ข้ามไปเนื้อหา

คนป่วนสายฟ้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คนป่วนสายฟ้า
กำกับอุดม อุดมโรจน์
เขียนบทอุดม อุดมโรจน์
อำนวยการสร้างอุดม อุดมโรจน์
นักแสดงนำชาคริต แย้มนาม
เจษฎาภรณ์ ผลดี
ซอนย่า คูลลิ่ง
บิลลี่ โอแกน
วัชระ ปานเอี่ยม
ชยุต บุรกรรมโกวิท
ผู้บรรยายชาคริต แย้มนาม
ผู้จัดจำหน่ายไฟว์สตาร์โปรดักชั่น
วันฉาย26 ธันวาคม พ.ศ. 2540
ความยาว97
ประเทศไทย
ภาษาไทย
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากสยามโซน

คนป่วนสายฟ้า (อังกฤษ: Destiny Upside Down อักษรโรมันKhon Puan Sai Fa) ภาพยนตร์ไทยในปี พ.ศ. 2540 โดย อุดม อุดมโรจน์ ของค่าย ไฟว์สตาร์โปรดักชั่น นำแสดงโดย ชาคริต แย้มนาม, เจษฎาภรณ์ ผลดี, ซอนย่า คูลลิ่ง และบิลลี่ โอแกน

เนื้อเรื่อง

[แก้]

พ่อแม่ของอิท หรืออิทธิพล เป็นเพื่อนกับพ่อแม่ของแทนคุณ ทั้งคู่เกิดพร้อมกัน ที่โรงพยาบาลเดียวกัน และหมอทำคลอดคนเดียวกัน โดยห่างกันแค่ 1 นาทีเท่านั้น อิทนั้นไม่ชอบหน้าแทนคุณตั้งแต่เป็นทารกแล้ว อิทอยู่ในครรภ์แม่นาน 10 เดือน ถึงคลอด ขณะที่แทนคุณเพียง 7 เดือนเท่านั้น อิทเมื่อเข้าเรียน เป็นคนที่เรียนเก่งมาก ทำอะไรก็ได้ที่ 1 ตลอด แต่เมื่อทั้งคู่โตขึ้นและเข้ามหาวิทยาลัย กลับต้องเจอกับแทนคุณ อิทเมื่อจะมีแฟน คือ จิ๊ก แทนคุณก็มี แป๋ว เป็นแฟน วันหนึ่ง อิทได้ถูกทาบทามเข้าสู่วงการบันเทิง อิทได้แสดงเป็นพระเอกเรื่องแรก แทนคุณก็ตามมาด้วย แต่กลับได้เพียงบทประกอบ แต่ใครต่อใครรวมถึงจิ๊กก็แห่มาสนใจแต่แทนคุณ อิทขณะนั้นได้ขอให้เพิ่มบทแก่แทนคุณ จนในที่สุดแทนคุณก็เป็นพระเอกอีกคนคู่กับอิท ขณะที่จิ๊กก็กำลังจะตีจากจากอิทไปหาแทนคุณอีกด้วย อิทจึงต้องร่วมกับ พี่เปี่ยม และจก พี่ชายของจิ๊ก ตามล่าตัวแทนคุณ

นักแสดง

[แก้]

เบื้องหลัง

[แก้]

คนป่วนสายฟ้า เป็นภาพยนตร์จากการอำนวยการสร้าง บทภาพยนตร์และกำกับ โดย อุดม อุดมโรจน์ เกี่ยวกับชาย 2 คน ที่เกิดมาพร้อมกันทั้งคู่ และต้องถูกชะตากรรมลิขิตให้มาพบเจอกันตลอด แม้จะไม่ถูกกันก็ตาม [1]

โดยถือเป็นบทบาทการแสดงอย่างเป็นทางการครั้งแรกของ ชาคริต แย้มนาม ซึ่งขณะนั้นเป็นพิธีกร และทำให้ชาคริตได้เข้าชิงรางวัลทางการแสดงเป็นครั้งแรก เป็นการแสดงครั้งที่ 2 ของ เจษฎาภรณ์ ผลดี หลังจากแจ้งเกิดอย่างเต็มตัวจาก 2499 อันธพาลครองเมือง เมื่อต้นปีเดียวกัน[2] เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของ ซอนย่า คูลลิ่ง ที่ก่อนหน้านั้นเป็นนางแบบและแสดงนำในละครโทรทัศน์[3] และเป็นภาพยนตร์ที่ทำให้ บิลลี่ โอแกน ได้ได้รับรางวัลนักแสดงสมทบยอดเยี่ยมในปีนั้น[4]

ฉากบนรถไฟในตอนท้ายเรื่องนั้นใช้เวลาถ่ายทำนานกว่า 2 เดือน และถือเป็นภาพยนตร์ที่เต็มไปด้วยสัญลักษณ์ที่จะสื่อความหมายในแบบภาพยนตร์อิสระ จัดว่าทำได้ค่อนข้างล้ำสมัยพอสมควร[5]

รางวัล

[แก้]
ปี พ.ศ. รางวัล สาขา โดย ผล
2540 รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 7 นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม บิลลี่ โอแกน ได้รับรางวัล
นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ชาคริต แย้มนาม เข้าชิง
รางวัล Cinemag Spirit Awards ครั้งที่ 2 นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม บิลลี่ โอแกน ได้รับรางวัล

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]