ ในภาพยนตร์นี้ คริสเตียนย่างก้าวเข้ามาด้วยความระมัดระวัง จากนั้นเริ่มเร่งความเร็วเขุ้าหาทั้งสองอย่างนุ่มนวล ยืนขึ้นด้วยขาหลัง และสองขาหน้าเกาะบ่าทั้งสองเอาไว้ และคลอเคลียหน้าพวกเขา ในภาพยนตร์ สิงโตตัวเมีย โมนา และลิซา และลูกสิงโต ชื่อซูเปอร์คลับ เข้ามาต้อนรับทั้งคู่ด้วย[4]

การพบกันครั้งนี้ได้รับการเผยแพร่อย่างแพร่หลาย และได้รับความสนใจจากทั่วโลกมามากกว่า 30ปีหลังจากการพบกัน ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 มีรายงานว่าฉากการพบกันนี้ได้ถูกทำออกมาอีกหลายรุ่นและถูกรับชมนับล้านครั้ง[5] มีหลายแหล่งข่าวคอยสอบถามความรู้สึกของเรนเลดและโบร์วเกี่ยวกับเหตุการณ์รอบๆตัวพวกเขาและคริสเตียน[6]

พบกับเรนเดลใน พ.ศ. 2516[แก้]

เรนเดลตัดสินใจไปหาคริสเตียนอีกครั้งโดยไม่มีการบันทึกเทป (รางงานในหนังสือพิมพ์บางฉบับว่าเกิดในปี พ.ศ. 2517 )การพบกันครั้งนี้โบร์วไม่ได้มาด้วย ณ เวลานี้ คริสเตียนประสบความสำเร็จในการปกป้องฝูงตัวเองได้, มีลูกของตัวเอง แอดัมสันเตือนเรนเดลว่าการเดินทางครั้งนี้อาจจะสูญเปล่าเนื่องจากเขา (แอดัมสัน) ไม่ได้พบฝูงคริสเตียนถึงเก้าเดือน อย่างไรก็ตาม ฝูงของคริสเตียนเดินทางมาถึงที่พักของแอดัมสันหนึ่งวันก่อนการมาถึงของพวกเขา

เรนเดลบรรยายการพบกันครั้งนี้ว่า เราเรียกเขา และเขาก็ยืนขึ้น และเยื้องย่างมาหาเราช้าๆ และเมื่อเขาจำเราได้ เขาวิ่งรี่มาหาเรา กระโดดใส่เราจนเราล้ม เขาล้มจอร์จด้วย แล้วเขาก็กอดพวกเรา เหมือนที่เขาเคย ด้วยอุ้งมือของเขาบนไหล่พวกเรา}}

การพบกันครั้งที่สองยาวนานไปจนถึงรุ่งเช้า และนี่ก็เป็นครั้งสุดท้ายที่มีการพบเห็นคริสเตียน เรนเดลกล่าว จอร์จ แอดัมสันนับวันตั้งแต่การพบกันครั้งสุดท้ายในฤดูใบไม้ผลิ พ.ศ. 2516 และเขาเขียนเอาไว้ในหนังสือของเขา มาย ไพรด์ แอนด์ จอย (My Pride And Joy) ว่าหลังจาก 97 วันเขาก็เลิกนับ[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Victoria Moore (2007). "Christian, the lion who lived in my London living room". The Daily Mail. สืบค้นเมื่อ 2008-12-05.
  2. [Documentary, Christian: The Lion at the End of the World]
  3. George Adamson, My Pride and Joy, caption to hugging reunion picture, page 224
  4. Born Free Foundation (2008-07-28). "Christian the lion - Full ending". สืบค้นเมื่อ 2008-12-26.
  5. "Christian the Lion - the full story (in HQ)". 2008-06-28. สืบค้นเมื่อ 2008-12-26.
  6. Mike Celizic (2008). "Man in 'hugging' lion video reveals its secrets". MSNBC. สืบค้นเมื่อ 2008-12-05.
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ My Pride and Joy 231

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]